กรุงเทพฯ--26 มิ.ย.--อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์
Ø ยอดขายทั่วโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2558
Ø ยอดขายของระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัวของรถ Electronic Stability Program (ESP) สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลและเบนซินเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ในปี 2557
Ø ธุรกิจระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่เติบโตขึ้น 1 ใน 3 ของยอดขายทั้งปี
บ๊อช ผู้นำด้านนวัตกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อชีวิต เผยโมบิลิตี้ โซลูชั่น ซึ่งเป็นภาคธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มธุรกิจบ๊อช ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้หลังมีการปรับอันเนื่องมาจากผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ ยอดขายของภาคธุรกิจนี้โตขึ้นร้อยละ 7 ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2558 โดยในปี 2557 ปริมาณสินค้าของธุรกิจโมบิลิตี้ โซลูชั่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 มากกว่าการผลิตยานยนต์ของโลกถึงสองเท่า ยอดขายต่อหน่วยของระบบต่าง ๆ ที่สำคัญ อาทิ ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก ในส่วนของระบบ ESP ระบบฉีดตรงของเครื่องยนต์แก๊สโซลีนหรือน้ำมันเบนซิล และระบบฉีดตรงของเครื่องยนต์ดีเซล ต่างเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 ซึ่งในอนาคต บ๊อชจะเร่งผลิตและคิดค้นนวัตกรรมโซลูชั่น เพื่อเป็นตัวกำหนดทิศทางการใช้รถยนต์และยวดยานต์อื่นในรูปแบบใหม่ "เรากำลังคิดทบทวนเกี่ยวกับการใช้ชีวิตแบบเคลื่อนที่อยู่ตลอด หรือ โมบิลิตี้ และแนวคิดของการขนส่งรูปแบบใหม่ ที่สามารถเชื่อมโยงจักรยานยนต์ รถไฟ และรถประจำทางเข้าด้วยกัน" ดร. รอล์ฟ บูลันเดอร์ ประธานภาคธุรกิจบ๊อช โมบิลิตี้ โซลูชั่นกล่าวแจกแจงเป้าหมายใหม่ขององค์กร
ล่าสุด บ๊อช ประเทศไทย ร่วมเผยนวัตกรรมในงานแสดงเทคโนโลยียานยนต์อันทันสมัย การประชุมทางวิชาการ "ออโตโมทีฟ ซัมมิท 2015" เพื่อสอดรับกับทิศทางการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยสู่การเป็นศูนย์การผลิตแห่งอาเซียน โดยภายในงานบ๊อชได้นำเสนอโซลูชั่นแห่งการขับเคลื่อนที่พัฒนาในด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของเครื่องยนต์
มร. โจเซฟ ฮอง กรรมการผู้จัดการของบ๊อช ประเทศไทย กล่าวว่า "ธุรกิจโซลูชั่นแห่งการขับเคลื่อนนับเป็นหน่วยธุรกิจที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจของบ๊อชในประเทศไทย ในขณะที่ภาพรวมของตลาดยานยนต์ไทยมีผลประกอบการในหลากทิศทางการส่งออกยานยนต์ของไทยนับว่าส่งสัญญาณที่ดีในช่วงครึ่งปีแรกของ 2558 ซึ่งมีส่วนผลักดันให้เกิดความต้องการในชิ้นส่วนประกอบต่างๆ ที่ผลิตจากในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัวของรถ (electronic stability program: ESP) และระบบเบรกป้องกันล้อล็อก (anti-locking braking system: ABS) ที่ผ่านมา บ๊อชมีความมุ่งมั่นและทุ่มเทในการพัฒนาระบบขับเคลื่อนที่ช่วยเสริมด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการใช้พลังงานมาอย่างต่อเนื่อง ในฐานะผู้ผลิตระดับโลก เรามีความภาคภูมิใจในการตั้งฐานการผลิตระบบเบรกป้องกันล้อล็อก และระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัวของรถในประเทศไทย และเรายังมีความเชื่อมั่นว่าระบบเสริมความปลอดภัยดังกล่าวจะได้การตอบรับให้เป็นมาตรฐานในการติดตั้งยานยนต์ที่ผลิตเพื่อการส่งออกและใช้ภายในประเทศจากนี้ไป"
เทคโนโลยีขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (Electromobility) จะช่วยเสริมประสิทธิภาพให้กับเครื่องยนต์ดีเซลและเบนซิน บนเส้นทางสู่ยุคโซลูชั่นแห่งการขับเคลื่อนนั้น ถือว่าบ๊อชประสบความสำเร็จทั้งทางธุรกิจและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นการพัฒนาใน 3 ด้าน ได้แก่ การขับขี่ ด้วยระบบไฟฟ้า ระบบอัตโนมัติ และเทคโนโลยีการสื่อสารเชื่อมต่อ ในขณะที่ระบบการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ยังคงเป็นประเด็นพื้นฐานในการพัฒนาสู่การขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพในช่วงทศวรรษหน้า เทคโนโลยีของบ๊อชในส่วนของเครื่องยนต์ในอีก 5 ปีถัดจากนี้ไปจะสามารถลดการใช้ระบบเครื่องยนต์ดีเซลได้ถึงร้อยละ 10 และระบบเครื่องยนต์เชื้อเพลิงได้ถึงร้อยละ 20 เลยทีเดียว
การทำงานร่วมกับระบบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจะยิ่งช่วยให้ระบบเครื่องยนต์เผาไหม้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ภายในปี 2568 ร้อยละ 15 ของยานยนต์แบบใหม่จะใช้ระบบส่งกำลังแบบผสมหรือไฮบริด (Hybrid powertrain) ซึ่งจากยอดการสั่งผลิตที่เกี่ยวข้องกับระบบส่งกำลังไฟฟ้าของบ๊อชนั้น มากกว่าร้อยละ 30 คือระบบ hybrid powertrain แบบ plug-in สำหรับยานยนต์ระดับพรีเมี่ยม โดยในการ ขับขี่ทางไกล ยานยนต์เหล่านี้จะสามารถขับเคลื่อนไปได้ด้วยน้ำมันดีเซลหรือเบนซินและยังสามารถขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้าขณะสัญจรในเมืองได้อีกด้วย
การขับขี่ด้วยระบบอัตโนมัติสามารถเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนนได้
ในส่วนของระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ บ๊อชสามารถเพิ่มยอดขายได้ถึง 1 ใน 3 ของตลาดในแต่ละปี และในปีที่ผ่านมานับเป็นครั้งแรกที่บริษัทสามารถขายตัวเซ็นเซอร์กว่า 50 ล้านชิ้นที่ติดตั้งในระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ และในปี 2558 นี้ ยอดขายคาดการณ์ในส่วนของเรดาร์และตัวเซ็นเซอร์วิดีโอจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเหมือนที่เคยปรากฏในปีที่ผ่านมา ปัจจุบัน บ๊อชเป็นผู้นำตลาดโลกสำหรับธุรกิจเรดาร์เซ็นเซอร์ที่พบได้ในระบบต่างๆ เช่น ระบบเตือนก่อนการชน (Adaptive Cruise Control: ACC) เป็นต้น ในปีนี้ บริษัทจะดำเนินการผลิตระบบใหม่อีกหลายระบบไว้ในสายการผลิต ทั้งนี้ ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่จะช่วยผู้ขับขี่ในสภาวะที่ต้องหลบหลีกการจราจรติดขัด หรือแม้กระทั่งการจอดด้วยรีโมทคอนโทรล
จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ในจำนวน 182 ประเทศ ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงเป็นอันดับสองของโลก โดยอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุคิดเป็นร้อยละ 5.1 จากจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด นอกจากนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติของไทยรายงานผู้เสียชีวิตกว่า 6 พันรายบนท้องถนนในช่วงเดือนตุลาคมปี2556 ถึงเดือนกันยายนปี 2557 "ทั้งภาครัฐฯ และเอกชนต่างก็ตระหนักดีว่าอุบัติภัยบนท้องถนนเป็นประเด็นสำคัญของประเทศที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิต โดยได้พยายามปลุกจิตสำนึก และให้ความรู้แก่ผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะในเรื่องของความปลอดภัยบนท้องถนน ทั้งนี้ รถยนต์ที่ได้รับการติดตั้งระบบช่วยขับขี่อัตโนมัติ อาทิ ระบบที่ช่วยเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติ (Predictive Emergency Braking System: PEBS) มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี เราจึงมั่นใจว่าเทคโนโลยีอันล้ำสมัยของเรา สามารถช่วยสนับสนุนให้เกิดมาตรการความปลอดภัย เพื่อให้ท้องถนนในประเทศไทยมีความปลอดภัยเพิ่มขึ้นทั้งต่อผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และผู้คนบนท้องถนนได้อย่างแน่นอน" มร. ฮองกล่าว
ทั้งนี้ นักวิศวกรกว่า 2,000 คนร่วมมือกันคิดค้นและพัฒนาระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ให้กับบ๊อช โดยจำนวนวิศวกรเพิ่มขึ้นจากปี 2556 ถึง 700 คน
การขับขี่ด้วยระบบที่เชื่อมต่อการสื่อสาร หมายถึงภาคธุรกิจการบริการที่กำลังเติบโตขึ้น
อินเตอร์เน็ตจะกลายเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาเทคโนโลยีแห่งการขับเคลื่อนในอนาคต ในปัจจุบัน บางประเทศได้มีการนำเสนอข่าวการจราจรแบบทันเหตุการณ์ อาทิ รายงานอุบัติเหตุ บริเวณที่กำลังมีการก่อสร้าง หรือสภาวะการจราจรติดขัดในทางโค้งข้างหน้า ซึ่งข้อมูลข่าวสารเหล่านี้ล้วนมีความจำเป็นสำหรับระบบปฏิบัติการด้านการขับขี่แบบอัตโนมัติ นอกจากนี้ การขับขี่ที่มีระบบเชื่อมต่อการสื่อสารจะนำไปสู่มิติใหม่แห่งการให้บริการ อาทิ การส่งสัญญาณของหน่วยควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์ electronic control unit (ECU) ซึ่งจะทำหน้าที่พื้นฐานในด้านการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน และช่วยให้ข้อมูลในการประหยัดเชื้อเพลิงได้อีกด้วย
ในขณะเดียวกัน บ๊อชกำลังพัฒนาการเชื่อมต่อในรูปแบบการขนส่งที่หลากหลาย จากที่มร.บูลันเดอร์ กล่าวไว้ โซลูชั่นแห่งการขับเคลื่อนของบ๊อชถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ให้กับระบบการขนส่งหลากรูปแบบ "เรานำเสนอนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ได้มากกว่าโซลูชั่นของรถยนต์ กล่าวคือ โซลูชั่นแห่งการขับเคลื่อนที่ครอบคลุมหลากหลายบริการเพื่อชีวิตคนเมือง"
นอกจากนี้ บ๊อชได้พัฒนาต้นแบบที่สามารถเชื่อมต่อยานยนต์ให้เข้ากับระบบบ้านอัจฉริยะ หรือเรียกได้ว่าเป็นการคิดค้นระบบนำร่องที่เป็นตัวควบคุมระบบปรับอากาศให้บรรยากาศภายในบ้านเย็นสบาย ก่อนที่เจ้าของบ้านจะขับรถกลับมาถึงบ้าน
มร. บูลันเดอร์กล่าวว่า "ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับบ้านหรือในรถยนต์ก็ตาม กล่าวได้ว่า บ๊อชได้สรรค์สร้างเทคโนโลยีเพื่อชีวิต ด้วยความชำนาญการที่หลากหลายของทีมผู้เชี่ยวชาญของเรา ช่วยให้เรามีความเป็นเลิศในการคิดค้นโซลูชั่นแห่งการขับเคลื่อนใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา"