กรุงเทพฯ--8 มิ.ย.--เอเอเอส ออโต้ เซอร์วิส
การแข่งขันในระยะเวลา 24 ชั่วโมง คือเวลาที่ยาวนาน แต่การทำงานสำหรับ “Le Mans” นั้นยาวนานกว่า ทีมปอร์เช่เริ่มต้นการสร้าง Paddock ของตัวเอง ณ สนามแข่งที่โด่งดังทางตอนตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศสในวันที่ 18 พฤษภาคม โดยทำการสร้างห้องโถง 2 ชั้นที่สามารถรับคนได้ 12 คน และมีตู้เก็บของชั้นที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เก็บของและเป็นห้องพักของนักแข่งอีกด้วย ในวันที่ 27 พฤษภาคม รถบรรทุกที่ขนอุปกรณ์และเครื่องมือต่าๆ ของทีมงานจะออกจาก Weissach เพื่อเดินทางไปที่เมือง Sarthe เป็นเส้นทางที่ไกลถึง 800 กิโลเมตร โดยสมาชิกทีมทั้ง 8 คนจะทำการจัดเตรียมโรงรถไว้สำหรับปอร์เช่ 919 ไฮบริด (919 Hybrid) และจากนั้นทีมงานอีกทีมหนึ่งจะเข้าไปสร้างเต๊นท์พิเศษสำหรับรับรองผู้สื่อข่าว ในส่วนที่รับรองแขกของปอร์เช่จะอยู่ในศูนย์ Porsche Experience Center ใหม่ล่าสุด ซึ่งในส่วนนี้จะเพิ่มความสะดวกสบายซึ่งเรียกว่า Village และส่วนของห้องรับรองแขกแบบ Lounge จะอยู่ที่ห้องทรงโค้งปอร์เช่และตั้งอยู่ชั้นบนโรงรถ ไม่เพียงเท่านี้ยังได้จัด Camp ไว้รองรับเจ้าหน้าที่ 750 คนจากปอร์เช่อีกด้วย ซึ่งจะมาร่วมเชียร์และให้กำลังใจทีมของพวกเขา และรถปอร์เช่ที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีสำหรับโลกอนาคต รถแข่ง Hybrid ที่ทรงพละกำลังและมีกำลังเครื่องยนต์สูงสุดถึง 1000 แรงม้า ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นถึงการพัฒนาเพื่อวิศวกรรมยานยนต์ชั้นเยี่ยมนั่นเอง
ทุกองค์ประกอบที่ 919 ไฮบริด (919 Hybrid) ถูกเตรียมพร้อมอย่างดีสำหรับการ Pre-test อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม และเมื่อการแข่งขันเริ่มต้นในอีก 13 วันต่อมา ทีมงานทั้ง 120 คน รวมถึงผู้สื่อข่าวกว่า 2,500 คนจาก 49 ประเทศ และผู้เข้าชมการแข่งขันกว่า 270,000 คนจะได้รับชมอย่างเต็มอิ่ม
Fritz Enzinger รองประธานบริหารของการแข่งประเภท LMP1 คือผู้นำในการจัดงานและเตรียมการต่างๆ โดยมีAndreas Seidl เป็นผู้ช่วยดูแล “Space Station” คือศูนย์ให้ข้อมูลต่างๆ ซึ่งจะตั้งอยู่ทางด้านหน้าโรงรถ ส่วนAmiel Lindesay คือหัวหน้าทีมงานเป็นผู้ช่วยของ Seidl ในเรื่องการปฎิบัติการ ซึ่งเขาจะทำการสั่งการช่างเทคนิคทั้ง 19 คนผ่านวิทยุสื่อสาร และทำงานร่วมกับวิศกรผู้ดูแลการแข่งขัน เขาจะเป็นผู้แจ้งเกี่ยวกับยางชุดใดบ้างที่ต้องทำการเปลี่ยน หรือต้องการน้ำมันเท่าไหร่ และทุกๆ อย่างที่ต้องทำระหว่างรถวิ่งเข้า Pit Stop เขาจะทำการติดต่อกับรถโดยวิทยุสื่อสาร รวมถึงติดต่อวิศวกรโดยผ่านช่อง Pit และช่อง “Interkomm” โดย Seidl จะเป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง ตั้งแต่ รับข้อคิดเห็นจากนักแข่ง เรื่องของเทคนิคต่างๆ ของรถ ประเภทของยาง กลยุทธ์การเข้า Pit Stop และค้นหาข้อมูลของสภาพอากาศ หรือข้อมูลของคู่แข่ง เขาจะต้องคิดและทำงานอย่างหนัก หาข้อมูลจากหลายๆ ฝ่าย และทำการตัดสินใจ ซึ่งเขาได้ตระหนักถึงหน้าที่ที่สำคัญอย่างยิ่งของเขาและได้กล่าวไว้ว่า “การที่จะให้รถทั้ง 3 คันทำงานร่วมกันคือสิ่งที่ท้าทายสำหรับพวกเรา การแข่งขันที่ Spa ในครั้งนี้ทำให้พวกเราได้รับรู้และสัมผัสถึงการแข่งขันอย่างแท้จริง พวกเราทำการทดสอบรถถึง 30 ชั่วโมง เพื่อทำการประเมินให้ได้มากที่สุด แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การแข่งขัน Le Mans นี้ก็คือการแข่งขัน Le Mans ที่ยากเกินจะคาดเดา และหากไม่มีทีมงานที่มีฝีมือและมีประสบการณ์แบบนี้ คุณจะไม่สามารถอยู่ในการแข่งขันได้อย่างแน่นอน”
วิศวกรการแข่งขันจะนั่งอยู่ที่ประจำของพวกเขาที่ Pit wall โดยมีหน้าจอแสดงผลถึง 6 จออยู่ทางด้านหน้าให้ติดตาม และมีเพียงวิศวกรการแข่งขันที่จะได้พูดคุยสื่อสารกับนักแข่งผ่านวิทยุสื่อสาร และมีการตั้งค่าช่องการสื่อสารและ interkomm โดยมี Seidl เป็นวิศวกรและทีมงานที่จะสื่อสารกับ Lindesay อยู่ตลอด และมีเพียงหนึ่ง stand สำหรับรถหนึ่งคันที่ pit รถต้นแบบเบอร์ 17 สีแดง ขับโดย Timo Bernhard, Brendon Hartley และ Mark Webber ส่วนรถสีดำเบอร์ 18 จะขับโดย Romain Dumas, Neel Jani และ Marc Lieb คันสีขาวเบอร์ 19 จะขับโดย Earl Bamber, Nico Hülkenberg และ Nick Tandy ส่วนวิศวกรการแข่งขันผู้ดูแลรถเบอร์ 17 คือ Kyle Wilson-Clarke (ชาวอังกฤษ) รถเบอร์ 18 จะมี Mathieu Galoche (ชาวฝรั่งเศส) เป็นผู้ดูแล ส่วนคันสุดท้ายเบอร์ 19 ดูแลโดย Stephen Mitas (ชาวออสเตรเลีย) ซึ่งเขาคือหัวหน้าทีมวิศวกรการแข่งขันสำหรับ 919 ไฮบริด (919 Hybrid) ทั้ง 3 คันอีกด้วย
แต่ละคันจะมีทีมงานที่ดูแลทั้งหมด 23 คนต่อคัน ซึ่งจะมี วิศวกรการแข่งขัน, วิศวกรผู้ดูแลรถ, วิศวกรผู้วิเคราะห์ข้อมูล, วิศวกรไฮบริด, วิศวกรเครื่องยนต์, วิศวกรระบบของรถ, วิศวกร 12V, วิศวกร Soft-ware, วิศวกร engine application, วิศวกรกล่องเกียร์, วิศวกรทางหลักอากาศพลศาสตร์, และช่างเทคนิคอันดับ 1, ช่างเทคนิคสำหรับเพลาหน้า, ช่างเทคนิคสำหรับเพลาหลัง, ช่างเทคนิคเครื่องยนต์, ช่างเทคนิคสำหรับกล่องเกียร์, ช่างเทคนิคสำหรับเบรก, ช่างไฟ, ช่างเติมน้ำมัน, ช่างดูแลยางรถยนต์, ช่าง Storeman และช่างที่ดูแลท่อลม Air hose และ Fuel bowser รวมถึงช่างสำรองอีก 1 ท่าน โดยรวมแล้ววิศวกรและช่างชายรวม 68 คนและวิศวกรหญิง 1 คน (สำหรับวิศวกรฝ่ายกล่องเกียร์) คือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลรถแข่งที่เหนือชั้นเหล่านี้
ด้วยกฎและระเบียบกว่า 90 หน้าสำหรับ Pit Stop ได้ถูกนำมาใช้ โดยความเร็วที่สามารถใช้ได้ใน Pit Stop นั้นต้องไม่เกิน 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง และรถต้องไม่จอดให้ห่างจากกำแพงหรือเส้นบอกความเร็วที่กำหนดสำหรับพื้นที่การทำงานอย่างน้อย 50 เซนติเมตร และห้ามไม่ให้มีสมาชิกเกิน 4 คนในการนำพารถเข้าไปในโรงรถหากจำเป็น มิเช่นนั้นจะมีการลงโทษ และที่ Pit Stops แห่งนี้ จะต้องทำการดับเครื่องยนต์ในระหว่างการเติมน้ำมัน (ความจุถังคือ 68.5 ลิตร) ล้อของรถต้องสัมผัสอยู่กับพื้น สำหรับเส้นทางสนามที่ยาวไกลอย่าง Le Mans แห่งนี้ 919 ไฮบริด (919 Hybrid) สามารถใช้น้ำมันได้มากสุดที่ 4.76 ลิตรต่อรอบสนาม ซึ่งจะสามารถวิ่งได้ไกลถึง 14-15 รอบสนาม โดยช่างเทคนิค 2 ท่านจะได้รับอนุญาตให้ทำการเติมน้ำมัน อีกหนึ่งท่านต้องเตรียมความพร้อมสำหรับถังดับเพลิงและเตรียมพร้อมที่จะตัดวาล์วทันทีหากจำเป็น ในขณะเดียวกัน ช่างเทคนิค 2 คนจะสามารถทำความสะอาดกระจกหน้ารถ ไฟหน้ากระจกมองข้างและกล้องที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
การเปลี่ยนผู้ขับขี่สามารถทำได้ระหว่างเการเติมน้ำมัน และพอมีเวลาสำหรับการจบการวิ่งในระหว่างเข้า Pit Stop เพื่อการเติมน้ำมัน ดังนั้นผู้ขับขี่สามารถเปลี่ยนได้พร้อมกับการเปลี่ยนยางใหม่ด้วยเช่นกัน
เมื่อทำการใส่ Jack เข้าไปเพื่อยกรถ สำหรับการเปลี่ยนยางนั้นสามารถทำได้โดยช่าง 2 คน และมีเพียงปืน wheel gun เพียงอันเดียวที่สามารถใช้ได้ ส่วน wheel gun อันที่ 2 และช่างอีก 2 คนจะเข้ามาช่วยหากมีอะไรเกิดขึ้น และนักแข่งควรจะออกจาก pit stop ด้วยความรวดเร็วและกลับสู่โรงรถอีกครั้งเพื่อเปลี่ยนยางใหม่ การเปลี่ยนยางที่สมบูรณ์แบบของปอร์เช่ จะเกิดขึ้นเพียงในเวลา 19 วินาทีเท่านั้น และหากเป็นเวลากลางคืน ทางทีมงานจะเปลี่ยนให้เร็วที่สุดเช่นกัน นักแข่งจะอยู่ในรถเกือบๆ 4 ชั่วโมงซึ่งมากกว่าการแข่งขัน Formula One Grands Prix แบบระยะไกลเสียอีก
ในกรณีจำเป็นสามารถมีผู้ช่วยเพิ่มเติมในการเปลี่ยนการเก็บข้อมูลหรือการ Fuel Flow metre และกรณีทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องกลับเข้าไปในโรงรถก่อนนักแข่งจะสตาร์ทรถอีกครั้ง ซึ่งจะต้องมีเพียงนักแข่งเท่านั้น หากมีปัญหาทางเทคนิคเกิดขึ้นในสนาม เขาจะสามารถใช้ได้แค่ Tool Kit แบบพื้นฐานที่อยู่ในรถเท่านั้นที่จะสามารถช่วยเขาได้
ปอร์เช่ ประเทศไทย โดย บริษัท เอเอเอส ออโต้ เซอร์วิส จำกัด ผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ ปอร์เช่อย่างเป็นทางการแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยเท่านั้น ที่มีศูนย์บริการมาตรฐานและทีมวิศวกรที่มากประสบการณ์ ซึ่งได้รับการฝึกอบรมจากทางโรงงานปอร์เช่ประเทศเยอรมนีโดยตรง พร้อมการันตีด้วยรางวัล Porsche Service Excellence Award และ The Highest Score of Porsche Service Support Mission 2014 จากการตรวจสอบคุณภาพประจำปี รวมถึงทีมวิศวกรที่ได้รับการรับรองและผ่านการทดสอบจากโรงงานในระดับเหรียญทอง(Zertifizierter Porsche Techniker – Gold Expert) ซึ่งเป็นมาตรฐานสูงสุดของปอร์เช่คอยให้บริการรถปอร์เช่ของท่านตามนโยบายหลักของบริษัทที่ว่า “เอเอเอส ดูแลทั้งรถและคุณ” หรือ “AAS Looking after YOU and your CAR” สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับรถยนต์ปอร์เช่ได้ที่แผนกขาย โทร. 02-522-6655 ต่อ 101-103 หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ www.porsche.co.th