กรุงเทพฯ--24 มิ.ย.--Noname IMC
แพทย์ชี้มะเร็งปอดรักษาหายได้ หากตั้งใจจริงความก้าวหน้าทางการแพทย์ของกรใช้ยาเคมีบำบัดเพื่อการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
มะเร็งเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยไปเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะมะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่พบได้มากในประเทศไทยและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้ง 2 เพศอย่างต่อเนื่องโดยพบมากเป็นอันดับ 2 ในเพศชายอันดับ 4 ในเพศหญิง ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยมะเร็งปอดรายใหม่เฉลี่ยประมาณ 18,000-20,000 รายต่อปี และเป็นมะเร็งที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 70% จากผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด เนื่องจากมะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่รักษาให้หายขาดยาก และผู้ป่วยมักจะเข้ารับการรักษาในระยะท้ายๆ แล้วแต่ไม่ว่าระยะใดก็มีหนทางในการดูแลรักษาและส่งผลให้มีชีวิตที่ยืนยาวหรือดำรงชีวิตได้ดีขึ้นเมื่อได้รับการวินิจฉัยระยะแรกและมีการรักษาที่ถูกต้อง
รศ.นพ.วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์ นายกสมาคมมะเร็งวิทยาสมาคมแห่ง ประเทศไทย และเลขาธิการศูนย์โรคมะเร็งครบวงจรแห่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์กล่าวว่า มะเร็งปอดพบมากในผู้สูงอายุ เฉลี่ยประมาณ 45-60 ปี ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดเนื่องจากในบุหรี่มีสารก่อมะเร็งอยู่หลายชนิด ยิ่งสูบนานก็ยิ่งมีความเสี่ยงสูงปัจจุบันแม้จะมีการรณรงค์งดสูบบุหรี่มาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังพบว่าผู้ป่วยมะเร็งปอดมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เพราะนอกจากการสูบบุหรี่แล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปอดได้ และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เช่น บุหรี่มือสอง (ผู้ที่อยู่ภายในแวดล้อมของคนสูบบุหรี่) มลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ผู้คนหนาแน่น หรือเขตอุตสาหกรรม ควันไฟจากการเผาขยะการเผาป่าหรือกิจการทางการเกษตร เป็นต้น
มะเร็งปอดตรวจพบในระยะเริ่มแรกได้ยากเพราะอาการจะไม่ปรากฏในช่วงแรกดังนั้น ผู้ที่สูบบุหรี่จัด อย่างน้อย 1 ซองบุหรี่ต่อวันติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 30 ปี ถือเป็นผู้มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งปอด ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดสม่ำเสมออย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพราะหากตรวจพบในระยะที่ เริ่มแรก จนถึงระยะที่ 3 เมื่อได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จะมีโอกาสสูงที่จะสามารถหายเป็นปกติได้ ตรงกันข้าม ผู้ป่วมะเร็งปอดที่มีการแพร่กระจายของโรคแล้ว หากไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิตภายในเวลา 6 เดือนทั้งนี้ สาเหตุที่ผู้ป่วยไม่ยอมเข้ารับการรักษาเพราะท้อถอยหมดสิ้นกำลังใจ และกลัวผลข้างเคียงจากการรักษา หรือแพ้ยาเคมีบำบัด เช่น ปวดท้อง อาเจียน อ่อนเพลีย ผมร่วง ฮอร์โมนเปลี่ยน จนผู้ป่วยบางรายไม่ยอมรักษาต่อและเกิดการสูญเสียชีวิตในที่สุด
“ผู้ป่วยมะเร็งปอดหากได้รับการตรวจรักษาอย่างถูกวิธี จะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและยืนยาวขึ้นได้ เพราะการรักษามะเร็งปอดในปัจจุบันมีการพัฒนากว่าเมื่อก่อนมากและมีอยู่หลายวิธี ได้แก่ การผ่าตัดเป็นวิธีการที่ได้ผลดีที่สุดหากตรวจพบในระยะเริ่มแรก ในปัจจุบัน มีเทคนิกการผ่าตัดส่องกล้อง ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว การฉายแสงด้วยเครื่องฉายรังสีที่มีความแม่นยำสูง ควบคุมด้วยเคร่องประมวลผลคอมพิวเตอร์ การใช้ยาเคมีบำบัด และการใช้ยาแบบที่ให้ผลเฉพาะจุดซึ่งเป็นยาที่ออกฤทธิ์ทำลายเฉพาะเซลล์มะเร็งหรือtargeted therapyยาเคมีบำบัดที่ใช้รักษาโรคมะเร็งปอดในปัจจุบันมีการพัฒนาตัวยาเพื่อลดผลข้างเคียงที่เป็นอุปสรรคต่อการรักษา อาทิเช่น เส้นเลือดอักเสบ ผมร่วง ทำให้มีผลข้างเคียงน้อยลงหรือไม่มีเลย ซึ่งทำให้การรักษาโรคมะเร็งมีประสิทธิภาพสูขึ้น ผลข้างเคียงลดลง”รศ.นพ.วิโรจน์กล่าวและเสริมว่า
หลังการรักษามะเร็งปอดระยะเริ่มต้นในช่วง 5 ปีแรก แพทย์จะมีการเฝ้าระวัง และติดตามผลการรักษา เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยจะหายขาด หรือตรวจพบโรคที่กลับเป็นซ้ำได้เร็วขึ้น โดยผู้ป่วยจะมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา เพื่อทำให้มีสุขภาพแข็งแรงขึ้น ได้แก่ เลิกการสูบบุหรี่ ทนอาหารที่สารอาหารครบถ้วนสมบูรณ์ ออกกำลังกายและพักผ่อนให้พอเพียง จะช่วยให้มีสุขภาพแข็งแรง ต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์บริษัท คอมมูนิเคชั่นแอนด์มอร์ จำกัด
คุณบุษบา สุขบัติ (บุษ) / คุณชลียาพันธุ์ นุ่นสวัสดิ์(กิ๊ฟฟู่)โทร. 02 718 3800-5 ต่อ 141 / 144