กรุงเทพฯ--16 เม.ย.--นิด้าโพล
เนื่องในวันมาฆบูชา ของปีนี้ ตรงกับวันพุธที่ 4 มีนาคม 2558 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “การปฏิรูปพุทธศาสนา” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 26-27 กุมภาพันธ์ 2558 กรณีศึกษาจากประชาชนชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1.249 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการปฏิรูปพุทธศาสนา อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4
จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการปฏิรูปพุทธศาสนาทั้งระบบ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.60 ระบุว่า เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน รองลงมา ร้อยละ 24.34 ระบุว่า เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการ แต่ ไม่เร่งด่วน ร้อยละ 19.30 ระบุว่า ไม่มีความจำเป็นในการปฏิรูปพุทธศาสนาเลย ร้อยละ 3.76 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานของมหาเถรสมาคมเพื่อรักษาหลักพระธรรมวินัยและปกครองคณะสงฆ์ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 10.49 ระบุว่า มหาเถรสมาคมดำเนินงานเพื่อรักษาหลักพระธรรมวินัยและปกครองคณะสงฆ์มีประสิทธิภาพสูง ร้อยละ 25.30 ระบุว่า ดำเนินงานค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ขณะที่ส่วนใหญ่ ร้อยละ 33.87 ระบุว่า ดำเนินงานไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 19.13 ระบุว่า ไม่มีประสิทธิภาพเลย และร้อยละ 11.21 ไม่แน่ใจ / ไม่ระบุ
ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการธุดงค์ในเมือง หรือ การเดินธุดงค์ธรรมชัยของวัดพระธรรมกาย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.50 ระบุว่า เป็นกิจกรรมที่ไม่เหมาะสม เพราะ เป็นการจัดงานที่เอิกเกริกเกินไป ไม่ควรเดินธุดงค์ในเมือง ควรเดินในป่าหรือที่ที่ไม่ใช่ในเมือง อีกทั้งยังมีเรื่องของการบริจาคเงินเข้ามาจนกลายเป็นพุทธพาณิชย์ และไม่แน่ใจว่าต้องการอะไรจากสังคม บางครั้งการแสดงออกหรือการกระทำบางอย่างค่อนข้างบิดเบือนไปจากคำสอนของพระพุทธเจ้า ขณะที่ ร้อยละ 13.77 ระบุว่า เป็นกิจกรรมที่เหมาะสม เพราะ มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย และถือเป็นสิทธิที่จะกระทำได้ ไม่น่าจะขัดหลักของศาสนา ร้อยละ 2.88 ระบุว่า เฉย ๆ เป็นเรื่องของวัด/พระสงฆ์ แล้วแต่จะทำกิจกรรมใด ๆ และร้อยละ 5.84 ไม่แน่ใจ / ไม่ระบุ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 19.94 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 19.70 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 20.42 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 19.78 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 20.18 ภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 56.77 เป็นเพศชาย ร้อยละ 43.15 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก
ตัวอย่างร้อยละ 6.37 มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 28.55 มีอายุ 25 – 39 ปี ร้อยละ 49.52 มีอายุ 40 – 59 ปี และร้อยละ 15.56 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ตัวอย่าง 100.00 นับถือศาสนาพุทธ ตัวอย่างร้อยละ 24.80 สถานภาพโสด ตัวอย่างร้อยละ 72.13 สมรสแล้ว และตัวอย่างร้อยละ 3.07 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่างร้อยละ 24.88 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ตัวอย่างร้อยละ 30.37 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.08 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 29.56 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่าและตัวอย่างร้อยละ 7.11 จบการศึกษา สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 15.20 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างร้อยละ 13.18 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ตัวอย่างร้อยละ 24.58 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ตัวอย่าง ร้อยละ 14.23 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ตัวอย่างร้อยละ 14.87 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ตัวอย่างร้อยละ 14.71 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และ ตัวอย่างร้อยละ 3.23 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 15.29 ไม่มีรายได้ ตัวอย่างร้อยละ 18.73 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 ตัวอย่างร้อยละ 30.74 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อเดือน 10,001 – 20,000 ตัวอย่างร้อยละ 12.89 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ตัวอย่างร้อยละ 5.92 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อเดือน 30,001 – 40,000 ร้อยละ 10.33 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 6.08 ไม่ระบุรายได้