กรุงเทพฯ--20 เม.ย.--ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์
ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า เนื่องจากในประเทศไทย มีหลายสถาบันวิจัย ที่ทำการสร้างและแยกสายพันธุ์เซลล์ต้นกำเนิด และแม้แต่ภายในสภาบันวิจัยเดียวกัน อาจจะมีการสร้างเซลล์ต้นกำเนิดมากกว่า 1 สายพันธุ์ การจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับสายพันธุ์เซลล์ต้นกำเนิด การทดสอบคุณสมบัติของเซลล์ต้นกำเนิด จึงมีความจำเป็นอย่างมากทั้งต่อนักวิทยาศาสตร์ การจัดตั้งหน่วยงาน หรือ ระบบจัดเก็บข้อมูลส่วนกลาง จึงเป็นเครื่องมือ ในการสร้างความเข้มแข็ง และ เพิ่มขีดจำกัดในการแข่งขันงานวิจัยทางด้านเซลล์ต้นกำเนิดในระดับชาติ และนานาชาติ
ดร.นเรศ กล่าวว่า TCELS เล็งเห็นความสำคัญ และสนับสนุนการดำเนินโครงการจัดทำหลักเกณฑ์ และแนวทางการขึ้นทะเบียนเซลล์ต้นกำเนิดในประเทศไทย ให้กับ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิด การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเซลล์ต้นกำเนิด ในทุกๆ มิติ ตลอดจนวางแผนให้มีหน่วยงานกลาง หรือ ศูนย์กลางที่ใช้เก็บรวบรวมระบบฐานข้อมูล ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเซลล์ต้นกำเนิด จะเป็นประโยชน์ ไม่เฉพาะต่อแวดวงของนักวิจัยที่ใช้เซลล์ต้นกำเนิดในการศึกษาวิจัย ยังมีประโยชน์ต่อ หน่วยงานหรือ องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการให้ทุนวิจัย รวมถึงเป็นประโยชน์ต่อภาคสังคม ที่ต้องการทราบความก้าวหน้าของวิทยากรวิจัยเกี่ยวกับเซลล์ต้นกำเนิด
ดังนั้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ ระหว่างนักวิจัยเซลล์ต้นกำเนิดในประเทศไทย ตลอดจนนำเสนอ หลักเกณฑ์และแนวทางการขึ้นทะเบียนเซลล์ต้นกำเนิดในประเทศไทย เพื่อนำเสนอนำไปสู่การจัดทำระบบฐานข้อมูลการขึ้นทะเบียนเซลล์ต้นกำเนิดในประเทศต่อไป ดังนั้น TCELS และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงร่วมมือกับ สวทน. จัดสัมมนาวิชาการ “Stem Cell Registry: From Research to Applications” วันที่ 15 พฤษภาคม 2558 เวลา 13.00 – 15.00 น. ณ ชั้น 14อาคารจตุรัสจามจุรี โดยผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนา สามารถลงทะเบียนโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-6445499 ต่อ 142ผอ.TCELS กล่าว