กรุงเทพฯ--5 มิ.ย.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. รุกสร้างความเข้มแข็ง สร้างมาตรฐานอาชีวะ พัฒนาแรงงานมีฝีมือ รองรับการเปิดเสรีอาเซียน เผยมาตรฐานตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพด้านการอาชีวศึกษา ซึ่งจากการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 3 ที่ผ่านมานั้นได้มีจำนวน 18 ตัวบ่งชี้ อาทิ ให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการทำงาน ผู้เรียนต้องผ่านการทดสอบทางมาตรฐานทางวิชาชีพจากองค์กรที่เป็นที่ยอมรับ และมีผลงานที่เป็นโครงงานทางวิชาชีพ หรือสิ่งประดิษฐ์ของผู้เรียนได้นำไปใช้ประโยชน์ มีการให้บริการวิชาการและวิชาชีพที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะของผู้เรียน ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง เป็นต้น โดยตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมามีการปรับตัวบ่งชี้ให้สอดรับกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและการเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งนี้ กรอบตัวบ่งชี้ดังกล่าว กำหนดเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาสถานศึกษา ผลิตนักศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยปัจจุบันประเทศไทยมีสถาบันอาชีวศึกษา จำนวน 751 แห่ง และมีนักศึกษาทั้งหมด จำนวน 213,373 คน โดยจากสถิติในปีการศึกษา 2557-2558 สัดส่วนผู้เรียนสายสามัญต่อสายอาชีพเท่ากับ 71 : 29 ทั้งนี้ ภาคอุตสาหกรรมหลักของไทยต้องการแรงงานสายช่างประมาณปีละ 1.8 แสนคน ในขณะที่ผู้จบอาชีวะ ต่อปีเพียง 20,000 คน
สำหรับคณาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไป สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือเข้าไปที่ www.onesqa.or.th
ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) หรือ สมศ. กล่าวว่า ในปัจจุบันเกิดปัญหาขาดแคลนนักศึกษาอาชีวะอย่างมาก จนทำให้ประสบปัญหาการพัฒนาประเทศเนื่องจากขาดแคลนช่างฝีมือ ทั้งที่ข้อดีของการเรียนสายอาชีวะคือ เรียนจบแล้วมีงานทำแน่นอน ซึ่งต่างจากปริญญาตรีที่พบว่าแต่ละปีมีบัณฑิตตกงานปีละกว่า 100,000 คน ดังนั้นทาง สมศ. จึงได้ให้ความสำคัญกับการกำหนดตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพด้านการอาชีวศึกษา เพื่อเป็นการส่งเสริมทักษะด้านฝีมือแรงงาน โดยตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมามีการปรับตัวบ่งชี้ให้สอดรับกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งจากการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 3 ที่ผ่านมานั้น กำหนดตัวบ่งชี้จำนวน 18 ตัวบ่งชี้ อาทิ ให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการทำงาน ผู้เรียนต้องผ่านการทดสอบทางมาตรฐานทางวิชาชีพจากองค์กรที่เป็นที่ยอมรับ และมีผลงานที่เป็นโครงงานทางวิชาชีพ หรือสิ่งประดิษฐ์ของผู้เรียนได้นำไปใช้ประโยชน์ มีการให้บริการวิชาการและวิชาชีพที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะของผู้เรียน ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง เป็นต้น โดย ตัวบ่งชี้ดังกล่าวเป็นไปเพื่อสะท้อนความต้องการด้านการเรียนรู้และทักษะฝีมือ เพื่อตอบสนองต่อภาคการผลิต และภาคอุตสาหกรรม และจากการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม พบว่า สถานศึกษาด้านการอาชีวศึกษาทั้งหมด 779 แห่ง ได้รับการประเมินแล้ว 748 แห่ง และได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา จำนวน 606 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 81.02 โดยมีสถานศึกษาที่มีผลการประเมินคุณภาพภายนอกระดับดีมาก จำนวน 75 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 10.03 และ มีสถานศึกษาที่ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน จำนวน 142 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 18.98
ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ กล่าวต่อว่า ในปี 2558 สมศ. ได้มีการทำบักทึกความร่วมมือกับหน่วยงานการประเมินและจัดการศึกษาแห่งไต้หวัน (Taiwan Assessment and Evaluation Association) เรื่องความร่วมมือเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา โดยมีความร่วมมือด้านการจัดการอาชีวศึกษาร่วมกันและพัฒนารูปแบบการประเมินด้านอาชีวศึกษาให้เป็นมาตรฐาน วิธีการจัดการเรียนการสอน วิธีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านงานวิจัย และสร้างมาตรฐานการจัดการเรียนการสอน ฯลฯ ทั้งนี้ นอกจากความร่วมมือด้านการประกันคุณภาพภายนอกกับไต้หวันแล้ว ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการเจรจากับประเทศญี่ปุ่น เรื่องกรอบมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกร่วมกัน เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการอาชีวะของไทยให้เป็นที่ยอมรับในนานาประเทศ
ปัจจุบันประเทศไทยมีสถาบันอาชีวะ จำนวน 751 แห่ง และมีนักศึกษาทั้งหมด จำนวน 213,373 คน สอดคล้องกับผลการศึกษาของสำนักเลขาธิการสภาการศึกษาที่พบว่า สถิติในปีการศึกษา 2557-2558 สัดส่วนผู้เรียนสายสามัญต่อสายอาชีพเท่ากับ 71 : 29 โดยจากข้อมูลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม 3 (พ.ศ.2554-2558) พบว่ากลุ่มสาขาวิชาสายอาชีพที่ยังขาดแคลนในปัจจุบัน ได้แก่ ธุรกิจเกี่ยวกับสิ่งทอ เครื่องแต่งกายและเครื่องหนัง ธุรกิจอิเล็กทรอนิคส์ อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหาร ธุรกิจผลิตภัณฑ์ยาง พลาสติก และธุรกิจก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม การรองรับการขยายตัวภาคผลิตและอุตสาหกรรมในปัจจุบัน จะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เมื่อประเทศไทย เข้าสู่การเปิดเสรีอาเซียน เพราะจะทำให้เขตอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ความต้องการแรงงานมีฝีมือก็จะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว การผลิตแรงงานในสายอาชีพจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญ ซึ่งข้อมูลจากกองวิจัยตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน ระบุว่า อุตสาหกรรมหลักของไทยต้องการแรงงานสายช่างประมาณปีละ 1.8 แสนคน ในขณะที่ผู้จบอาชีวศึกษาแต่ละปีไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ในขณะที่ปัจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตนักเรียนนักศึกษาสายอาชีพได้เพียง 20,000 คน ต่อปี ศ.ดร.ชาญณรงค์ กล่าวทิ้งท้าย
สำหรับคณาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไป สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือเข้าไปที่ www.onesqa.or.th