จีเอ็มคว้ารางวัลนายกรัฐมนตรี “อุตสาหกรรมดีเด่น”ประเภทการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2548

ข่าวทั่วไป Tuesday May 24, 2005 13:18 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 พ.ค.--เวเบอร์ แชนด์วิค
บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศความสำเร็จด้านการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอีกครั้ง เมื่อเร็วๆนี้ ด้วยการคว้ารางวัล นายกรัฐมนตรี อุตสาหกรรมดีเด่น ประเภทการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2548 จากการที่จีเอ็มเป็นบริษัทผลิตรถยนต์คุณภาพมาตรฐานระดับโลก เพื่อผู้บริโภคในประเทศไทยและส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยยึดมั่นหลักการให้ความสำคัญด้านการรักษาสภาพแวดล้อมทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับโลก ซึ่งสามารถยืนยันเจตนารมย์ขององค์กร ได้จากการประกาศหลักการด้านสิ่งแวดล้อม และแนวทางการปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่บริษัทฯเข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทย
นับเป็นปีที่ 3 แล้ว ที่บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับรางวัล นายกรัฐมนตรี อุตสาหกรรมดีเด่น โดยในปี 2547 จีเอ็มได้รับรางวัลเดียวกันนี้ใน ประเภทการบริหารงานคุณภาพ และประเภทการบริหารความปลอดภัย ในปี 2544 ซึ่งรางวัล นายกรัฐมนตรี อุตสาหกรรมดีเด่นนี้ จะมอบให้กับบริษัทต่างๆที่มีความดีเด่นในการจัดการด้านๆต่างๆ 6 ประเภทด้วยกัน เป็นประจำทุกปี เพื่อให้กำลังใจและประกาศเกียรติคุณแก่บริษัทในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในด้านการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ และยังช่วยส่งเสริมมาตรฐานของคุณภาพสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยอีกด้วย
บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส ประเทศไทย ได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ จากการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 27 ท่าน ทั้งจากภาครัฐและเอกชน อาทิ กระทรวงอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งมีเกณฑ์การพิจารณาบริษัทที่เหมาะสมจากคณะกรรมการที่มีความรู้และเชี่ยวชาญในแต่ละประเภท เช่น เกณฑ์การพิจารณารางวัลในประเภทการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่จีเอ็มได้รับในปีนี้ ประกอบไปด้วยนโยบายและเป้าหมายด้านการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในองค์กร การวางแผนและการจัดการผลิตที่สะอาด การดำเนินการจัดการกากของเสีย การใช้วัสดุหรือวัตถุดิบในการผลิตที่สะอาดปลอดภัย การมีส่วนร่วมในการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมของบุคลากรทุกระดับในองค์กร รวมทั้งการใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชนและสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนโดยรอบ
มร. วิลเลี่ยม บอทวิค ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัล นายกรัฐมนตรี อุตสาหกรรมดีเด่น อีกครั้งในปีนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่จีเอ็มให้ความใส่ใจและตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการรักษาสภาพแวดล้อมในประเทศไทยเสมอมา รวมทั้งความร่วมมืออย่างดีของพนักงานจีเอ็มทุกคน ทำให้เราได้สร้างมาตรฐานอันโดดเด่น ด้านการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ท่ามกลางบริษัทผลิตรถยนต์รายอื่น ๆ ในประเทศไทย”
นับตั้งแต่ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยเมื่อกลางปี 2539 ณ นิคมอุตสาหกรรม อิสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง จีเอ็มได้ยึดมั่นในหลักการ และริเริ่มนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม อันประกอบด้วยนโยบายหลัก มากกว่า10 หัวข้อ ด้วยกัน ตั้งแต่การเลือกใช้เทคโนโลยีการวางแผนและการจัดการผลิตที่สะอาด ขั้นตอนการกำจัดกากของเสีย และการให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมเป็นประจำทุกเดือนในวารสารสีเขียว (Green Newsletter)และการจัดการอบรมให้แก่พนักงานเพื่อสร้างการเตรียมพร้อมรับเหตุสุดวิสัยและแนวทางในการจัดการกับเหตุฉุกเฉินต่างๆ (ดูรายละเอียดในเอกสารที่แนบมาด้านท้าย)
จีเอ็มยึดมั่นในนโยบายด้านการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด รวมทั้งวางแผนตรวจวัดและเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกบริษัทฯ เป็นประจำเพื่อให้แน่ใจ ว่าการผลิตรถยนต์คุณภาพของเราจะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้เรายังมีเป้าหมาย ที่จะเพิ่มการป้องกันมลพิษ ที่อาจจะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและพัฒนาการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ให้มีมาตรฐานสูงยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต” มร. วิลเลี่ยม บอทวิค ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในที่สุด
ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา จีเอ็มได้ริเริ่มนโยบายการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานแล้ว ยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของจีเอ็ม ประเทศไทย อาทิเช่น การลดปริมาณของเสียลงร้อยละ 15 จากปี 2543 การเพิ่มสัดส่วนของเสียที่นำกลับไปใช้ได้ใหม่ ร้อยละ 15 และการลดอัตราการใช้พลังงาน (ต่อหน่วยผลิต) ร้อยละ 10 ต่อปี
นอกจากนี้ จีเอ็มยังมีเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมในระดับภูมิภาค อันได้แก่การเพิ่มความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชนด้วยการควบคุมปริมาณของมลพิษที่ปล่อยออกมาให้ต่ำกว่ามาตรฐานกำหนด ทั้งนี้ จีเอ็ม ยังได้เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีพลังงานทางเลือกที่สร้างมลพิษและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง
เจนเนอรัล มอเตอร์สคอร์เปอเรชั่น ก่อตั้งในปี 2451 และกลายมาเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในโลก รวมทั้งเป็นผู้นำด้านยอดจำหน่ายทั่วโลกมาตั้งแต่ปี 2474 ปัจจุบัน จีเอ็มจ้างงานบุคลากรคุณภาพทั่วโลกมากกว่า 340,000 คน มีศูนย์การผลิตตั้งอยู่ใน 34 ประเทศ และส่งออกรถยนต์เพื่อจำหน่ายใน 200 ประเทศ ในปี 2547 จีเอ็มมียอดจำหน่ายรถยนต์และรถกระบะทั่วโลกสูงถึง 9 ล้านคัน ซึ่งสูงขึ้นร้อยละ 4 และถือเป็นสถิติการจำหน่ายที่ดีที่สุดอันดับสอง นับตั้งแต่บริษัทฯก่อตั้งมาเกือบ 100 ปี
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เจนเนอรัล มอเตอร์สคอร์ปเปอเรชั่น ได้ที่ เว็บไซต์ www.gm.com
กิจกรรมอนุรักษ์ และรักษาสภาพแวดล้อมของ
บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
และศูนย์การผลิตรถยนต์เจนเนอรัล มอเตอร์ส ประเทศไทย จังหวัดระยอง
1. การออกแบบอุปกรณ์เครื่องจักรและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
การทดแทนวัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- การใช้ก๊าซธรรมชาติ สารปลอดตะกั่วและปิโตรเลียมก๊าซ ในขั้นตอนการผลิตตามความเหมาะสม
งดสั่งซื้อสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
- สาร Polychlorinated biphenyls (PCBs) สารก่อมะเร็ง สารกัมมันตภาพรังสี สาร Chlorofluorocarbon (CFC-R11และ R12) และอื่นๆ
2. การนำระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม หรือ GM-EMS (Environment Management System) มาใช้ในองค์กร
ริเริ่มระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม หรือ GM-EMS เป็นครั้งแรกในปี 2542
GM-EMS เน้นความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมและเคมี
ได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2544 หรือ เพียง 6 เดือน หลังเดินสายการผลิตอย่างเป็นทางการ
นำเป้าหมายในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมตามหลักการของจีเอ็มทั่วโลกมาใช้
กำหนดเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม 5 ปี ตั้งแต่ปี 2544-2548 ได้แก่
- ลดปริมาณของเสียลงร้อยละ 15
- เพิ่มสัดส่วนของเสียที่นำกลับมาใช้ใหม่ร้อยละ 15
- ลดอัตราการใช้พลังงาน (ต่อหน่วยการผลิต) ร้อยละ 10
การประเมินผลงานการจัดการสิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ (Environmental Performance Evaluation — EPE)
กำหนดเป้าหมายในระดับท้องถิ่น ได้แก่
- การดำเนินงานของบริษัทฯจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และไม่ก่อปัญหาต่อชุมชนและผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง
- ไม่ปล่อยของเสียลงในคลองหรือแหล่งน้ำต่างๆ
- ควบคุมคุณภาพของมลพิษที่ปล่อยออกมาให้สูงกว่ามาตรฐานกำหนด ได้แก่ การปล่อยอากาศเสีย สูงขึ้นร้อยละ 50 และการปล่อยน้ำเสียสูงขึ้นร้อยละ 90 ของกฎหมาย
- การลดการใช้กระดาษในองค์กรร้อยละ 20
ตรวจประเมินผลการปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อมภายในเป็นประจำปีละสองครั้ง
หน่วยงานตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อมจากสำนักงานใหญ่และหน่วยงานบริการด้านการตรวจติดตามของ GM ที่เข้ามาตรวจสอบปีละครั้ง
การจัดการความเสี่ยงทางธุรกิจ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลด้านสิ่งแวดล้อมเป็นประจำปีละครั้ง ทุกปี
ตรวจสอบสิ่งแวดล้อมโดยวิศวกรสิ่งแวดล้อมจากจีเอ็มเป็นประจำทุกสัปดาห์และทุกเดือน
3. การให้ความร่วมมือตามกฎหมายและข้อบังคับต่างๆที่รัฐบาลกำหนด
การใช้เครื่องมือควบคุมการปล่อยมลพิษ
การจัดการกำจัดและบำบัดกากของเสีย
การจัดการสารเคมี
- จัดกิจกรรมสื่อสารเกี่ยวกับอันตรายจากการทำงานกับสารเคมี ควบคู่กับการตรวจติดตามการดำเนินงาน
- แต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมการดำเนินงานด้านสารเคมี
- การติดฉลาก NFPA (National Fire Protection Association) บนเคมีภัณฑ์ เพื่อรับรองมาตรฐานสารเคมีที่ใช้ในองค์กร
- การจัดเก็บสารเคมีไวไฟอย่างถูกต้องและปลอดภัย
การรายงานผลการประเมินด้านสิ่งแวดล้อมต่อรัฐบาลเป็นระยะๆ
- รายงานข้อมูลเกี่ยวกับกากของเสียเป็นประจำทุกปี
- รายงานการควบคุมการปล่อยน้ำเสียเป็นประจำทุกไตรมาส
- รายงานการตรวจสอบการปล่อยมลพิษทางอากาศเป็นประจำปีละสองครั้ง
- รายงานข้อมูลสารพิษและสารที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายเป็นประจำทุกปี
4. การลดและการจัดการกากของเสีย
โครงการการจัดการกากของเสีย
- เพิ่มสัดส่วนของเสียที่นำกลับไปใช้ใหม่ได้
- ผู้ให้บริการกำจัดของเสียให้กับทางบริษัทฯทุกรายจะต้องจดทะเบียนกับกระทรวงอุตสาหกรรม
- นำระบบการควบคุมการขนส่งกากของเสียทุกประเภทมาประยุกต์ใช้ในบริษัทฯ
- ตรวจสอบผู้ให้บริการกำจัดของเสียทุกๆ 3 เดือนโดยไม่บอกล่วงหน้า
- ประเมินผลงานของผู้ให้บริการกำจัดของเสียทุกๆ 6 เดือน
โครงการลดกากของเสีย
- นำหลักการ 6R มาใช้ในการลดกากของเสีย ได้แก่
Reject
- หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่กำจัดยาก หรือบรรจุภัณฑ์ที่มีหีบห่อหลายชั้น
Reduce
- ลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น
Repair
— ซ่อมแซมของที่ชำรุดเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ให้ได้ประโยชน์สูงสุด
Reuse
— นำมาใช้ใหม่ หรือใช้ซ้ำ
Recovery
— การใช้ประโยชน์นำกลับคืน คือการนำของเสียมาใช้ประโยชน์ซ้ำ
อีกโดยการประยุกต์ใช้ในรูปแบบใหม่
Recycle
— รีไซเคิล คือการหมุนเวียนของเสียที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้
- ตัวอย่างของการลดกากของเสียที่ประสบผลสำเร็จนั้น ได้แก่ การนำตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียมาทำเป็นปุ๋ย
- การนำตัวทำละลาย (Solvents) ที่ใช้แล้วมารีไซเคิลแล้วใช้ใหม่ในอุตสาหกรรมอื่น และนำตลับหมึก Toner cartridges ที่หมดแล้วไปเติมหมึกแล้วส่งกลับมาใช้ใหม่โดย OEM supplier
5. การวางแผนตรวจวัดและเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและนอกบริษัท
การตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมดังกล่าวรวมไปถึงการปล่อยมลพิษทุกประเภทของศูนย์การผลิตเจนเนอรัล มอเตอร์ส ประเทศไทย จังหวัดระยอง
- มลพิษทางอากาศ จากโรงพ่นสี boiler และvehicle testing ฯลฯ
- คุณภาพอากาศ ทั้งภายในและภายนอกศูนย์การผลิตฯในระยะ 10 กิโลเมตร
- การจัดการน้ำเสีย ก่อนจะปล่อยในบ่อน้ำหลัก และคลองสาธารณะทั่วไป
- มลพิษทางเสียง ทั้งภายในและภายนอกศูนย์การผลิตฯ
การทดสอบตามระยะเวลาและอ้างอิงตามมาตรฐาน ISO 17025
การประเมินวิเคราะห์ผลเปรียบเทียบกับผลงานในอดีตและศูนย์การผลิตเจนเนอรัล มอเตอร์ส อื่นๆ ทั่วโลก
รายงาน ผลสำรวจและผลประเมินที่ได้ ต่อ สำนักงานใหญ่ด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัท GM
6. การวางแผนและการจัดการผลิตที่สะอาด
ตัวอย่างความสำเร็จของการวางแผนและการจัดการผลิตที่สะอาด
- โครงการปรับเปลี่ยนมาใช้สี ELPO (Electro Deposition) ที่ปลอดสารตระกั่วในโรงพ่นสี
- นำโลหะเบามาใช้ในโรงพ่นสี เพื่อลดปริมาณการปล่อยโลหะหนักออกสู่สิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานมากขึ้น
- โครงการปรับเปลี่ยนการใช้สารตกตะกอนในระบบบำบัดน้ำเสียจากเฟอร์ริค คลอไรด์ (Ferric Chloride) มาเป็น โพลีอัลลูมิเนียม คลอไรด์ (PAC — Polyaluminium Chloride) ที่ให้กากตะกอนที่ได้มีปริมาณที่น้อยกว่า และมีความเป็นพิษน้อยกว่า
7. การสื่อสารข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อม
จัดทำวารสารสีเขียว หรือ Green Newsletter
จัดทำบอร์ดประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อม
จัดตั้งกล่องรับความคิดเห็น
จัดนิทรรศการวันสิ่งแวดล้อมโลก และเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
จัดการอบรมด้านสิ่งแวดล้อมให้กับพนักงาน
- ให้ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐาน ISO 14001 รวมถึงเหตุการณ์สำคัญต่างๆ
- ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการอื่นๆด้านสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น หลัก 6R และการตรวจสอบภายในด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
จัดผู้รับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมคอยตรวจเยี่ยมเป็นประจำในทุกๆไตรมาส
เข้าร่วมชมรม ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมที่จัดตั้งขึ้นภายในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทริ์นซีบอร์ด (ระยอง)
8. การเตรียมแผนฉุกเฉินด้านสิ่งแวดล้อม
ก่อนเกิดเหตุฉุกเฉิน
- จัดชุดอุปกรณ์ควบคุมการหกรั่วไหลของสารเคมี
- จัดกิจกรรมการป้องกันเหตุฉุกเฉิน
- เตรียมถุงทรายและประตูน้ำฉุกเฉิน เพื่อจำกัดการรั่วไหลของสารเคมีที่ลงสู่รางระบายน้ำ
- ควบคุมการปฏิบัติงานของทีมงานควบคุมการหกรั่วไหลและจัดเตรียมวิธีการปฏิบัติงานและคู่มือป้องกันการหกรั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อม
- เตรียมการปฏิบัติงานกรณีฉุกเฉิน รวมไปถึงการสมมติเหตุการณ์และการฝึกซ้อมจริง
ขณะเกิดเหตุฉุกเฉิน
- กดปุ่มหยุดการทำงานฉุกเฉิน ที่โรงบำบัดน้ำเสีย และ โรงพ่นสี
- จัดทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำและสั่งการในขณะเกิดเหตุฉุกเฉิน
หลังเกิดเหตุฉุกเฉิน
- จัดงบประมาณเพื่อจัดการกับกากของเสียจากเหตุฉุกเฉิน
- วางแผนฟื้นฟูชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุฉุกเฉิน
9. การปฏิสัมพันธ์กับชุมชน
เยี่ยมชุมชนปีละสองครั้งอย่างสม่ำเสมอ
สนับสนุนกิจกรรมค่ายเยาวชนเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
10. การพัฒนาและริเริ่มโครงการด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆอย่างต่อเนื่อง
โครงการฉลากเขียว นำโดยจีเอ็มและกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (กุมภาพันธ์ — ธันวาคม 2547)
พัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียใหม่จากโรงอาหาร (กรกฎาคม 2547)
ควบคุมอัตราการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (2547)
โครงการลดก๊าซที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกและกลไกพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมที่สะอาด (มีนาคม-ธันวาคม 2547) โดยความร่วมมือของ จีเอ็ม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โครงการเปลี่ยนประเภทสีที่ใช้ในการผลิตรถยนต์ในปัจจุบัน จากการใช้สารเคมีเป็นตัวทำละลายสี มาเป็นการใช้สีแบบการใช้น้ำเป็นตัวทำละลายสี ซึ่งสร้างมลพิษน้อยกว่า
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ:
คุณชาติชาย สุวรรณเสวก — ผู้อำนวยการ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์
บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และ
บริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด
โทร. 0-2791-3400 แฟกซ์. 0-2937-0171
อีเมล์: chartchai.suwanasevok@gm.com
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ