กรุงเทพฯ--17 พ.ย.--คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
อินเทล คอร์ปอเรชั่น แนะนำโปรเซสเซอร์ตัวแรกในวงการอุตสาหกรรม
ที่สนับสนุนเทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่น โปรเซสเซอร์ตัวใหม่นี้จะทำให้คอมพิวเตอร์เดสก์ท้อปที่ใช้ในองค์กรธุรกิจมีประสิทธิภาพสูงขึ้นในด้านการจัดการและระบบป้องกันไวรัส
เทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่นทำให้แพลตฟอร์มสามารถรองรับการทำงานของระบบปฏิบัติการ หรือแอพพลิเคชั่นได้มากกว่าหนึ่งชนิดในเวลาเดียวกันโดยมีการแบ่งพาร์ทิชั่นการทำงานที่แยกจากกันเป็นอิสระ ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถปรับแต่งการทำงานของเครื่องให้ตรงกับความต้องการเฉพาะอย่างได้ เช่น บริการด้านการบริหารจัดการระบบไอที และการดูแลรักษาองค์ประกอบต่างๆ ภายในระบบเครือข่าย เป็นต้น
นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์
(ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “การนำเทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่นมาใส่ไว้ในโปรเซสเซอร์ของอินเทล
ทำให้อินเทลเป็นผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยให้นักธุรกิจสามารถจัดการกับปัญหาสำคัญๆ ด้านไอทีที่ประสบในปัจจุบันได้ นักวิเคราะห์ต่างเชื่อมั่นว่าเวอร์ช่วลไลเซชั่น เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีความสำคัญมากที่สุดในทศวรรษนี้ การผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยีของเรากับความทุ่มเทในการพัฒนาอุตสาหกรรม จะส่งผลให้เทคโนโลยีนี้ได้รับการยอมรับจากตลาดในไม่ช้า”
เทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่น จะช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถควบคุมคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ให้มีระบบรักษาความปลอดภัยหรือด้านการจัดการได้โดยไม่รบกวนการทำงานของผู้ใช้เครื่องรายอื่น ขณะเดียวกัน
ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถเข้าไปแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงแอพพลิเคชั่นที่มีความสำคัญได้ นอกจากนี้ องค์กรธุรกิจยังมีระบบป้องกันไวรัสที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นอีกด้วย เนื่องจากเครือข่ายจะมีการกลั่นกรองด้วยพาร์ทิชั่นที่แยกกันก่อนที่จะไปถึงผู้ใช้ทั่วไป การสร้างพาร์ทิชั่นหลายๆ ชุดในคอมพิวเตอร์ช่วยให้ระบบมีความสามารถด้านการจัดการดีขึ้น โดยที่ผู้ใช้ยังคงใช้แอพพลิเคชั่นเดิมๆ ต่อไปได้ในขณะที่ทำการทดสอบและติดตั้งระบบการทำงานใหม่เพิ่มเข้า
คอมพิวเตอร์ที่ใช้อินเทล เพนเทียม โฟร์ โปรเซสเซอร์ เริ่มมีการนำเสนอออกสู่ตลาดแล้วโดย
ผู้ผลิตหลายรายเช่น เอเซอร์ ฟาวเดอร์ เลโนโว และตงฟาง โดยเลโนโวนั้นขณะนี้ได้จัดส่งคอมพิวเตอร์รุ่นที่มีเทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่นให้กับลูกค้าหลายรายเพื่อทดลองแล้ว ส่วนผู้ผลิตคอมพิวเตอร์รายใหญ่อื่นๆ คาดว่าจะวางจำหน่ายคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุนเทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่นในไตรมาสแรกของปี 2549
มร. เซง เวนลิ รองประธาน บริษัท ฟาวเดอร์ เทค เปิดเผยว่า “เทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่น และ Intel Active Management Technology (AMT) ช่วยเพิ่มความสามารถให้กับคอมพิวเตอร์เดสก์ท้อปให้เหนือกว่าการใช้งานธุรกิจทั่วๆ ไป เพื่อสร้างโมเดลรายได้การให้ให้บริการรูปแบบใหม่ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กในประเทศจีนให้สามารถนำเสนอบริการรูปแบบใหม่ๆ เช่น ระบบรักษาความปลอดภัยและการจัดการระบบไอที ให้กับบริษัทต่างๆ ในตลาดในวงกว้างได้ เพื่อเพิ่มรายได้ใหม่ๆ ให้เติบโตมากขึ้น ในฐานะที่เป็นผู้นำตลาดอันดับหนึ่งที่สามารถให้บริการโซลูชั่นเหล่านี้ได้ ทำให้เราได้รับประโยชน์จากการทำงานร่วมกับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในประเทศจีนเพื่อนำเสนอโซลูชั่นของจีนและระบบของประเทศใน
ภูมิภาคนี้ให้กับลูกค้า ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นระบบอีโคซิสเต็มให้คึกคักและผลักดันให้ฮาร์ดแวร์ที่สนับสนุนเทคโนโลยีนี้เป็นที่นิยมในระดับเมนสตรีมต่อไป”
นอกจากนี้ ผู้ให้บริการโซลูชั่นรายใหญ่ๆ ที่สนับสนุนเทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่น เช่น ไมโครซอฟท์ วีเอ็มแวร์ และเซน ยังได้ร่วมมือกับอินเทลเพื่อสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่นในพีซีและเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้โปรเซสเซอร์อินเทลรุ่นใหม่ๆ ต่อไปอีกในอนาคตด้วย
นอกจากการนำเทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่นที่มีระบบป้องกันไวรัสและการจัดการที่นำสมัยระดับโลกสำหรับองค์กรธุรกิจแล้ว อินเทลยังจะนำเสนอนวัตกรรมแพลตฟอร์มระดับพรีเมี่ยมเฟสที่สอง คือ Intel? Active Management Technology (AMT) ซึ่งสนับสนุนเทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่นบนแพลตฟอร์ม Intel Professional Business Platform แบบดูอัลคอร์ และมีชื่อรหัสว่า Averill ในปี 2549 นอกจากนี้ ยังจะมีการนำเทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่นไปใช้กับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กด้วย โดยอินเทลจะเริ่มนำมาใช้กับแพลตฟอร์ม อินเทล เซนทริโน โมบายล์ เทคโนโลยี ในปี 2549
สำหรับในส่วนของเซิร์ฟเวอร์นั้น องค์กรธุรกิจยังจะได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่น เพื่อใช้กับแอพพลิเคชั่นสำหรับเซิร์ฟเวอร์ด้วย เช่น ทำให้ขั้นตอนการทำงานของระบบมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และสามารถรับปริมาณงานได้มากขึ้น เมื่อสัปดาห์ที่แล้วอินเทลประกาศว่าบริษัทได้เริ่มจัดส่งอินเทล
ซีออน โปรเซสเซอร์ เอ็มพี ที่สนับสนุนเทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่นของอินเทลในฮาร์ดแวร์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะเริ่มจัดส่งแพลตฟอร์มที่ใช้อินเทล ไอเทเนียม โปรเซสเซอร์ ที่สนับสนุนเทคโนโลยี
เวอร์ช่วลไลเซชั่นได้ในราวกลางปี 2549
ประโยชน์ของเทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่น ยังครอบคลุมไปถึงกลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อความบันเทิงและกลุ่มผู้ใช้ตามบ้านอีกด้วย ในอนาคตผู้ใช้พีซีตามบ้านจะสามารถสร้าง "พาร์ทิชั่น" ของแต่ละคนแยกออกจากกัน เพื่อแบ่งแยกสภาพแวดล้อมในการทำงานที่แตกต่างกันออกไป เช่น พาร์ทิชั่นที่เปิดสำหรับการค้นหาเว็บไซต์ การใช้งานแอพพลิเคชั่นงานต่างๆ การบันทึกวิดีโอ และการให้บริการตรวจเช็คหรือ
ซ่อมแซมระบบจากผู้ให้บริการซึ่งอยู่ที่อื่น
ราคาและการวางจำหน่าย
คอมพิวเตอร์เดสก์ท้อปที่ใช้อินเทล เพนเทียม โฟร์ โปรเซสเซอร์ 672 และ 662 ที่มีเทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่น ได้เริ่มวางจำหน่ายแล้วโดยผู้ผลิตหลายราย เช่น เอเซอร์ ฟาวเดอร์ เลโนโว และตงฟาง อินเทล เพนเทียม โฟร์ โปรเซสเซอร์ 672 และ 662 จำหน่ายในราคา 605 เหรียญสหรัฐ และ 401 เหรียญสหรัฐ ตามลำดับ เมื่อซื้อในปริมาณ 1,000 ตัว
อินเทลเป็นผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้นำในการผลิตอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์
ส่วนบุคคล ระบบเครือข่าย และอุปกรณ์สื่อสาร ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทอินเทล ได้ที่เว็บไซต์ http://www.intel.com/pressroom
Intel, Intel logo และ ไอเทเนียม เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของอินเทล คอร์ปอเรชั่น หรือสำนักงานสาขาในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ขอสงวนสิทธิ์
* ชื่อและยี่ห้ออื่นอาจถูกอ้างอิงถึงโดยถือเป็นทรัพย์สินของชื่อยี่ห้อนั้นๆ
ติดต่อ:
คุณนฑาห์ บุญประสิทธิ์ คุณกรรภิรมย์ อึ้งภากรณ์
บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
โทรศัพท์: (66 2) 654-0654 โทรศัพท์: (66 2) 627-3501
e-Mail: natha.boonprasit@intel.com e-Mail: kanpirom.ungpakorn@carlbyoir.com.hk--จบ--