กรุงเทพฯ--8 เม.ย.--มาสเตอร์ มายด์ คอมมิวนิเคชั่นส์
PSTC เปิดโมเดลกินรวบธุรกิจพลังงานทดแทนตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ รับภาครัฐเร่งรัดเอกชนลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนที่ค้างท่ออยู่อีก 1,01300 เมกะวัตต์ และโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินสำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตร 800 เมกะวัตต์ ลุยงานรับเหมาก่อสร้างโรงไฟฟ้า ควงพันธมิตรตั้งบริษัทฯ ร่วมทุน 2 แห่ง ขยายธุรกิจสู่การให้สินเชื่อผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนทำโรงไฟฟ้า พร้อมดูแลซ่อมบำรุง จำหน่าย และให้เช่าอุปกรณ์เครื่องจักรผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ แถมลุยลงทุนทำโรงไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกอื่นๆ เพิ่มเติม ดันเป้าปีนี้โตกว่า XX100%
นายพระนาย กังวาลรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพาเวอร์ โซลูชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ PSTC (พีเอสทีซี) ผู้ออกแบบ จำหน่าย และติดตั้งระบบจ่ายไฟฟ้าและตรวจวัดจัดการสภาพแวดล้อม รวมถึงผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนที่ครอบคลุมทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวลและพลังงานขยะ เปิดเผยว่า โมเดลการดำเนินธุรกิจของ PSTC ในปีนี้จะเร่งขยายธุรกิจที่เกี่ยวกับพลังงานทดแทนให้มากยิ่งขึ้นหลังภาครัฐมีโนบายเร่งรัดให้กลุ่มที่ยื่นขอใบอนุญาต PPA จำนวน กว่า 1,000 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นใบอนุญาตโซล่าร์เซลล์ค้างท่อตั้งแต่ปี 2552-ปัจจุบัน ตลอดจน โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินสำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตร 800 เมกะวัตต์ ซึ่งจะต้องเร่งดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้แล้วเสร็จภายในกลางปี 2559 อย่างไรก็ตาม พบว่า ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตบางรายไม่มีศักยภาพและขาดความพร้อมทางด้านเงินทุนตลอดจนองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านการก่อสร้างและดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
ดังนั้น บริษัทฯ จึงมองเห็นโอกาสการรุกขยายธุรกิจพลังงานทดแทนให้ครบวงจรมากยิ่งขึ้น โดย บริษัท พีเอสที เอนเนอร์ยี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทฯย่อยของ PSTC ได้ร่วมทุนกับบริษัท ทีเอสเอฟ เอนเนอร์จี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บมจ.ทรีซิกตี้ไฟว์ จัดตั้งบริษัทโซล่าร์ ลิสซิ่ง จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท โดยแต่ละฝ่ายจะถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 40 และบริษัท เจพี อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด เป็นถือหุ้นร้อยละ 20 เพื่อประกอบธุรกิจในการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตก่อสร้างสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จากภาครัฐ (PPA) แต่ขาดความพร้อมทางด้านเงินทุน โดยบริษัทฯ จะเป็นผู้ดำเนินการลงทุนในโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบโซล่าฟาร์มให้ก่อนแล้วให้ลูกค้ามาขอสินเชื่อผ่อนชำระในระยะยาว 10 ปีจากโซล่าร์ ลิสซิ่ง เพื่อผ่อนจ่าย ซึ่งกำหนดกำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าการขอสินเชื่อธนาคาร โดยทั้งนี้ โซล่าร์ ลิสซิ่ง ได้รับการสนับสนุนวงเงินเครดิตการค้าระยะยาวจากทางบริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศจีน และได้ลงนาม MOU ไปแล้วเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ทำให้บริษัทฯ สามารถให้บริการได้อย่างครบวงจรมากขึ้น
ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ดังกล่าว ยังเป็นดำเนินธุรกิจนำเข้า ส่งออก จำหน่าย ให้เช่าหรือเช่าซื้ออุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งด้วยรูปแบบธุรกิจดังกล่าว ทำให้บริษัทฯ PSTC ก้าวสู่การเป็นผู้ดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนที่ครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ที่ครอบคลุมทั้งการรับเหมาก่อสร้างโรงไฟฟ้า การนำเข้าอุปกรณ์เครื่องจักร การให้เช่าซื้ออุปกรณ์ ตลอดจนการให้สินเชื่อแก่ลูกค้าหลังเพื่อดำเนินก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จ ซึ่งช่วยให้บริษัทฯ มีศักยภาพการดำเนินธุรกิจที่แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ PSTC ยังได้ร่วมทุนจัดตั้ง บริษัท ทริปเปิล เปิ้ล เอส อีโค่ จำกัด โดยถือหุ้นสัดส่วนร้อยละ 15 และมีกลุ่มนายศิริพงษ์ รุ่งโรจน์กิติยศ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 70 บริษัท สหกลพาวเวอร์ จำกัด ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 15 จากทุนจดทะเบียน 40 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าจากพลังงานลมหรือพลังงานทางเลือกอื่นๆ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมยื่นคำขอจำหน่ายไฟฟ้าและเชื่อมโยงระบบจำหน่ายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
“การรุกขยายธุรกิจครั้งนี้ คาดว่าจะทำให้ PSTC มีรายได้เติบโตขึ้นกว่า XX100% เนื่องจากการเข้าร่วมทุนจะทำให้บริษัทฯ มีรายได้จากค่าจ้างก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน ค่าดำเนินการและบำรุงรักษาและเงินปันผลจากผลกำไรของบริษัทฯร่วมทุน รวมถึงโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนที่ลงทุนและดำเนินการโดย PSTC เอง ซึ่งเตรียมจะจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ อีก XX1 เมกะวัตต์ในปีนี้ และพลังงานชีวมวลอีก 2 เมกะวัตต์ในปี 2559 รวมถึงรับรู้รายได้เต็มปีจากโรงไฟฟ้าแห่งเดิมที่ COD ไปแล้ว XX5 เมกะวัตต์ จะเป็นแรงหนุนในการผลักดันผลการดำเนินงานให้เติบโตตามเป้าหมายที่วางไว้” นายพระนาย กล่าว