กรุงเทพฯ--29 เม.ย.--กระทรวงวิทยาศาสตร์
เมื่อเสาร์ที่ 25 เมษายน 2558 เวลา 11.56 น. ตามเวลาท้องถิ่นของเนปาล หรือ 13.11 น. ตามเวลาในประเทศไทย ขนาด 7.9 ริกเตอร์ โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปได้พื้นดิน 11.9 กิโลเมตร ห่างจากกรุงกาฐมาณฑุ เมืองหลวงของประเทศเนปาล ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 80 กิโลเมตร สร้างความสูญเสียครั้งรุนแรงที่สุดของประเทศเนปาล นับตั้งแต่เหตุการณ์แผ่นดินไหวในรัฐพิหาร เมื่อ พ.ศ.2477 ที่พรากชีวิตผู้คนไปหลายหมื่นชีวิตดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ได้มอบหมายให้ทางสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) บันทึกภาพบริเวณพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวด้วยดาวเทียมไทยโชต เพื่อดูสภาพการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ก่อนและหลังโดย GISTDA ได้บันทึกภาพเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2558 เวลา 12.10 น. ตามเวลาในประเทศไทย และทำการเปรียบกับข้อมูลภาพก่อนเกิดแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2557โดยมีรายละเอียดภาพ (ตามแนบ) ดังนี้ ภาพที่ 1 เปรียบเทียบข้อมูลภาพจากดาวเทียมไทยโชต เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2557 และวันที่ 27 เมษายน 2558 บริเวณเมืองกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล ภาพที่ 2 เปรียบเทียบข้อมูลภาพจากดาวเทียมไทยโชต เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2557 และวันที่ 27 เมษายน 2558 บริเวณจตุรัสกาฐมาณฑุ ดูบาร์ เมืองกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล และ ภาพที่ 3 เปรียบเทียบข้อมูลภาพจากดาวเทียมไทยโชต พื้นที่อพยพ เมืองกาฐมาณฑุ เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2557 และวันที่ 27 เมษายน 2558 ดร.พิเชฐ กล่าวว่า GISTDA จะส่งแผนที่ดังกล่าวให้กับ องค์การสหประชาชาติด้วยในฐานะที่เป็นตัวแทนประเทศไทยในโครงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิก หรือ RESAP เพื่อสนับสนุนข้อมูลให้กับประเทศสมาชิกในกรณีเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ ซึ่งเนปาลเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิก RESAP ด้วย ทั้งนี้ การนำเอาภาพถ่ายทางดาวเทียมนับเป็นประโยชน์อย่างมากในการตรวจสอบความเสียหายในลักษณะภาพรวม เหมือนครั้งที่เกิดสึนามิในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2547 การเกิดอุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์เมื่อปี 2554 รวมถึงปัญหาน้ำมันรั่วไหลในหลายครั้งในอดีต