กรุงเทพฯ--27 เม.ย.--Weber Shandwick Thailand
- คนไทย 67.96% เลือกที่จะจับจ่ายจากร้านค้าที่มีความประพฤติถูกต้องตามจรรยาบรรณ ซึ่งถือเป็นอันดับที่สองในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก รองจากประเทศจีน (68.26%)
- นักช้อปชาวไทยเป็นหนึ่งในนักช้อปที่มีความสนใจต่อ การซื้อขายอย่างยุติธรรม การเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการบริจาครายได้ส่วนหนึ่งต่อองค์กรการกุศล มากที่สุดรองจากประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และจีน ในทาง
- 2 ประเด็นทางจรรยาบรรณที่นักช้อปในภูมิภาคนี้ให้ความสำคัญมากที่สุดคือ ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมที่ร้านค้ามี และการซื้อขายอย่างยุติธรรมของร้านค้านั้นๆ
มาสเตอร์การ์ดเผย ผู้บริโภคในตลาดที่กำลังพัฒนาทั่วภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก มีความเป็นไปได้สูงที่จะจับจ่ายสินค้าจากร้านค้าที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมมากกว่าในตลาดที่พัฒนาแล้ว โดยรวมแล้ว สินค้าที่มีการซื้อขายอย่างยุติธรรมได้รับความสนใจมากที่สุด นอกจากนั้น ผู้บริโภคในตลาดที่กำลังพัฒนายังเลือกที่จะซื้อสินค้าจากร้านค้าที่ประพฤติถูกต้องตามจรรยาบรรณ และหากผู้บริโภคต้องเลือกที่จะซื้อของจากร้านค้าใดๆ หลักจรรยาบรรณที่ผู้บริโภคคำนึงถึงมากที่สุดคือ ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของร้านนั้นๆ ทั้งนี้ ผลลัพธ์ทั้งหมดอ้างอิงกับการสัมภาษณ์ของบุคคลจำนวน 500 ท่าน โดยมีช่วงอายุระหว่าง 18-64 ปี ในทั้ง 14 ตลาด ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคมปีพ.ศ. 2557
จอร์เจ็ท แทน หัวหน้าฝ่ายการสื่อสาร ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “ตลาดที่กำลังพัฒนาเติบโตอย่างรวดเร็วก่อให้เกิดความสำนึกต่อความเสื่อมเสียของสิ่งแวดล้อมและความไม่เท่าเทียมเพิ่มมากขึ้น มันจึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจเลยว่าผู้บริโภคในตลาดอย่าง อินโดนีเซีย จีน มาเลเซีย และไทย นั้นคำนึงถึงกระบวนการผลิตและมาตรฐานจรรยาบรรณของร้านค้ามากขึ้นกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว และนี่ถือเป็นการรายงานที่ชัดเจนสำหรับแบรนด์ต่างๆที่หวังจะเข้ามาในตลาดที่กำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียว่าจะต้องพิจารณาผลเสียต่อสภาพแวดล้อมที่บริษัทก่อ และวิธีการที่จะบอกเล่าถึงสิ่งดีที่มอบให้สังคมอย่างมีประสิทธิภาพ”
ผลการสำรวจครั้งนี้ยังช่วยสนับสนุน MasterCard’s Purchase with Purpose initiatives ซึ่งเป็นโครงการพิเศษของมาสเตอร์การ์ดที่มอบโอกาสให้ผู้ถือบัตรมีส่วนร่วมกับมาสเตอร์การ์ดในการตอบแทนสังคมทุกๆครั้งที่ผู้ถือบัตรใช้จ่ายผ่านบัตรมาสเตอร์การ์ด โดยรายได้ส่วนหนึ่งจะถูกนำไปช่วยเหลือผู้หญิงและสนับสนุนด้านการศึกษา เพื่อมอบโอกาสให้ผู้ที่ขาดโอกาสได้เรียนรู้ทักษะ ต่อยอดการศึกษา เพิ่มความตระหนักถึงปัญหาด้านสุขภาพ และสนับสนุนจุดมุ่งหมายในการปกป้องสิ่งแวดล้อม
ประเด็นสำคัญของผลสำรวจ
- โดยรวมแล้ว ชาวอินโดนีเซีย (78.7%) จีน (73.8%) มาเลเซีย (73.8%) และไทย (73.6%) เป็นนักช้อปที่มักจะพิจารณาสินค้าที่มาจากการซื้อขายอย่างยุติธรรม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยังบริจาคส่วนหนึ่งของรายได้ให้แก่องค์กรการกุศลมากที่สุด
- จากการสำรวจ นักช้อปชาวไทย ให้ความสนใจต่อร้านค้าที่ตอบแทนสังคมสูงที่สุด (67.8%)
- นักช้อปในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก มากกว่าครึ่ง (56.6%) มักจะซื้อสินค้าที่ถูกต้องตามจรรยาบรรณ
- ประเด็นจรรยบรรณในการเลือกร้านค้าที่สำคัญที่สุดสำหรับนักช้อปในภูมิภาคนี้คือความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม (46.5%)
- (29.9%) ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่มีผู้บริโภคคำนึงว่าร้านค้ามีความถูกต้องตามจรรยาบรรณน้อยที่สุด (20.9%) เวลาจับจ่ายสินค้า ตามมาด้วยประเทศเกาหลี (28.8%) และฮ่องกง (29.9%).