กรุงเทพฯ--7 พ.ค.--มหาวิทยาลัยแม่โจ้
เป็นที่ทราบกันว่า บ้านบ่อหลวง ต.บ่อเกลือใต้ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน ได้มีการทำเกลือสินเธาว์ภูเขา?ในเชิงอนุรักษ์ มีวิธีการต้มแบบโบราณ แต่ขณะนี้เกิดปัญญาทางด้านเชื้อเพลิงฟืน มีไม่เพียงพอจึงมีการตัดไม้บุกรุกพื้นที่ป่า เพราะไม้เชื้อเพลิงต้องมีถึง 100ไร่/ปี ถึงจะเพียงพอต่อการใช้งาน เตามหัศจรรย์ พลังงานทดแทนฟืน จึงเกิดขึ้น เพื่อช่วยชาวบ้านชุมชนคนต้มเกลือ แก้ปัญหาที่สาเหตุ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต โดยไม่กระทบวิถีชีวิตคนบ่อเกลือ
ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า “เราได้รับการประสานงานจาก โครงการ “โตโยต้า คนจริงสร้างสุข ปี 2”?ซึ่งเป็นช่วงหนึ่งในรายการ?“เรื่องจริงผ่านจอ”?ที่โตโยต้าขออาสาเข้าไปช่วยเหลือสังคมในชุมชนต่างๆที่มีปัญหาหรือความเดือดร้อน โดยจะนำนวัตกรรมหรือองค์ความรู้ต่างๆ เข้าไปช่วยเหลือ ตั้งแต่การวิเคราะห์ปัญหาจากสถานที่จริง การให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา การถ่ายทอดความรู้สู้คนในชุมชน และการติดตามผลเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง โดยได้รับโจทย์ให้ช่วยกันแก้ปัญหาเรื่องการต้มเกลือของชาวบ้านบ่อเกลือ จ.น่าน ซึ่งต้องใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิงในการต้มเกลือปีละประมาณ 100 ไร่ ผม พร้อมด้วย ดร.นิกราน หอมดวง และ ดร.จุฑาภรณ์ ได้นำทีมนักวิจัยและทีมช่างของศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ลงพื้นที่ เพื่อพัฒนาเตาต้มเกลือแบบพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงฟืน โดยได้รับความร่วมมือจาก ดร.กันยาพร ไชยวงศ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จ.น่าน นำทีมนักศึกษาเข้าร่วมดำเนินการ, พลังงานจังหวัดน่าน และกรมป่าไม้ในพื้นที่เขตรับผิดชอบเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาตรงจุดนี้ เตามหัศจรรย์ จึงได้เกิดขึ้น”
? เตามหัศจรรย์ ทดแทนเชื้อเพลิงฟืน??สามารถนำชีวมวลเหลือทิ้งทางการเกษตร อาทิเช่น ซังข้าวโพด แกลบ เป็นเชื้อเพลิงในการเผาไหม้ลดปริมาณควันที่ก่อให้เกิดมลพิษ??ควบคุมอากาศเข้าเตา??เพื่อให้ได้ก๊าซติดไฟ ซึ่งเป็นระบบการเผาไหม้ 2 ครั้ง เปลี่ยนเชื้อเพลิงแข็งให้เป็นเชื้อเพลิงแก๊ส ช่วยลดระยะเวลาในการต้ม
ซึ่งเตาแบบเดิม ต้องใช้เวลา 4-5 ชั่วโมงต่อหม้อ แต่เตาชีวมวลใช้เวลาต้มเพียง 2 ชั่วโมงเท่านั้น ช่วยประหยัดเวลาและลดต้นทุน โดยออกแบบให้ ?คงรูปร่างตามลักษณะเตาโบราณแบบเดิมโดยใช้ดินเหนียวก่อเป็นรูปเตาด้านนอก และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับชาวบ้าน ให้สามารถทำเตาขึ้นมาใช้ได้ด้วยตัวเอง
คุณณัฐกัณต์ เขื่อนเมือง อายุ 33 ปี ผู้ประกอบการต้มเกลือ เล่าว่า ผู้ประกอบการต้มเกลือโบราณ ประสบปัญหาเรื่องฟืนไม้ที่เป็นเชื้อเพลิงหลักในการต้มเกลือ โดยเมื่อวันที่ 23-25 เม.ย. ที่ผ่านมา มีโครงการพลังงานทดแทนเพื่อชุมชน ในการสร้างและถ่ายทอดเทคโนโลยีเตาต้มเกลือชีวมวลสำหรับชุมชน โดยวิทยาลัยพลังงานทดแทน ศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และบริษัทสาระดี จำกัด ได้เสนอวิธีการแก้ปัญหาร่วมกับผู้ผลิตเกลือสินเธาว์ภูเขาชุมชนบ้านบ่อเกลือใต้ โดยใช้เตาชีวมวลประหยัดพลังงาน ซึ่งจะทำเป็นเตาโครงสร้างด้วยเหล็ก ขุดหลุมไว้ด้านล่าง และใช้เตาดินเหนียวแบบดั้งเดิมคลุมปิดทับด้านบนซึ่งตามปกติแล้ว เตาดินต้มเกลือแบบดั้งเดิมก็จะต้องมีการทุบเพื่อทำใหม่ ประมาณทุกๆ 2 ปีอยู่แล้ว โดยเตาแบบใหม่ จะใช้เชื้อเพลิงได้ทั้งเศษไม้ ซังข้าวโพด หรือ แกลบ แล้วแต่จะหาได้ในท้องที่มาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนฟืนไม้ และช่วยประหยัดเวลาในการต้มเกลือได้ จากเดิม 4-5 ชั่วโมง จะใช้เวลาต้มเพียงประมาณ 2 ชั่วโมง ถ้าหากเป็นไปตามที่วางเป้าหมายไว้ ก็จะทำให้ผู้ประกอบการต้มเกลือ สามารถลดต้นทุนเรื่องฟืนไม้ ลดควันไฟขณะต้มเกลือ ชาวบ้านไม่ต้องไปแอบบุกรุกป่า เพื่อหาฟืนไม้และเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมายป่าไม้
คุณอนงค์ เขื่อนเมือง อายุ 54 ปี ผู้ประกอบการต้มเกลือ เปิดเผยว่า “ทำอาชีพต้มเกลือโบราณมากว่า 40 ปี โดยวิธีการแบบดั้งเดิม จะต้องใช้ฟืนไม้ ซึ่งปัจจุบันหายาก เนื่องจากเจ้าหน้าที่ป่าไม้มีความเข้มงวดในการเข้าหาไม้ฟืนในป่าภูเขา โดยต้องซื้อฟืนที่มีราคาสูงขึ้น ราคาตารางเมตรละ 400 บาท นอกจากนี้ยังต้องสูดดมควันไฟมีผลต่อสุขภาพ ขณะที่ต้นทุนการต้มเกลือสูงขึ้น ทำให้มีรายได้จากการขายเกลือแค่พออยู่ได้ และบางครั้งถึงกับขาดทุน จึงได้ปรับโรงต้มเกลือของตนเองเพื่อทดลองทำเตาแบบใหม่ จำนวน 1 เตา ซึ่งจะต้องทำการลงบันทึกเป็นระยะเวลา 1 เดือน เพื่อเปรียบเทียบความคุ้มค่าหรือไม่”
ด้าน คุณฑัชชมนันทร์ เขื่อนเมือง อายุ 44 ปี คนต้มเกลืออีกท่านได้กล่าวเพิ่มเติมว่า "หากพูดถึงเรื่องเสน่ห์ของการทำเกลือ หรือผลกระทบต่อการท่องเที่ยว ก็ไม่น่าจะหายไปไหน เพราะเตาต้มเกลือ ก็ยังเป็นเตาต้มเกลือแบบเดิมอยู่ เราไม่ได้ผลิตเกลือเพื่อขายอย่างเดียว เราก็คำนึงถึงการท่องเที่ยวด้วย เพราะเรารู้ว่า คนก็อยากมาดูวิถีชีวิต มาดูการทำเกลือแบบโบราณทุกวันนี้ก็ผลิตเกลือเพื่อการท่องเที่ยว ขายนักท่องเที่ยว การทำเตาแบบใหม่นี้กำลังอยู่ในขั้นทดลอง เพราะเตาต้มเกลือที่เราเห็นนี้ทุกๆ 2 ปี ก็จะต้องทำใหม่ เพราะแค่ 2 ปี ดินที่โดนความร้อน โดนเกลือ ก็จะผุพัง ก็ต้องเอาดินเหนียวมาก่อเป็นเตาใหม่ ในช่วงที่ไม่ได้ต้มเกลือ คือช่วงเข้าพรรษา 3 เดือน เราจะหยุดต้มเกลือซึ่งเป็นฤดูฝน ก็เกิดความชื้น เตาก็จะทรุดตัวอยู่ไม่ได้ เราก็ต้องทำใหม่แต่กรรมวิธีเหล่านี้ เราสืบทอดการต้มมาตั้งแต่ครั้งโบราณ"
“เตามหัศจรรย์” พลังงานชีวมวล จึงเป็นเพียงพลังงานทางเลือก??ที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาให้กับชาวบ้านในเรื่องของเชื้อเพลิง ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ให้คนต้มเกลือ ซึ่งยังคงมีการติดตาม บันทึกข้อมูล ติดตามผลหลังการใช้งาน เพื่อพัฒนาปรับปรุงไปเรื่อยๆ โดยเตาโบราณแบบเดิมก็ยังคงมีอยู่ ที่รักษาไว้ซึ่งวิถีชีวิตคนพื้นถิ่น ที่ยังคงส่งเสริมการท่องเที่ยว และอนุรักษ์เตาโบราณแบบเดิมควบคู่กันไป...ใครยังไม่เคยไปเที่ยว แนะนำเลยค่ะ ได้เห็นบรรยากาศวิธีชีวิตแบบดั้งเดิม และบรรยากาศที่ไปแล้วไม่ผิดหวังแน่นอน
ชุมชนใดมีโจทย์หรือข้อสงสัยเกี่ยวกับแนวทางพลังงานทางเลือกใหม่ ๆ ที่อยากขอคำแนะนำติดต่อ ศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทรศัพท์ 053 875140 หรือ วิทยาลัยพลังงานทดแทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทรศัพท์
บทสัมภาษณ์เพิ่มเติมจากข่าวสดออนไลน์ และ board.postjung.com
http://board.postjung.com/873961.htm
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=143019746
สุจิตรา ราชจันทร์ งานประชาสัมพันธ์ ม.แม่โจ้...รายงาน