AEC กับการเตรียมความพร้อมของคนไทย รัฐบาลพร้อม? ประชาชนพร้อม?: กรณีศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชนทั่วประเทศ

ข่าวทั่วไป Wednesday June 17, 2015 14:34 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--17 มิ.ย.--ชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง AEC กับ การเตรียมความพร้อมของคนไทย รัฐบาลพร้อม? คนไทยพร้อม? : กรณีศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชนทั่วประเทศจำนวนทั้งสิ้น 1,077 ตัวอย่าง โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็นทางสถิติจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลแกนนำชุมชนทั่วประเทศ รวบรวมโดย ชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน ดำเนินโครงการในวันที่ 12-14 มิถุนายน 2558 ผลสำรวจการติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่า แกนนำชุมชน ร้อยละ 55.6 ระบุติดตามทุกวัน/เกือบทุกวัน ในขณะที่ร้อยละ 22.5 ระบุติดตาม 3-4 วัน/สัปดาห์ ร้อยละ 9.2 ระบุติดตาม 1-2 วัน/สัปดาห์ ร้อยละ 9.1 ระบุน้อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง และร้อยละ 3.6 ระบุไม่ได้ติดตามเลย คณะผู้วิจัยได้เริ่มต้นจากการสอบถามแกนนำชุมชนถึงความสนใจติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประเทศในกลุ่มอาเซียน ผลการสำรวจพบว่า แกนนำชุมชนร้อยละ 2.1 ระบุมีความสนใจติดตามน้อยที่สุด ร้อยละ 9.6 ระบุน้อย ในขณะที่มากกว่าครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 60.2 ระบุมีความสนใจในระดับปานกลาง ร้อยละ 23.5 ระบุสนใจมาก และร้อยละ 4.6 ระบุสนใจมากที่สุด ทั้งนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงการทราบข่าวที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในช่วงเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้นั้น ผลการสำรวจพบว่า แกนนำชุมชนเกือบร้อยละร้อย คือร้อยละ 96.0 ระบุทราบข่าวแล้ว ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 4.0 ระบุยังไม่ทราบ/เพิ่งทราบ ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ คือ คณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงประเด็นคุณลักษณะที่เป็นจุดอ่อน-จุดแข็งของประเทศไทยในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พบว่าในประเด็น ความง่ายในการเข้าถึงวัตถุดิบในการลงทุน นั้นแกนนำชุมชน ร้อยละ 50.0 ระบุเห็นว่าเป็นจุดอ่อน ในขณะที่ร้อยละ 50.0 เช่นเดียวกันที่เห็นว่าประเด็นดังกล่าวเป็นจุดแข็ง สำหรับในด้าน ความเพียงพอของแรงงานในภาคการผลิต พบว่าแกนนำชุมชนร้อยละ 59.1 เห็นว่าเป็นจุดอ่อน ในขณะที่ร้อยละ 40.9 ระบุเห็นว่าเป็นจุดแข็ง ด้าน คุณภาพของแรงงาน ทักษะ ความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ พบว่าแกนนำชุมชนร้อยละ 49.2 เห็นว่าเป็นจุดอ่อน ในขณะที่ร้อยละ 50.8 ระบุเห็นว่าเป็นจุดแข็ง ด้าน คุณภาพของสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานภายในประเทศ พบว่าแกนนำชุมชนร้อยละ 40.8 เห็นว่าเป็นจุดอ่อน ในขณะที่ร้อยละ 59.2 ระบุเห็นว่าเป็นจุดแข็ง ด้าน คุณภาพและความสะอาดปลอดภัยด้านอาหาร พบว่าแกนนำชุมชนร้อยละ 36.7 เห็นว่าเป็นจุดอ่อน ในขณะที่ร้อยละ 63.3 ระบุเห็นว่าเป็นจุดแข็ง ด้าน การมีมาตรการส่งเสริมการลงทุนที่ดีและน่าสนใจ พบว่าแกนนำชุมชนร้อยละ 34.4 ระบุเห็นว่าเป็นจุดอ่อน ในขณะที่ร้อยละ 65.6 เห็นว่าเป็นจุดแข็ง ด้าน คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน พบว่าแกนนำชุมชน ร้อยละ 45.6 ระบุเห็นว่าเป็นจุดอ่อน ในขณะที่ร้อยละ 54.4 เห็นว่าเป็นจุดแข็ง ด้าน โอกาสเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ พบว่าแกนนำชุมชนร้อยละ 40.7 เห็นว่าเป็นจุดอ่อน ในขณะที่ร้อยละ 59.3 ระบุเห็นว่าเป็นจุดแข็ง ด้านมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ดีและน่าสนใจ พบว่าแกนนำชุมชนร้อยละ 19.1 เห็นว่าเป็นจุดอ่อน ในขณะที่ร้อยละ 80.9 ระบุเห็นว่าเป็นจุดแข็ง ด้านเสถียรภาพและความมั่นคงทางการเมืองของประเทศ พบว่าแกนนำชุมชนร้อยละ 49.4 เห็นว่าเป็นจุดอ่อน ในขณะที่ร้อยละ 50.6 ระบุเห็นว่าเป็นจุดแข็ง และด้าน การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีของประชาชน/คนในท้องถิ่น พบว่าแกนนำชุมชนร้อยละ 23.2 เห็นว่าเป็นจุดอ่อน ในขณะที่ร้อยละ 76.8 ระบุเห็นว่าเป็นจุดแข็ง ตามลำดับ นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของแกนนำชุมชนต่อไปถึงความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศไทยและคนไทย ผลการสำรวจพบว่า แกนนำชุมชนร้อยละ 42.0 ระบุคิดว่าประเทศไทยพร้อมทุกด้านแล้ว อย่างไรก็ตามแกนนำชุมชนประมาณ 1 ใน 3 คือร้อยละ 36.2 ระบุคิดว่ารัฐบาลพร้อมแต่ประชาชนยังไม่พร้อม และร้อยละ 21.8 ระบุคิดว่าไม่พร้อมเลยทั้งรัฐบาลและประชาชน ประเด็ญสุดท้าย เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามแกนนำชุมชนถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ผลการสำรวจพบว่า แกนนำชุมชนร้อยละ 27.7 ระบุรู้สึกตื่นเต้นและเฝ้ารอ ในขณะที่ร้อยละ 39.6 ระบุรู้สึกกังวล เพราะไม่รู้ว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง และร้อยละ 32.7 ระบุเฉยๆ ไม่ได้รู้สึกอะไร คุณลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม แกนนำชุมชนร้อยละ 85.8 เป็นเพศชาย ในขณะที่ร้อยละ 14.2 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 6.0 มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ร้อยละ 35.9 ระบุอายุ 40-49 ปี และร้อยละ 58.1 ระบุอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตามระดับการศึกษาที่สำเร็จมาชั้นสูงสุดพบว่า ร้อยละ 34.6 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น/ต่ำกว่า ร้อยละ 45.1 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ป.ว.ช. ร้อยละ 7.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา/ป.ว.ส. ร้อยละ 12.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ตามลำดับ แกนนำชุมร้อยละ 71.1 มีอาชีพประจำคือเกษตรกร ร้อยละ 15.7 ระบุประกอบธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย ในขณะที่ร้อยละ13.2 ระบุมีอาชีพอื่นๆ อาทิ รับจ้าง ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และไม่ได้ประกอบอาชีพใดๆ ทั้งนี้เมื่อพิจารณารายได้ต่อเดือนของครอบครัวพบว่า แกนนำชุมชนร้อยละ 32.7 ระบุมีรายได้ครอบครัวไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 25.0 ระบุมีรายได้ครอบครัว 10,000–15,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 20.5 ระบุมีรายได้ 15,001-20,000 บาทต่อเดือน ในขณะที่แกนนำชุมชนร้อยละ 21.8 ระบุมีรายได้ครอบครัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน ตามลำดับ
แท็ก community   APP  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ