กรุงเทพฯ--24 มิ.ย.--โฟร์ดี คอมมิวนิเคชั่น
ทีซีซี แลนด์ แอสเสท เวิรด์ ประเดิมงานแรกด้วยการประกาศปรับโฉมเมืองไอที "ดิจิตอล เกตเวย์" สู่ "เซ็นเตอร์พอยท์ ออฟ สยามสแควร์" โดยได้ทำการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 19 มิ.ย. นี้ ภายใต้คอนเซปต์ทางการตลาด "Centerpoint of Siam Square, your new standpoint...สะท้อนตัวตนคนรุ่นใหม่" เจาะกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มวัยเริ่มต้นการทำงาน
นางสาวเปรมินทร์ เลอนรเสฏฐ์ ผู้จัดการทั่วไป เซ็นเตอร์พอยท์ ออฟ สยามสแควร์ เปิดเผยว่า ล่าสุด ทีซีซี แลนด์ แอสเสท เวิรด์ ส่วนงานรีเทลได้ใช้งบประมาณกว่า 100 ล้านบาท ปรับโฉมจาก "ดิจิตอล เกตเวย์" สู่ "เซ็นเตอร์พอยท์ ออฟ สยามสแควร์" เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของกำลังซื้อ ณ ปัจจุบันในย่านดังกล่าว โดยคาดการณ์ว่าภายหลังจากการปรับโฉมใหม่ในครั้งนี้จะสามารถเพิ่มปริมาณคนเข้าศูนย์ได้มากขึ้นเป็นเท่าตัว โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 40,000 คนต่อวันในช่วงวันธรรมดา และพุ่งสูงถึง 70,000 คนในช่วงสุดสัปดาห์ โดยสัดส่วนรายได้หลักยังอยู่ที่รายได้จากค่าเช่าพื้นที่อยู่ที่ 80% และการจัดกิจกรรมรวมทั้งพื้นที่สื่อโฆษณาภายในศูนย์อยู่ที่ 20% โดยประมาณ
"ปัจจุบันเรามีพื้นที่ให้เช่ารวม 4,600 ตารางเมตร สามารถปล่อยเช่าพื้นที่ไปได้กว่า 95% เฉลี่ยค่าเช่าอยู่ที่ 2,800 -3,200 บาทต่อตารางเมตร โดยเรายังคงเปิดรับแบรนด์หรือธุรกิจใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับคอนเซปต์ทางการตลาดใหม่ของศูนย์ ปัจจุบันเรามีร้านค้าภายในศูนย์รวมกว่า 100 ร้านค้า ซึ่งเป็นแบรนด์ชั้นนำและแบรนด์ใหม่จากทั้งในและต่างประเทศ ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและบริการความงาม, สินค้าแฟชั่น, แอคเซสเซอร์รี่, สินค้านำสมัย และร้านอาหารและเครื่องดื่ม อาทิ Innisfree เครื่องสำอางจากเกาะเชจูประเทศเกาหลี ที่เน้นความเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ, Beautrium รวบรวมผลิตภัณฑ์ความงามสุดทันสมัยหลากหลายยี่ห้อมารวมไว้ในที่เดียว, Faceshop เครื่อง สำอางจากเกาหลี ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ สร้างสรรค์เพื่อผิวชาวเอเชียโดยเฉพาะ, Croissant Taiyaki ขนมรูปปลาสอดไส้ชื่อดังยอดฮิตจากญี่ปุ่น ทำจากแป้งครัวซองต์, Kyochon ไก่ทอดยอดนิยมต้นตำรับความอร่อย จากเกาหลี, True ศูนย์รวมสินค้าและบริการของทรูแบบครบวงจร และGlowfish บริการออฟฟิศให้เช่ารูปแบบใหม่เน้นสิ่งอำนวยความสะดวกแบบครบครัน" นางสาวเปรมินทร์ เลอนรเสฏฐ์ กล่าว
โดยนางสาวเปรมินทร์ยังได้วิเคราะห์ถึงกลุ่มเป้าหมายของ เซ็นเตอร์พอยท์ ออฟ สยามสแควร์ ว่า "เรามีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนคือกลุ่มวัยรุ่นและวัยคนเริ่มทำงานช่วงอายุ 15 ถึง 30ปี เป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษาและกลุ่มคนทำงานที่เพิ่งผ่านพ้นวัยเรียนมาไม่นาน ซึ่งล้วนแต่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีตัวตน โดยกลุ่มตัวตนคนรุ่นใหม่ที่ว่านี้ มีพฤติกรรมที่เหมือนกัน คือ ชอบเล่น Social ทั้งอัพเดตข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นรอบข้างตัวเอง เรื่องของตัวเอง รวมถึงการสื่อสาร, เรียนรู้เร็วเกี่ยวกับเทคโนโลยี Technology addict, Selfie ชื่นชอบที่จะบอกเล่าเรื่องราวของตัวเองผ่านทั้งทางภาพถ่ายและข้อความเพื่อแสดงจุดยืนและตัวตน, ชัดเจนใน Character แสดงออกผ่านทาง Appearance ของตนอย่างตรงไปตรงมา ส่วนใหญ่มักจะคำนึงถึงการเป็นที่ยอมรับจึงพยายามดูแลตัวเองให้ดูดีในวัยของตน, ให้ความสำคัญกับคำว่า "เพื่อน" เพราะเพื่อนคือกลุ่มคนสำคัญในช่วงชีวิต การนัดพบ ช้อปปิ้ง แฮงเอาค์ สังสรรค์กับเพื่อนเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจที่สำคัญ และการต้องการเป็นผู้อยู่ในกระแสทันสมัย (follower) หรือความต้องการเป็น Influencer ผู้นำเทรนด์"
ทั้งนี้ เซ็นเตอร์พอยท์ ออฟ สยามสแควร์ ถูกสร้างสรรค์และพัฒนาขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อตอบโจทย์และสะท้อนถึงความเป็นตัวตนของรุ่นใหม่ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการด้านต่างๆ ดังนี้
Connect: การเชื่อมต่อและสื่อสารกันง่ายได้ทุกที่ทุกเวลา การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร รวดเร็ว
ทุกคนเชื่อมต่อถึงกันหมดด้วยยุคของสื่อ Social network
Convenience: สะดวกสบาย เข้าถึงง่าย ไม่ยุ่งยาก
Clear: ชัดเจน
Chic & Cool: รวมความชิค ความเก๋ ความล้ำสมัย
เกี่ยวกับมุมมองต่อภาพรวมการแข่งขันด้านธุรกิจรีเทลในย่านสยามสแควร์นั้น นางสาวเปรมินทร์ เลอนรเสฏฐ์ นำเสนอความเห็นเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวดังนี้ "เราไม่ได้มองว่าการปรับคอนเซปต์ทางการตลาดของศูนย์ในครั้งนี้เป็นการเสริมศักยภาพด้านการแข่งขัน แต่เราคิดว่าการขยับครั้งใหญ่ของเราในครั้งนี้ จะสามารถเติมเต็ม สร้างความแปลกใหม่ และเพิ่มสีสันให้กับธุรกิจรีเทลย่านสยามสแควร์ให้คึกคักยิ่งขึ้น เพราะหากวิเคราะห์เชิงลึกแล้วจะพบว่า ศูนย์การค้าในย่านนี้มีแนวทางที่จะเอื้อซึ่งกันและกันเพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่กลุ่มลูกค้า และหากเศรษฐกิจยังอยู่ในช่วงขาขึ้นเช่นนี้ ก็จะทำให้ราคาค่าเช่าเฉลี่ยในย่านดังกล่าวปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 5% ต่อปีอย่างแน่นอน"