กรุงเทพฯ--4 มิ.ย.--ฝ่ายประชาสัมพันธ์งานนิทรรศการ
“ถ้าเราไม่มีใจที่จะทำให้สำเร็จ เราก็จะไม่สำเร็จ”
“ถ้าเลิกล้มความตั้งใจ ก็ไม่มีวันชนะ”
“เคยท้อ แต่ไม่เคยถอย”
“เรียนรู้จากความพ่ายแพ้”
“เพชรแท้ยังต้องผ่านการเผา ความสำเร็จก็ต้องผ่านความล้มเหลว”
“ผมซ้อมวันละ 10 ชั่วโมงทุกวัน ถ้าซ้อมกับกีตาร์ไม่ได้ ก็ซ้อมในหัวเราเอง”
“ที่หนึ่งเท่านั้นจึงเรียกว่า สำเร็จ”
แฟ้มบุคคลภูมิใจหนักมากกก ครั้งแรกพลันที่รู้ว่า เบิร์ด เอกชัย เจียรกุล หนุ่มวัยเพียง 27 ปี จาก จ.อุบลราชธานี ผู้ Think big ฝันอยากเป็นแชมป์กีตาร์คลาสสิกระดับโลก ใช้ระยะเวลากว่าสิบปีในการเดินตามความฝันอย่างมุ่งมั่นตั้งใจ ที่สุดเหล่าคณะกรรมการบนเวที ‘GFA Guitar Foundation of America International Concert Artist Competition 2014’ ก็เทคะแนนเป็นเอกฉันท์ให้เขาได้รับตำแหน่งแชมป์ประจำปี 2015 พร้อมเซ็นสัญญาอัดแผ่นเสียงกับ“Naxos และ GHA” เตรียมวางจำหน่ายและทัวร์คอนเสิร์ตไปกว่า 50 ประเทศทั่วโลก เริ่มต้นเดือนมิ.ย. เป็นต้นไป
หากแต่ “ชัยชนะ” ในวันนี้เป็นแค่สัญลักษณ์ของความสำเร็จที่ต่อไปคนทั่วโลกจะได้ดื่มด่ำจากคนไทยที่มีความสามารถไม่แพ้ชาติใดในโลก ทว่าถ้ามองย้อนกลับไปตลอดยี่สิบกว่าปีแห่งความมุ่งมั่น ตั้งใจ ในการฝ่าฟันอุปสรรค และ วิธีคิดเพื่อเอาชนะ เป็นอีกสิ่งต่างหากที่คนไทยควรเรียนรู้ ในฐานะที่คอยสนับสนุนทุกความมุ่งมั่นตลอดเส้นทางสายดนตรี สู่ชัยชนะในระดับโลก “SangSom” ได้จัดงานนิทรรศการ “คนไทย... ตั้งใจทำอะไรไม่แพ้ชาติใดในโลก” เพื่อบอกเล่าเรื่องราว ความมุ่งมั่น ตั้งใจ แห่งการซ้อม...ซ้อม...และก็ซ้อม จนสู่เส้นทางชัยชนะ ที่เป็นอีกหนึ่งความภูมิใจของคนไทยทั้งประเทศ โดยรวบรวมภาพ, เทปวิดีโอการแสดงคอนเสิร์ตใหญ่ที่กรุงเทพฯ, ผลงาน, รางวัล รวมถึงกีตาร์ตัวแรกพบกับกีตาร์ตัวแรกที่หัดเล่นและ “สุดยอดกีตาร์ระดับโลก” ตัวปัจจุบันที่มีมูลค่ามหาศาลและใช่ว่าใครก็เป็นเจ้าของได้ หากแต่ต้องสั่งทำพิเศษ เพราะช่างทำกีตาร์จะสร้างสรรค์กีตาร์คลาสสิกจากรูปแบบการเล่นที่เฉพาะตัวของนักดนตรีแต่ละคน เพื่อให้เป็นสุดยอดกีตาร์คลาสสิกของนักดนตรีคนนั้นจริงๆ นำมาโชว์ไว้ในนิทรรศการครั้งนี้ด้วย (ซึ่งกีตาร์ตัวนี้คนทั่วไปที่อยากได้ครอบครองต้องรอคอยนานไม่ต่ำกว่า 20 ปี กว่าจะได้เป็นเจ้าของ แต่ด้วยเบิร์ดได้เร็วเนื่องจากชนะรายการ GFA ช่างที่ทำกีตาร์เลยทำให้ก่อน) นำมาโชว์ไว้ในนิทรรศการครั้งนี้ด้วย นอกจากนี้ ยังมีมินิคอนเสิร์ตโชว์การเล่นแบบพลิ้วไหวพร้อม Exclusive Talk “คนไทย…ตั้งใจทำอะไรไม่แพ้ชาติใดในโลก” เราจึงได้คุยกับแชมป์ GFA 2014 อย่างตั้งใจ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจระดับโลก
ภายในงาน เบิร์ด เปิดตัวด้วยการอันเชิญเพลงพระราชนิพนธ์ “สายฝน” ใช้เทคนิคการรัวนิ้ว เสียงพลิ้วกังวาน ในจินตนาการ เหมือนเห็นฝนหลั่งเป็นสาย! ต่อด้วย “เดือนเพ็ญ” ที่เหมือนไฟทั้งห้างวูบดับ เพื่อให้แสงของพระจันทร์เปล่งเต็มที่ เรียกเสียงปรบมือกังวาน ก่อนพิธีกรจะถามว่าทำไมถึงเล่นเก่งได้ขนาดนี้ “ไม่มีอะไรมาก ซ้อม ซ้อม แล้วก็ซ้อม นักดนตรีเก่งได้ด้วยการซ้อม เป็นนักดนตรีที่ดี ต้องซ้อม 10 ชั่วโมงต่อวัน ถ้าเล่น 2 นาที เบิร์ดซ้อมกว่าพันชั่วโมง เพราะนักดนตรี จะมีการทำงานของเราสั้นมาก แต่ระหว่างนั้นผมซ้อมเป็นพันชั่วโมง เพื่อให้สองนาทีเพอร์เฟคที่สุด ไม่ใช่ผมคนเดียว นักดนตรีที่เล่นจริงจัง เขาทำอย่างนี้ทั้งนั้น”
เขาย้ำว่าวินัยในตัวเองมากๆ ในการที่จะมาถึงวันนี้ได้ และรางวัลที่ได้รับ เป็นรางวัลสูงสุด ที่นักดนตรีทั่วโลกอยากได้ เบิร์ดเล่าย้อนวันวานว่า “ช่วงแรก ไม่ได้เล่นกีตาร์ เล่นทรัมเป็ต ตอนป.4 เป็นนักเรียนวงโยฯ ทำกิจกรรมเหมือนเด็กทั่วไป เตะบอล วาดรูป ตอนป.4 เป่าทรัมเป็ตครั้งแรก เป่าจนหน้าแดงเลย ตั้งแต่ลูกทุ่งยันแจ๊ส กลับบ้านก็เป่า เสียงของทรัมเป็ต ไม่ใช่แค่ดังที่บ้าน คือดังทั้งหมู่บ้าน จนมาวันหนึ่งถึงจุดเปลี่ยน ช่วงมัธยม เห็นรุ่นพี่คนหนึ่งเล่นกีตาร์คลาสสิก ในห้องดนตรี เขาเล่นเพลงพระราชนิพนธ์ รู้สึกทึ่ง เครื่องดนตรีนี้ไม่เหมือนที่เราได้ยินมานะ ทรัมเป็ตต้องมีทั้งวง แต่กีตาร์เพียงตัวเดียว แถมเสียงที่ได้ยิน มหัศจรรย์ สนใจมาก วันรุ่งขึ้น ขอคุณแม่ไปเรียนกีตาร์เลย แต่เครื่องดนตรีอื่นๆ ก็ไม่ทิ้งนะ เล่นไปด้วย ซึ่งพอมีฝีมือในระดับหนึ่ง เคยไปแคสค่ายเพลงชื่อดังด้วย แต่ไม่ติด (โชคดี ถ้าติดอาจไม่มีวันนี้) ได้ค้นพบตัวเองว่าดนตรีอาจไม่ใช่เราทั้งหมด กีตาร์คลาสสิกคือตัวตนมากกว่า”
“ม.3 ผมชอบในสิ่งที่ผมรัก ม.4 ไปหาสถาบันที่สอนเราได้ คือ คณะ ดุริยางคศิลป์ มหิดล เรียนต่อเนื่องมหาลัย จบปริญญาตรีที่มหิดล เมื่อก่อนอาจเล่นเพื่อความเพลิดเพลิน ต่อมากลายเป็นหน้าที่ต้องรับผิดชอบละ อยู่กับกีตาร์มากกว่าอยู่กับคนสนิท! สนใจหนักมากขึ้นเรียน ปริญญาตรี ด้าน กีตาร์คลาสสิก ปริญญาโท ต่อด้าน กีตาร์คลาสสิก อีก ตอนนี้ คิดจะต่อเอก แต่ได้แชมป์ก่อน เลยคิดว่าเลื่อนไปก่อน”
“ ทัวร์คอนเสิร์ตเริ่มเดือนหน้า กลางเดือนมิ.ย. เล่นคนเดียวเลย ในฐานะแชมป์ GFA ห้องใช้ในการแสดง ไม่ใหญ่มาก และไม่ใช้ไมค์ แน่นอนว่าถ้าเรากดดัน ดนตรีคลาสสิกมันหลุดง่ายมาก ทุกคนที่มา ก็ตั้งใจ ซึมซับในอรรถรส ผมเล่นคนเดียว ไม่มีวง ห้องเงียบมาก แค่ลมหายใจยังมีเสียง ต้องพยายามไม่ให้พลาด และตอนนี้ อาจไม่ได้หมายถึงผมคนเดียวด้วยกลัวเสียชื่อคนไทย”
ได้แชมป์ GFA 2014 ชีวิตนักดนตรีคนนั้นจะเปลี่ยนไปอย่างไร? “อย่างแรกเลยคือเป็น เกียรติประวัติ จุดมุ่งหมายเพื่อมีใบการันตีความสามารถ เวลาไปเล่นที่ไหน คนจะได้เชื่อเรา เบิร์ดเอง ใฝ่ฝันอยากเล่นทั่วโลก การแข่งขันเหมือนได้ใบการันตีเพราะผู้ชนะเขาจะเปิดประตูสู่โลกกว้างให้คุณ อัดแผ่นเสียง (มีเงิน ก็อัดไม่ได้) ทัวร์คอนเสิร์ต (มีเงิน ก็จัดไม่ได้เหมือนกัน) เล่นที่ คาร์เนกี้ ฮอลล์ ซึ่งเป็นความใฝ่ฝันของนักดนตรี ใครๆ ก็อยากไปเล่น”
กว่าที่จะถึงวันนี้ได้ ถ้าให้รีวิวเส้นทางความสำเร็จ ให้ดูจาก “ร่องนิ้ว” ถ้าสังเกต นิ้วซ้ายมือของเบิร์ด จะเป็นร่องๆ ด้านๆ ชัดเจน หมายความถึงว่าซ้อมหนักมาก ยิ่งถ้าเป็นช่วงแข่ง ร่องยิ่งลึกลงไปเลย แต่นั่นเป็นข้อดี เพราะเวลาเล่น นิ้วจะลงล็อคของมัน ซึ่งเบิร์ดจะภูมิใจมาก นอกจากนั้น เขายังต้องทำเล็บ มีชุดบำรุงรักษา เขาบอกว่าเล็บสำคัญอันดับ 1 เลย ก่อนแข่ง ก่อนแสดง ต้องตะไบอย่างดี เพราะมีผลต่อเสียง อีกทั้งยังทำเล็บพิเศษคือ “เล็บปิงปอง” ที่ นิ้วนาง หนึ่งในเทคนิค เอาลูกปิงปอง ตัด ปิด เพราะต้องการให้เสียงที่บางแต่กังวาล
เวลาแพ้ เวลาท้อ บอกตัวเองอย่างไรให้ลุกขึ้นสู้? “ช่วงท้อมีแน่นอน อย่างที่บอกคือผมไม่ได้แข่งชนะทุกรายการ ได้ที่สองๆๆๆๆๆๆ เกือบทุกรายการ มาก็เยอะ แม้จะตั้งใจมากกว่าเดิมแค่ไหน แต่ผลออกมาเหมือนเดิม ก่อนแข่ง GFA แข่งที่เอเมริกา ก็ได้ที่สอง คิดว่าไม่ไปละ แต่สุดท้ายก็ไม่ยอมหยุด ไปแข่งต่อ! รู้สึกขอบคุณตัวเองมาก ถ้าหยุดความคิดวันนั้น คงไม่มีวันนี้ ก็มีนะที่บางทีคนเรา เหมือนจะไปสุดทางแล้วแต่หยุด ก็อยากมุ่งมั่น เชื่อว่า ไม่มีใครแพ้ตลอดไป และผม เชื่อว่า ไม่มีใครชนะตลอดไปด้วย”
“เคล็ดลับทุกครั้งที่ผมแพ้ ผมซ้อมหนักกว่าเดิม! รายการฯ นี้ ซ้อมหนักที่สุดในชีวิตเท่าที่เคยมีมา รายการอื่นก็หนักนะ แต่อันนี้ สุดๆ แล้ว ซ้อมจนรู้สึกตัวว่าพอได้แล้ว ร่างกายรับได้แค่นี้ ทานข้าวปุ๊ป ก็ซ้อมในหัว จินตนาการโน้ตทุกตัว ผมจับคอร์ดอะไรอยู่ แล้วก็หลับไปพร้อมกับตัวโน๊ต ขนาดฝัน ยังได้ยินเพลงบรรเลงของผม เหมือนกับหนังเรื่องหนึ่ง ที่เป็นนักแข่งรถ ตอนฝัน ยังฝันว่าขับรถแข่ง โค้งข้างหน้า ใช้เกียร์อะไร ถึงไหน ซ้อมจนเป็นอย่างนั้น”
ช่วงซ้อมหนัก นิ้วล็อคมั๊ย? “ไม่มี ซ้อมเยอะ แต่ถูกวิธี ไม่ใช่ยิ่งซ้อม ยิ่งแย่ การซ้อมที่ดี คือตัวเองต้อง พัฒนาขึ้น ทุกอย่างที่ได้มา มาจากความทุ่มเท ไม่ใช่ฟลุ๊ค ในนิทรรศการนี้ ก็มีคำพูด ความคิด ที่ผมยึดถือเสมอเวลาซ้อม เอามาแปะไว้ด้วย แต่พระเอกของงาน คือ สุดยอดกีตาร์ตัวปัจจุบันที่มีมูลค่ามหาศาลและใช่ว่าใครก็เป็นเจ้าของได้ หากแต่ต้องสั่งทำพิเศษ คือต้องไปเล่นกีตาร์ให้เขาฟังก่อน ถ้าเขาไม่ชอบคุณเล่น เขาก็ไม่ทำให้ เป็นศิลปินมาก คิดว่า กีตาร์ของเขาต้องคู่ควรกับคนที่คู่ควร คนทำเป็นนักดนตรีชาวเยอรมัน ผมสั่งตั้งแต่ปี 2009 -2010 และไปตื๊อเขาทุกปี เขาก็ไม่ทำให้ จนได้แชมป์ GFA ผมโทรไปหาเขาเลย เขาบอกว่าเดือนหน้ามารับ! ไม่ได้ชอบ เพราะยาก หรืออยากเอาชนะ คนทำก็ไม่ได้เล่นตัว เพียงแต่คงอยากให้เห็นความลำบากในการได้มา เขาต้องเห็นความทุ่มเท แรงใจ ความใฝ่ฝัน ฉะนั้นมีฝัน ทำไปเลย รางวัลอยู่ข้างหน้า” นำมาโชว์ไว้ในนิทรรศการครั้งนี้ด้วย (ซึ่งกีตาร์ตัวนี้คนทั่วไปที่อยากได้ครอบครองต้องรอคอยนานไม่ต่ำกว่า 20 ปี ทำปีละแค่ 5 ตัว กว่าจะได้เป็นเจ้าของ แต่ด้วยเบิร์ดได้เร็วเนื่องจากชนะรายการGFA ช่างที่ทำกีตาร์เลยทำให้ก่อน)
ท้ายสุดปิดใหญ่ แรงบันดาลใจระดับโลก เผยว่า “ผมเชื่อว่าความสำเร็จเกิดขึ้นได้เพราะ 1. มีใจรัก 2. เป้าหมายชัดเจน 3.ห้ามล้มเลิก สามอย่างนี้ ทำให้เป็นไปได้ ผมชอบคำพูดหนึ่งที่ว่า “ถ้าเราจะถ้าจะยิงหงส์ ให้เล็งไปถึงดวงจันทร์ พลาดพลั้งยังอยู่ในหมู่ดาว” สุภาษิตจีนบอกเราว่า ฝันให้ใหญ่ไปเลย ผมไม่รู้หรอกว่าทำได้หรือเปล่า นึกถึงไว้ก่อน วิธีการมาเอง ผมเชื่อในเรื่องความตั้งใจ และขอบคุณในแรงสนับสนุน ขอบคุณที่ แสงโสม ที่ทำให้ความเชื่อนี้เป็นจริง!!”
ติดตามการจัดนิทรรศการครั้งต่อไปได้ที่ www.facebook.com/sangsomexperience