กรุงเทพ--20 ต.ค.--ลูเซ่น เทคโนโลยี่ส์
ราชบัณฑิตยสถานวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดนประกาศมอบรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ประจำปี 2541 ให้แก่มร. โฮซท์ สตอร์มเมอร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสาขาฟิสิกส์ ประจำหน่วยวิจัยและพัฒนาของ ลูเซ่น เทคโนโลยี่ส์ และอดีตนักวิทยาศาสตร์ของเบลล์ แลปส์ อีกสองคน ได้แก่ มร. โรเบิร์ต ซี. ราฟลิน และ มร. แดเนี่ยล ซี. สุ่ย ในฐานะที่คิดค้นงานวิจัยด้านควอนตัม ฟิสิกส์
บุคคลทั้งสามได้รับการเสนอชื่อจากการค้นพบปฏิกิริยาของเศษส่วนควอนตัมที่มารวมกัน (tractional quantum-hall effect) ซึ่งเป็นสสารในสภาวะใหม่ที่เกิดขึ้นเมื่ออิเล็กตรอนรวมตัวกันจนเกือบเป็นอนุภาคหนึ่ง (quasi-particle) และมีค่ากระแสไฟฟ้าเป็นเศษส่วนคงที่ การทดลองเริ่มขึ้นที่เบลล์ แลปส์ในช่วงต้นศตวรรษ 1980 และทฤษฎีนี้ได้รับคำอธิบายเพิ่มเติมจาก มร. ราฟลิน ซึ่งภายหลังเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด พาโล อัลโต้ รัฐแคลิฟอร์เนีย
มร. สตอร์มเมอร์ อายุ 49 ปี ยังเป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียในกรุงนิวยอร์คอีกด้วย และในปัจจุบัน มร. สุ่ย เป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน รัฐนิวเจอร์ซีย์ จากการประกาศครั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ของเบลล์ แลปส์ ที่สร้างผลงานจนได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 11 คน
มร. ริชาร์ด เอ. แม็คกินน์ ประธานและผู้อำนวยการใหญ่ของลูเซ่น เทคโนโลยี่ส์ กล่าวว่า “นี่เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของงานวิจัยและความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีบทบาทต่อวงการสื่อสารในอนาคตเป็นอย่างยิ่ง”
“เรามีความภูมิใจในตัว มร. โฮซท์ รวมทั้งเพื่อนร่วมงานของเขา คือ มร.โรเบริ์ต ราฟลิน และมร. แดเนี่ยล สุ่ย เป็นอย่างมาก เราภูมิใจในความสำเร็จของบุคคลทั้งสามและภูมิใจที่เบลล์ แลปส์มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรมใหม่” มร. แม็คกินน์ กล่าว
การค้นพบปฏิกิริยาของเศษส่วนควอนตัมที่มารวมกัน เป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากนักวิจัยต้องการจะแยกอนุภาคให้มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ “ในกรณีนี้ สิ่งที่น่าอัศจรรย์ใจก็คือการที่อิเล็กตรอนรวมตัวเข้าด้วยกันแทนที่จะแยกออกจากกัน ทำให้ได้วัตถุที่มีขนาดเล็กลงกว่าเดิม” มร. สตอร์มเมอร์ กล่าว
ผลงานของพวกเขาได้รับคำกล่าวว่าเป็น “การพัฒนาทฤษฎีใหม่ที่มีความสำคัญต่อฟิสิกส์สมัยใหม่หลายสาขา” ซึ่งบุคคลทั้งสามจะได้รับเงินรางวัลรวมมูลค่า 978,000 เหรียญสหรัฐ ผลงานของทั้งสามคนเคยได้รับรางวัลมาแล้วในช่วงต้นปี จากสถาบันแฟรงคลิน ซึ่งมอบเหรียญ เบนจามิน แฟรงคลินสาขาฟิสิกส์ให้
“ผมรู้สึกช็อคไปชั่วขณะเมื่อเสียงกริ่งโทรศัพท์ปลุกผมพร้อมกับภรรยาเพื่อรับทราบข่าวการรับรางวัลในเวลาประมาณ 6.00 น. มร. สตอร์มเมอร์ กล่าว “ในที่สุด เราก็ต้องยกหูโทรศัพท์ออก” มร. สตอร์มเมอร์กล่าว “เราอาศัยอยู่ที่แมนฮัตตันและเข้านอนพร้อมที่อุดหู ดังนั้น เราจึงพลาดเสียงโทรศัพท์สองสามครั้งแรกจากคนที่วางหูไปโดยไม่ได้ทิ้งข้อความใดๆ ไว้ในเครื่องตอบรับของเรา”
เสียงโทรศัพท์ครั้งแรกมาจากคนพูดภาษาเยอรมันซึ่งถามมิสซิสพาร์เซต ภรรยาของสตอร์มเมอร์ว่า จะขอพูดสายกับมร. สตอร์มเมอร์ เกี่ยวกับเรื่องการได้รับรางวัลโนเบลได้หรือไม่ ซึ่งเธอคิดว่ามันเป็นเรื่องล้อเล่น จากการพูดคุยกับเหล่าเพื่อนร่วมงานที่มาร่วมแสดงความยินดีในห้องอาหารของพนักงานลูเซ่น เทคโนโลยี่ส์ ในเมอร์เรย์ ฮิลล์ มร. สตอร์มเมอร์ กล่าวว่า “การค้นพบทฤษฎีใหม่เหล่านี้ สามารถเกิดขึ้นได้แต่ในสถานที่อย่างเช่นเบลล์ แลปส์ เท่านั้น ซึ่งทุกคนมีส่วนร่วมในเรื่องนี้”
มร. สตอร์มเมอร์ และ มร. สุ่ย ค้นพบปฏิกิริยาของเศษส่วนควอนตัมที่มารวมกัน ซึ่งเกิดในแผ่นอิเล็กตรอนขนาดบางภายในเซมิคอนดักเตอร์ และไม่ได้ต่างไปจากแผ่นอิเล็กตรอนในเครื่องทรานซิสเตอร์สมัยใหม่ ภายใต้อุณหภูมิและสนามแม่เหล็กที่มีค่าสูง ปรากฏว่าอิเล็กตรอนแตกตัวเป็นอนุภาคเหมือนกันหลายอนุภาค — แต่มันไม่ได้เกิดขึ้นเนื่องจากการแตกตัวของอิเล็กตรอน แต่เนื่องมาจากการเคลื่อนไหวของอิเล็กตรอนจำนวนมากที่รวมตัวกันจนเกือบเป็นอนุภาคที่มีค่ากระแสไฟเป็นเศษส่วนอนุภาคต่างๆ มีค่ากระแสไฟฟ้าเป็นเศษส่วนคงที่ ยกตัวอย่างเช่น หนึ่งส่วนสาม หนึ่งส่วนสี่ หรือหนึ่งส่วนเจ็ด
“สูตรคณิตศาสตร์ธรรมดาสามารถอธิบายได้ทั้งหมด” มร. สตอร์มเมอร์ กล่าวเสริมว่า มร. อาร์ต กอสสาร์ต ซึ่งเป็นอดีตเพื่อนร่วมงานในเบลล์ แลปส์ ก็มีส่วนร่วมในผลงานนี้ด้วยเช่นกัน “มร. กอสสาร์ตได้สร้างตัวอย่างผลึกเพื่อใช้ในการทดลอง”
มร. สตอร์มเมอร์ เกิดที่เมืองแฟรงค์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี จบการศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยเกอเธ่ (Goethe-Universtaet) ในแฟรงค์เฟิร์ต และจบปริญญาเอกสาขาฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยสตุตการ์ดในเยอรมนี
มร. สตอร์มเมอร์ เริ่มทำงานที่เบลล์ แลปส์ในตำแหน่งผู้ฝึกงานหลังจบปริญญาเอก (postdotorial fellow) ในปี 2520 และได้รับการบรรจุเป็นพนักงานด้านเทคนิคของบริษัทในปีต่อมา มร. สตอร์มเมอร์ ได้รับการเสนอชื่อเป็นหัวหน้าแผนกการวิจัยฟิสิกส์สำหรับเซมิคอนดักเตอร์ ในปี 2526 โดยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการห้องวิจัยฟิสิกส์ในปี 2535 และตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการฟิสิกส์ในปี 2540
มร. สตอร์มเมอร์ ได้รับรางวัลเกียรติยศหลายรางวัล รวมถึงรางวัล Buckley Award จาก American Physical Society ในปี 2527 และรางวัล Otto Klung Physics จาก Freie Universitat of Berlin ประเทศเยอรมนีในปี 2528 และเป็นสมาชิกของ American Physical Society และ American Academy of Arts and Sciences
ลูเซ่น เทคโนโลยี่ส์ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมอร์รี่ ฮิลล์ มลรัฐนิวเจอร์ซี บริษัทฯ ออกแบบ สร้าง และจำหน่าย ระบบเครือข่ายที่หลากหลายของระบบพื้นฐานและเฉพาะกิจ ระบบสื่อสาร และซอฟแวร์ ระบบเชื่อมโยงข้อมูล ระบบชุมสายโทรศัพท์สำหรับองค์กรธุรกิจและชิ้นส่วนไมโครอิเล็กทรอนิคส์ โดยมีเบลล์ ลาบอราทอรีส์ เป็นผู้ให้การสนับสนุนงานด้านวิจัยและพัฒนา
หากต้องการสอบถามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติม ดูได้ในเว็บไซต์ http://www.lucent.com.-- จบ--