SIPA ผนึกกำลังสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนท่องเที่ยวไทยเพื่อการพัฒนา สร้างมิติใหม่ของ SMEs ท่องเที่ยว

ข่าวทั่วไป Thursday April 23, 2015 15:18 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--23 เม.ย.--สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA โรงแรมดรีม สุขุมวิท 15 สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนท่องเที่ยวไทยเพื่อการพัฒนา จำกัด หรือ TTCUได้รับเกียรติจาก นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปี 2551 และประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ TTCU กล่าวว่า ตอนที่รับผิดชอบภาคท่องเที่ยว ทราบปัญหาต่าง ๆ มากมาย ในขณะเดียวกันหาโอกาสให้ SMEs ท่องเที่ยวไทยมาตลอด เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ได้หารือกลุ่มย่อยกับผู้ประกอบการท่องเที่ยว โดยเฉพาะ SME ต่อไปจะไม่สามารถแข่งขันกับต่างชาติ เมื่อเปิด AEC จึงหาทางเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างการ เติบโต SMEs ภาคท่องเที่ยว ริเริ่ม Digital Economy for SME Tourism หาเครื่องมือสู่ความสำเร็จ และขยายเครือข่าย ให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SMEs ภาคท่องเที่ยว โดยเร่งสร้างผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ด้านท่องเที่ยว เพื่อเป็นเครื่องสนับสนุน ช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการ SMEs ท่องเที่ยว ประสบความสำเร็จมากขึ้น เป็นที่มาของโครงการ Digital Economy for Tourism หรือ Thailand Tourism Platform ให้กับ SMEs ภาคท่องเที่ยว ในวันนี้เป็นรูปธรรมได้ และเป็นบันไดขั้นแรกที่ ให้ SMEs ภาคท่องเที่ยวไทยสู่แข่งขันได้กับต่างชาติต่อไป นายอุดม ศรีมหาโชตะ ประธาน TTCU กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องจากสถานการณ์ในปี 2558 ที่ยังมีความไม่แน่นอน จากความผันผวนทางเศรษฐกิจ การเมือง อุบัติภัยต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประกอบกับมีการ เปลี่ยนแปลงต่างๆ ของสังคมโลก รวมถึงการรวมกลุ่มประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ที่เราจะต้อง เร่งขับเคลื่อน และเตรียมความ พร้อมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ให้มีขีดความสามารถในการสร้างการเติบโต โดยเฉพาะ SME ทางการท่องเที่ยว TTCU จึง กำหนดจัดทำโครงการสำคัญ 2 โครงการ ในปี 2558 ได้แก่ ๑. โครงการ Digital Economy for Tourism หรือ Thailand Tourism Platform เพื่อช่วยเหลือ SMEsท่องเที่ยว โดยร่วมกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA) เพื่อพัฒนาซอฟแวร์ให้ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวสามารถนำไปใช้พัฒนาการดำเนินงาน และสร้างเครือข่ายเป็นช่องทางการตลาดได้กว้างขวางประสบความสำเร็จมากขึ้น ๒. โครงการธนาคารภาคท่องเที่ยวแห่งแรกในประเทศไทย หรือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับสมาชิก โดยร่วมกับ ธนาคารออมสิน พลเอก โสภณ เวคะวากยานนท์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ กล่าวว่า พันธกิจของซิป้าคือการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ ให้สอดคล้องกับแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคเศรษฐกิจหลักของประเทศ หนึ่งในนั้นคือภาคท่องเที่ยวที่สร้างรายได้หลักให้ประเทศในยามนี้ อีกทั้งเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ ให้มีทักษะที่สูงและตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการท่องเที่ยว ซอฟต์แวร์ในภาคอุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ในประเทศใช้ซอฟต์แวร์ในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจด้วยการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือทั้งด้านการตลาดและการพัฒนาซอฟต์แวร์บริการซอฟต์แวร์ระหว่างผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยกับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ต่างชาติ ซิป้าจึงให้การสนับสนุนโครงการของ TTCU อันจะสนับสนุนให้ธุรกิจขนาดกลาง และขนาดเล็ก (SMEs) ท่องเที่ยว พัฒนาสู่ระดับสากลและนำความสำเร็จพร้อมเงินตราเข้าประเทศต่อไป คุณธนัช กรองกันภัย รองประธานและประธานฝ่ายสินเชื่อ TTCU กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย เติบโตมากจาก 10 ปี ที่ผ่านมา จำนวนนักท่องเที่ยวอยู่ที่ประมาณ 10 ล้าน มาปัจจุบันประมาณ 25 ล้านคน เมื่อปีที่ผ่านมาในขณะที่เติบโต ท่องเที่ยวเผชิญวิกฤตต่างๆ มากมายทำให้โดยกระทบมาตลอดเช่นกัน SMEs ภาคท่องเที่ยวโดนกระทบก่อนอันดับแรกเสมอ และขาดการดูแลต้องพึ่งตนเองโดยเฉพาะด้านการเงินของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ภาคท่องเที่ยว หันไปหาที่พึ่งธนาคารก็พบปัญหานานับประการ อาทิ ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน, ระบบบริหารจัดการยังไม่เป็นระบบ, การจัดทำบัญชีต่าง ๆ, ปัญหา Credit Bureau เป็นต้น ทั้งๆ ที่เป็นผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาแต่ยังมี ศักยภาพที่จะเติบโตต่อไปได้ TTCU จึงรวมกลุ่มกันเพื่อการนี้ เป็นหนึ่งในวัตถุประสงค์ก่อตั้งมาเพื่อการออมเงิน ในกลุ่ม SMEs ภาคท่องเที่ยว และผู้ที่เกี่ยวข้องท่องเที่ยว เพื่อช่วยเหลือดูแลกันเองตามกำลัง ในขณะเดียวกัน TTCU เป็นที่พึ่งด้านการเงิน จึงจัดทำโครงการธนาคารภาคท่องเที่ยวแห่งแรกในประเทศไทย เพื่อผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ภาคท่องเที่ยวมีที่พึ่งอย่างแท้จริง ทั้งโรงแรมขนาดเล็ก บริษัทนำเที่ยวรวมถึงพนักงานภาคท่องเที่ยวต่างๆ มาขอรับความช่วยเหลือด้านการเงินกับ TTCU ได้ทันที โดย TTCU ได้สินเชื่อ ดอกเบี้ยต่ำกว่าธนาคารทำให้เกิดประโยชน์อย่างมากต่อสมาชิก และ SMEs ท่องเที่ยวทั่วไป คุณอภิรมย์ รัตนถา ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ภาค ๒ กล่าวเพิ่มเติมว่า ธนาคารออมสิน มีนโยบายยกระดับ มาตรฐานคุณภาพชีวิตของประชาชน ตามนโยบายรัฐบาล ธนาคารออมสินยินดี สนับสนุนกลุ่มชาวบ้าน สหกรณ์ ที่มีส่วนร่วมช่วยเหลือ และพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยการให้บริการสินเชื่อพัฒนาชนบท ไม่ว่าจะนำไปช่วยเหลือทางด้านการศึกษา สาธารณสุข อาชีพ และความเป็นอยู่ของชุมชนต่างๆ พัฒนาความเข้มแข็งให้กับองค์กร ชุมชน และเครือข่าย สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ ส่งเสริมสนับสนุน เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่าง บุคคล หรือองค์กร ธนาคารออมสิน เห็นความสำคัญ SMEs ภาคท่องเที่ยว และเห็นการร่วมกลุ่มครั้งนี้เป็นครั้งแรก โดยให้การสนับสนุน การกู้เงิน วงเงินกู้ไม่เกิน 3,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ย ตามประกาศธนาคาร ระยะเวลาชำระเงินกู้ ไม่เกิน 5 ปีวัตถุประสงค์การขอกู้กรณีใดกรณี หนึ่งหรือหลายกรณี ดังนี้ปรับปรุงหรือขยายกิจกรรมที่ทำอยู่เดิม, ลงทุนใหม่ในกิจกรรมเพื่อการผลิตหรือการค้า, ลงทุนในการก่อสร้างหรือซ่อมแซมสิ่งสาธารณประโยชน์และมีแผนการ จัดเก็บเงินผู้ได้รับประโยชน์เพื่อใช้คืนเงินกู้ และเป็นเงินทุน หมุนเวียนที่เกิดประโยชน์ต่อกลุ่มหรือสมาชิก สำหรับคุณสมบัติผู้กู้ เป็นองค์กรชุมชน หรือองค์กรพัฒนาเอกชน หรือกลุ่ม ผู้ประกอบการ OTOP หรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ที่เป็นสมาชิก สพช. และมีบัญชีเงินฝากเป็นบัญชีร่วมประเภทเผื่อเรียก ชื่อ บัญชี "กลุ่ม" กับสาขาที่ขอกู้เงิน สุดท้ายต้องมีเงินออม หรือเงินกองทุนของกลุ่มอยู่จำนวนหนึ่ง และธนาคารออมสินยังมีบริการทางการเงิน ให้กับสมาชิก TTCU อื่น ๆ ใน 50 สาขา ในเขตกรุงเทพฯ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเงิน การทำธุรกรรม ต่าง ๆ เช่น Internet Banking เป็นต้น ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนท่องเที่ยวไทยเพื่อการพัฒนา จำกัด คุณทัศนา สุวรรณกมล เลขานุการ โทร 02-764 5448 อีเมลล์: excom@thaitourism.coop ข้อมูลเกี่ยวกับ TTCU : คุณฉัตรชัย มงคลวิเศษไกวัล และคุณสุวดี ปาจรียางกูร - ผู้ริเริ่มก่อตั้ง TTCU

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ