กรุงเทพฯ--8 พ.ค.--โพลีพลัส พีอาร์
สีเบเยอร์ ตอกย้ำแบรนด์ไทย ชูกลยุทธ์ที่ยั่งยืน “เบเยอร์อนุรักษ์ไทย หัวใจอินโนเวชั่น” ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้บริโภค นำเสนอนวัตกรรมที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด“Eco-Wellness Innovation” โดดเด่น แตกต่าง อย่างยั่งยืน
ดร.วรวัฒน์ ชัยยศบูรณะ รองประธานบริหาร กลุ่มบริษัทสีเบเยอร์ ผู้นำนวัตกรรมสีรักษ์โลก รักคุณ เปิดเผยว่า ด้วยจิตสำนึกการเป็นบริษัทของคนไทยมากว่า 55 ปี บริษัทจึงขอตอบแทนสังคมด้วยการตอกย้ำความเป็นไทย ควบคู่ไปกับนวัตกรรมระดับโลก เพื่อคุณภาพชีวิตของคนไทยแบบจับต้องได้ ภายใต้ชื่อแคมเปญ “เบเยอร์อนุรักษ์ไทย หัวใจอินโนเวชั่น” โดยได้เชิญ 3 น้าซุปตาร์เพลงฉ่อยของเมืองไทย น้าโย่ง น้าพวง น้านงค์ มาร่วมกันรังสรรค์ภาพยนตร์โฆษณาสีย้อมไม้ ชื่อชุด จำอวดหน้าม่าน โดยใช้เสน่ห์ของเพลงฉ่อยพื้นบ้าน มาสื่อสารคุณสมบัติระดับแชมเปี้ยนของเบเยอร์ ปณิธานของ สีย้อมไม้เบเยอร์ Beger WoodStain คือ การรณรงค์ให้ใช้ไม้อย่างรู้คุณค่า ด้วยนวัตกรรม Super Resin ทำให้ซึมลึกถึงเนื้อไม้ ช่วยเพิ่มอายุการใช้งานของไม้ให้นานมากขึ้น
ส่วน สีเบเยอร์หัวใจอินโนเวชั่น มุ่งมั่นสร้างสรรค์นำนวัตกรรมระดับโลกเข้ามาพัฒนาผลิตภัณฑ์ ภายใต้แนวคิด “Eco-Wellness Innovation” เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ใช้ในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ของสีเบเยอร์ ได้แก่ BegerCool (เบเยอร์คูล) สีบ้านเย็น ช่วยประหยัดไฟฟ้า 25% ด้วยเซรามิก นวัตกรรมกันร้อนระดับโลกจากนาซ่า BegerShield Diamond (เบเยอร์ชิลด์ ไดมอนด์) ด้วยฟิล์มสีแข็งแกร่งเช่นเดียวกับเพชรแท้ทนนานกว่า 15 ปี ช่วยรักษาบ้านให้สะอาด สีสวยสดอยู่เสมอ BegerShield PhotoClean (เบเยอร์ชิลด์ โฟโต้คลีน) ช่วยฟอกอากาศให้บ้านอากาศสดชื่น ด้วยการสลายมลพิษ หรือสารระเหยที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และสีย้อมไม้สูตรน้ำ Beger Aqua (เบเยอร์อะควา) “ทาง่าย แห้งไว ไร้กลิ่น” เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบ DIY และผู้ที่แพ้กลิ่นสารระเหย ทาง่ายโดยไม่ต้องผสมน้ำหรือทินเนอร์ ซึ่งใช้ได้กับไม้จริงและไม้เทียม มีหลากหลายเฉดสี ตอบโจทย์ทุกความต้องการของผู้ใช้งาน
สำหรับยอดขายปี 2558 สีเบเยอร์ ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 4,200 ล้านบาท หรือเติบโตเพิ่มขึ้น 5% โดยปีนี้การทำตลาดยังเน้นการโฆษณา และประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ พร้อมขยายศูนย์ผสมสีเบเยอร์คัลเลอร์ดีไซน์ (Beger Colour Design) ทั่วประเทศให้ครบ 2,000 ศูนย์ภายในสิ้นปีนี้ ปัจจุบันทิศทางธุรกิจสีในประเทศไทยมีมูลค่ารวมกว่า 16,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น กลุ่มสีทาอาคาร (Decorative) มีสัดส่วน 50% กลุ่มงานไม้ (Wood Coating)25% และที่เหลือเป็นตลาดสีอื่นๆ (Non-Decorative) อาทิ กลุ่มเคมีภัณฑ์ก่อสร้าง กลุ่มอุตสาหกรรมหนักและอื่นๆ