กรุงเทพฯ--9 มิ.ย.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. เผย 10 ข้อพิจารณา เรียนมหาวิทยาลัยทางเลือก หลังการประกาศผลแอดมิชชั่น ประกอบด้วย
1) หลักสูตรได้รับการรับรองจากต้นสังกัด
2)ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
3)ผลการประเมินภายในจากต้นสังกัด
4)ผลการประเมินคุณภาพภายนอกจาก สมศ.
5)คณาจารย์ประจำหลักสูตรเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ เป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการและปฏิบัติการสอนจริง
6)อัตราส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานสากล
7)จำนวนบัณฑิตที่จบการศึกษาเทียบกับจำนวนนักศึกษาแรกเข้าและออกกลางคัน
8)จำนวนบัณฑิตที่สามารถสอบผ่านใบประกอบวิชาชีพ
9)ความสำเร็จของศิษย์เก่า จบแล้วมีงานทำ
10)สถานศึกษามีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับ
โดยนักเรียนและผู้ปกครองสามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลของแต่ละมหาวิทยาลัย โดย สมศ. ได้รวบรวมข้อมูลมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชนจากทั่วประเทศ โดยเข้าไปที่ www.onesqa.or.th จากนั้นเลือกผลการประเมินคุณภาพภายนอก และพิมพ์ชื่อสถานศึกษาที่ต้องการข้อมูล จากนั้นจะปรากฏผลประเมินเป็นไฟล์พีดีเอฟ (PDF) เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้ปกครอง และนักเรียนที่ต้องการจะศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย
สำหรับคณาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไป สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือเข้าไปที่ www.onesqa.or.th
ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) หรือ สมศ. กล่าวว่า ในแต่ละปีจะมีนักเรียนเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งมีมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ 260 แห่ง และมีจำนวนคณะทั้งหมด 1,171 คณะ โดยในปี 2557 ที่ผ่านมา มีผู้สมัครจำนวน 99,767 คน แอดมิชชันติด มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ จำนวน 80,880 คน หลุดแอดมิชชั่น 18,887 คน และในปีปัจจุบัน มีผู้สมัครจำนวน 151,838 แอดมิชชันติด มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ จำนวน 91,813 คน หลุดแอดมิชชั่น 60,025 คน ซึ่งหลังการประกาศผลสอบแอดมิชชั่น ก็มีทั้งเด็กๆ ที่สมหวัง แล้วก็มีบางส่วนที่พลาดหวังในมหาวิทยาลัยที่ใฝ่ฝัน ดังนั้น สมศ. จึงแนะนำ 10 ข้อ พิจารณาเรียนมหาวิทยาลัยทางเลือก หลังประกาศผลแอดมิชชั่น ก่อนตัดสินใจเลือกสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษา ดังนี้
1. หลักสูตรได้รับการรับรองจากต้นสังกัด
2. ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
3. ผลการประเมินภายในจากต้นสังกัด
4. ผลการประเมินคุณภาพภายนอกจาก สมศ.
5. คณาจารย์ประจำหลักสูตรเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ เป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการและปฏิบัติการสอนจริง
6. อัตราส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานสากล เช่น คณะแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล และเภสัช อัตราส่วนอาจารย์ต่อศิษย์ต้องอยู่ที่ 1 ต่อ 8 เป็นต้น หรือคณะนิติศาสตร์ วารสารศาสตร์ คณะบริหาร และคณะบัญชี อัตราส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาต้องอยู่ที่ 1 ต่อ 25
7. จำนวนบัณฑิตที่จบการศึกษาเทียบกับจำนวนนักศึกษาแรกเข้าและออกกลางคัน
8. จำนวนบัณฑิตที่สามารถสอบผ่านใบประกอบวิชาชีพเทียบกับบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา
9. ความสำเร็จของศิษย์เก่า จบแล้วมีงานทำ
10. สถานศึกษามีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับ
ทั้งนี้ นักเรียนและผู้ปกครองสามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลของแต่ละมหาวิทยาลัย โดย สมศ. ได้ทำการรวบรวมข้อมูลมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชนจากทั่วประเทศ โดยเข้าไปที่ www.onesqa.or.th จากนั้นเลือกผลการประเมินคุณภาพภายนอก และพิมพ์ชื่อสถานศึกษาที่ต้องการข้อมูล จากนั้นจะปรากฏผลประเมินเป็นไฟล์พีดีเอฟ (PDF) เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้ปกครอง และนักเรียนที่ต้องการจะศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ศ.ดร.ชาญณรงค์ กล่าวทิ้งท้าย
สำหรับคณาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไป สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือเข้าไปที่ www.onesqa.or.th