กรุงเทพฯ--29 มิ.ย.--ปตท.
สัปดาห์ ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ลดลง 0.21 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลมาอยู่ที่ 63.55 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) ลดลง 0.34 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลมาอยู่ที่ 61.51 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบเวสท์เท็กซัสฯ (WTI) เพิ่มขึ้น 0.31 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาที่60.20 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ลดลง 3.76 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 82.00 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลลดลง 0.59 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 74.09 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปัจจัยที่ส่งผลกระทบได้แก่
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
· Reuters รายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯเฉลี่ยช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมาทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 9.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน แม้รายงานจำนวนแท่นผลิตน้ำมันดิบที่หยุดดำเนินการล่าสุดลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 27 อีกทั้ง EIA ปรับคาดการณ์ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯปี 2558 จากครั้งก่อนเพิ่มขึ้น 580,000 บาร์เรลต่อวัน เป็น 720,000 บาร์เรลต่อวัน จากปีก่อน
· กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) ขายน้ำมันดิบออกจากคลังสำรองทางยุทธศาสตร์ (SPR) ปริมาณรวม 4.15 ล้านบาร์เรล โดยเป็นน้ำมันดิบ Suez Blend ปริมาณ 1.89 ล้านบาร์เรล และ น้ำมันดิบKhafji ปริมาณ 2.26 ล้านบาร์เรล กำหนดส่งมอบเดือน ก.ค. - ส.ค. 58 ญี่ปุ่นจำหน่ายน้ำมันดิบข้างต้นเพื่อซื้อ น้ำมันดิบชนิดเบาเข้าจัดเก็บใน Strategic Petroleum Reserve (SPR) ทั้งนี้ METI จำหน่ายน้ำมันดิบจาก SPR ล่าสุดในเดือน ก.ค. 57
· Reuters รายงานบริษัท Enterprise Products Partners LP ของสหรัฐฯส่งออก Condensate ปริมาณ 636,000 บาร์เรล แก่บริษัท Petrobras ของบราซิล ซึ่งเป็นครั้งแรกที่สหรัฐฯส่งออก Condensate ไปยังบราซิล ทั้งนี้ บริษัทEnterprise Products Partners LP เป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัทที่ได้รับอนุญาติจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ให้ส่งออกCondensate ได้ขณะที่ทางการสหรัฐฯห้ามส่งออกน้ำมันดิบ
· ธนาคารกลางจีนรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการธุรกิจจีนภายในประเทศช่วงไตรมาส 2/58 ลดลง โดยตัวเลขดัชนีฯ อยู่ที่ 58.3 จุด ลดลงจากไตรมาสก่อน 0.9 จุด และ ลดลงจากปีก่อน 6.6 จุด โดยผู้ประกอบการ43.5% มีความเห็นว่าเศรษฐกิจกำลังปรับตัวลง
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก
· Baker Hughes รายงานจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯ (Oil Rig) สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 มิ.ย. 58 ลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 28 โดยลดลงจากสัปดาห์ก่อน 4 แท่น มาอยู่ที่ 631 แท่น ต่ำสุดตั้งแต่ ส.ค. 57
· Bloomberg รายงานจำนวนเรือบรรทุกน้ำมันดิบ (VLCC) ที่บริษัทน้ำมันใช้เก็บน้ำมันดิบทั่วโลก (Floating Storage) ยกเว้นเรือบรรทุกน้ำมันดิบของอิหร่าน ล่าสุดมีจำนวน 16 ลำ หรือคิดเป็นปริมาณน้ำมันดิบ 34 ล้านบาร์เรล ลดลงจากการประเมินครั้งก่อนเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 58 ที่ 19 ลำ หรือคิดเป็นปริมาณน้ำมันดิบ 40 ล้านบาร์เรล
· กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงาน (ครั้งสุดท้าย) อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ไตรมาสที่ 1/58 ลดลงจากปีก่อน 0.2% ปรับเพิ่มขึ้นจากการรายงานครั้งก่อนที่ลดลงจากปีก่อน 0.7% ส่วน GDP ไตรมาสที่ 2/58 ตลาดคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 2.0-3.0%
· Commodity Futures Trading Commission (CFTC) ของสหรัฐฯ รายงานสถานะการลงทุนของสัญญาน้ำมันดิบ WTI ในตลาดซื้อขายล่วงหน้า NYMEX ที่นิวยอร์กและ ICE ที่ลอนดอน สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 มิ.ย. 58 กลุ่มผู้จัดการกองทุนปรับสถานะการซื้อสุทธิ (Net Long Positions) เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 2,285 สัญญา อยู่ที่243,587 สัญญา
แนวโน้มราคาน้ำมันดิบ
ราคาน้ำมันดิบผันผวน โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวสูงขึ้นตอบรับข่าวการเจรจาข้อตกลงโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านว่ามีความเป็นไปได้ยากที่จะสามารถยุติมาตรการคว่ำบาตรในเร็วๆนี้ ถึงแม้ว่าผู้เกี่ยวข้องระดับสูงของมาเผยถึงความเป็นไปได้ในการจับมือยุติระหว่างสองฝ่าย แต่ข้อตกลงมีรายละเอียดหลายประการที่ต้องตกลง นาย Federica Mogherini หัวหน้านโยบายต่างประเทศของ EU เผยข้อตกลงระหว่างกลุ่ม p5+1 และอิหร่านใกล้ความจริงขึ้นทุกทีหลังจากการประชุมระหว่างนาย John Kerry รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐฯ และ นายMohammad Javad Zarif รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของอิหร่านมีความคืบหน้าในสัญญาการตกลงลดกิจกรรมนิวเคลียร์ของอิหร่าน โดยทั้งสองฝ่ายแสดงความมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะยุติปัญหาดั่งกล่าว ทั้งนี้อิหร่านยอมที่จะรอการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรหลังจากการเข้าตรวจสอบของ UN เสร็จสิ้น แต่อย่างไรก็ตามยังมีความแตกต่างและช่องโหว่ระหว่างทั้งสองฝ่าย ส่งผลให้ตลาดคาดการณ์ว่าทั้งสองฝ่ายจะยังไม่สามารถหาข้อตกลงได้ภายในเส้นตายวันที่ 30 มิ.ย. 58 ที่จะถึงนี้ ทางด้านกรีซ ล่าสุดได้ปฏิเสธข้อเสนอล่าสุดจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ, สหภาพยุโรปและ ECB ทั้งนี้เจ้าหนี้ปฏิเสธที่จะขยายความช่วยเหลือ ลดความน่าจะเป็นที่กรีซจะสามารถชำระหนี้ภายในวันที่ 30 มิ.ย. 58 ที่จะถึงนี้ โดยนายกรัฐมนตรีของกรีซ นาย Alexis Tsipras ประกาศมาตรการควบคุมเงินทุน และสั่งปิดทำการสถาบันการเงินทั่วประเทศ เพื่อรับมือกับวิกฤตแห่ถอนเงินของประชาชนในประเทศที่รู้สึกกังวลต่ออนาคตของกรีซ ซึ่งจำกัดจำนวนเงินที่สามารถถอนได้เพียง 60 ยูโรต่อวันเท่านั้น ทางเทคนิคในสัปดาห์นี้คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบ Brent, WTI และ Dubai เคลื่อนไหวในกรอบ 61.65-65.50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล, 58.1-62.60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และ 57.8-61.80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ
สถานการณ์ราคาน้ำมันเบนซิน
สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันเบนซินลดลงจากPetroleum Association of Japan (PAJ) รายงานปริมาณสำรอง Light Distillates ของญี่ปุ่น สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 20 มิ.ย. 58 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 0.02 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 11.11 ล้านบาร์เรล สูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ และ PJK International B.V. รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์บริเวณ Amsterdam-Rotterdam-Antwerp (ARA) สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 18 มิ.ย. 58 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 5.0% มาอยู่ที่ 7.33 ล้านบาร์เรล และ Formosa Petrochemical Corp. (FPC) ของไต้หวัน ผู้นำเข้า Naphthaรายใหญ่ในเอเชีย ปิดซ่อมบำรุง Naphtha Cracker (700,000 ตันต่อปี) จนถึงกลางเดือน ก.ค. 58 อย่างไรก็ตาม กรมศุลกากรของจีนรายงานปริมาณส่งออกน้ำมันเบนซินของจีนเดือน พ.ค. 58 ลดลงจากเดือนก่อน 26.9% มาอยู่ที่3.23 ล้านบาร์เรล เนื่องจากโรงกลั่น Dalian (200,000 บาร์เรลต่อวัน)ของบริษัท WEPEC ซึ่งเป็นโรงกลั่นที่ส่งออกน้ำมันเบนซินมากที่สุดของประเทศ ปิดซ่อมบำรุง ขณะที่ Pakistan State Oil Co. (PSO) ของปากีสถานออกประมูลซื้อน้ำมันเบนซินปริมาณรวม 5.1 ล้านบาร์เรล ส่งมอบ ส.ค.- ต.ค 58 และ Petroleum Importation Coordinator (PIC) ของแทนซาเนียออกประมูลซื้อ Gasoline ปริมาณรวม 1.0 ล้านบาร์เรล ส่งมอบปลาย ก.ค.- ส.ค. 58 ประกอบกับ IES รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ในสิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 24 มิ.ย. 58 ลดลงลดลงจากสัปดาห์ก่อน 0.51 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 12.16 ล้านบาร์เรล สัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันเบนซินจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 79.70-83.60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล
สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดีเซลลดลงจาก Reuters รายงานตลาดน้ำมันดีเซล 0.05%S ในเอเชียช่วงไตรมาสที่ 3/58 มีแนวโน้มซบเซาที่สุดในรอบ 5 ปี เนื่องจากปริมาณสำรองระดับสูงในสิงคโปร์ ประกอบกับปริมาณส่งออกน้ำมันเบนซินของจีนเพิ่มขึ้นโดย กรมศุลกากรของจีนรายงานปริมาณส่งออกน้ำมันดีเซลของจีนเดือน พ.ค. 58 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.7% มาอยู่ที่ 2.8 ล้านบาร์เรล ขณะที่ซาอุดีอาระเบียจะนำเข้าต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เนื่องจากขีดความสามารถในการผลิตน้ำมันดีเซล เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังอยู่ในช่วงห้ามจับปลาในทะเลจีนใต้ (16 พ.ค.-1 ส.ค.58) ประกอบกับ Mangalore Refinery and Petrochemicals Ltd. (MRPL) ของอินเดียขายน้ำมันดีเซล 0.05%Sปริมาณ 490 KB ส่งมอบวันที่ 24-26 ก.ค. 58 และ Jet Fuel ปริมาณ 320 KB ส่งมอบวันที่ 19-21 ก.ค. 58 ขณะที่PAJ รายงานปริมาณสำรอง Kerosene ของญี่ปุ่น สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 20 มิ.ย. 58 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 0.7 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 10.07 ล้านบาร์เรล สูงสุดในรอบ 16 สัปดาห์ และ IES รายงานปริมาณสำรอง Middle Distillates เชิงพาณิชย์ในสิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 24 มิ.ย. 58 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 0.86 MMB มาอยู่ที่ 9.98MMB อย่างไรก็ตาม PIC ของแทนซาเนียออกประมูลซื้อน้ำมันดีเซล 0.05 %S ปริมาณรวม 1.8 ล้านบาร์เรล, Jet Fuel ปริมาณ 180,000 บาร์เรล , และ Kerosene ปริมาณ 11,000 บาร์เรล ส่งมอบปลาย ก.ค.- ส.ค. 58 ขณะที่กำลังการผลิตน้ำมันเบนซินในญี่ปุ่นลดลงเพราะโรงกลั่น Chiba (220,000 บาร์เรลต่อวัน) ของบริษัท Cosmo Oilของญี่ปุ่นปิดดำเนินการ Secondary Unit 2 หน่วย หลังเกิดเหตุเพลิงไหม้ท่อขนส่งก๊าซในโรงกลั่น วันที่ 22 ก.ค. 58ทั้งนี้โรงกลั่นอยู่ระหว่างปิดซ่อมบำรุง CDU หน่วยที่ 2 ขนาด 120,000 บาร์เรลต่อวัน สัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดีเซลจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 71.80-75.70 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล