กรุงเทพฯ--2 ก.ค.--ม.มหานคร
"งานวิจัยในบ้านเรา งบแต่ละปีสูงมาก หลายหมื่นล้านบาท บ้านเรามีนักวิจัย มีด็อกเตอร์ มีเด็กที่ได้เหรียญทองโอลิมปิกเยอะแยะมากกมาย แต่ถามว่าจนถึงวันนี้ ประเทศเรามีอะไรที่พัฒนาเป็นของเรา ถึงขั้นเชิดหน้าชูตาว่าเป็นผลผลิตของคนในชาติได้บ้าง… ดูแล้วไม่บาลานซ์กันเลย!!"
ข้อคิด ที่นำมาสู่การร่วมมือพัฒนาของสององค์กร ซึ่งต้องถือเป็นอีกก้าวของการพัฒนาการศึกษาและแวดวงอุตสาหกรรมของไทย จากเจตนารมณ์ที่ตรงกันของ รศ.ดร.สุเจตน์ จันทรังษ์ อธิการบดี ม.เทคโนโลยีมหานคร และ พีรพล ตระกูลช่าง ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด (AVIA) บริษัทชั้นนำ ด้านเทคโนโลยี พัฒนาอุตสาหกรรมต่างประเทศ มีแนวคิดที่จะพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมของชาติให้เติบโต ลดการพึ่งพาและนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ พร้อมชูแบรนด์ "Thailand" ตีตลาดโลก จึงได้จัดพิธีเซ็นสัญญาสร้างนวัตกรรมเพื่อผู้กล้า พร้อมจัดตั้งศูนย์วิจัยภายใต้ชื่อ MASI(Mahanakorn-Avia Sustained Innovation) ให้เป็นศูนย์กลาง พัฒนา แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ต่อยอดนวัตกรรม เพื่อนำไปผลิต ใช้ได้จริง พร้อมสร้างรายได้ให้กับนักคิด นักประดิษฐ์ และมีโอกาสก็ผลักดันให้ไปตีตลาดโลกบ้าง นั่นเอง เมื่อเร็วๆ นี้
รศ.ดร.สุเจตน์ จันทรังษ์ อธิการบดี เผยว่า "ศูนย์นวัตกรรมเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ : AICentre มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาเป็นอย่างมาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมต่างๆของประเทศไทยให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง รวมถึงผลักดันทุกกระบวนการและขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาต่างๆในประเทศไทย ให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา สะสมองค์ความรู้ที่เกิดจากการวิจัย การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถและมีความพร้อมอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการมองหาความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกไม่ว่าจะเป็นด้านเงินทุน ทรัพยากรบุคคล หรือ องค์ความรู้ต่างๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดระบบอุตสาหกรรมที่ครบวงจรกลายเป็นประเทศที่สามารถวิจัย พัฒนา และผลิต ได้ด้วยตัวเอง ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศไทยนั้นสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
บริษัท AVIASATCOM จำกัด เป็นบริษัทเอกชนที่มีศักยภาพทางด้านการทางานวิจัยและมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ความร่วมมือต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจาก บริษัท AVIASATCOM จำกัด และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร มีอัตลักษณ์และแนวทางการดำเนินงานขององค์กรที่สอดคล้องกัน นั่นคือ การให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นทางด้านบุคลากรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวกับการวิจัยอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ทั้งสองหน่วยงานได้มีการลงนามความร่วมมือกันไปแล้วในบางส่วน และยังมีงานวิจัยที่ร่วมมือกัน เช่น โครงการวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมา การทำงานร่วมกันนั้น เป็นไปได้อย่างดี จึงทำให้เกิดการวิจัยและพัฒนาต่างๆขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันทั้งสองหน่วยงานนั้น มีความเห็นว่าควรส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาภายในประเทศไทยให้ก้าวไกลมากยิ่งขึ้น โดยจัดตั้งศูนย์กลางหรือหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบการทำงานวิจัยและพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจนขึ้นเองในประเทศไทย โดยจัดตั้งขึ้นจากความร่วมมือของทั้งสองหน่วยงาน ทั้งนี้เพื่อสร้างความชัดเจนในการนำนโยบายไปปฏิบัติ สร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรถึงองค์กรอย่างจริงจัง เพื่อเป็นตัวอย่างและผู้นาทางด้านงานวิจัยของทั้งสองหน่วยงาน เนื่องจากประเทศไทยในปัจจุบันภาครัฐมีการสนับสนุนการทำวิจัยและพัฒนาไม่เพียงพอ และประสิทธิภาพในการเข้าถึงการวิจัยก็ยังมีไม่มากนัก ส่งผลให้สูญเสียทรัพยากรทางด้านการวิจัยไปเป็นจำนวนมากเนื่องจากความไม่มั่นคง ดังนั้น ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร และ บริษัท AVIA SATCOMจำกัด จึงมีเป้าหมายในการจัดตั้ง ศูนย์วิจัยนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (MASI : Mahanakorn-Avia Sustained Innovation) ให้เป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาที่มีความครบวงจรตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นจนถึงกระบวนสุดท้าย โดยความสามารถของ MASI นั้น จะเริ่มตั้งแต่กระบวนการออกแบบ วิจัย พัฒนา และการผลิตในเชิงพาณิชย์ รวมไปถึงการศึกษาและวิจัยตลาดอีกด้วย ทั้งนี้การจัดตั้งศูนย์จะจัดตั้งขึ้นภายในรั้วมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร โดยการใช้พื้นที่และบุคลากรของศูนย์นวัตกรรมเพื่อการนาไปใช้ประโยชน์เดิมที่มีอยู่ และบูรณาการ รูปแบบ/โครงการ การทำงานให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น
พีรพล ตระกูลช่าง ประธานคณะกรรมการบริหาร เผยว่า "บริษัท AVIA-SATCOM จำกัด "ประเทศเราต้องการงานวิจัยค่อนข้างมาก รีไควเมนท์เยอะ ที่เอาความต้องการของเราไปบอกตปท. ซึ่งก็มีข้อจำกัดหลายๆ อย่าง ตรงบ้าง ไม่ตรงใจบ้าง ปัญหาเรื่องเวลา ความเหมาะสม เนื่องด้วยปัจจัยที่ต่างกัน จึงมาคิดว่า บ้านเราเป็นเมืองเกษตรก็จริง แต่ในส่วนของอุตสาหกรรมเทคโนลยีก็เจริญเติบโตขึ้นมาก มีวิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้เยอะแยะ ทำไมเราไม่ปรับเปลี่ยน หรือเลิกทำอะไรบางอย่าง จุดนี้ทำให้คิด และหันกลับมามองตั้งแต่หน่วยแรก คือสถาบันการศึกษาแล้วก็ได้รับรู้ว่า ที่นี่มีผลงานคิดค้น วิจัย มาแล้วมากมาย จากรุ่นต่อรุ่น เพียงเต่ว่ากระบวนการในการขับเคลื่อน อาจไม่เพียงพอ ในฐานะหน่วยงานทางด้านนี้อยู่แล้ว เรามองหาสถาบันที่มีผลิตบัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ มีผลงานวิจัยที่น่าทึ่ง และเป็นที่เพาะกล้าคนรุ่นใหม่ป้อนเข้าสู่ตลาดอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี จึงร่วมกันจัดตั้งศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนนี้ขึ้น ด้วยแนวคิด ที่จะพัฒนางานวิจัย ต่อยอดนวัตกรรมใหม่ๆ เข้าสู่ภาคการผลิต ใช้ได้จริง แล้วรีเทิร์นกลับมาเป็นเม็ดเงิน เป็นรายได้มหาศาล ยิ่งไปกว่านั้นคือเป็นเวทีให้เหล่านักวิศวกรรมศาสตร์เลือดใหม่ของไทย ได้พิสูจน์ฝีมือของตัวเองด้วย"
"โดยเจตนารมณ์ของ MASI (Mahanakorn-Avia Sustained Innovation) มีความตั้งใจจะสนับสนุนนวัตกรรมใหม่ๆ ใน 6หัวข้อ ได้แก่ กลุ่มพลังงานทดแทน, เฮลท์แคร์ต่างๆ , วัฒนธรรม,หุ่นยนต์ แล้วก็ ไอซีที ฯลฯ เริ่มต้น Pilot Project ไปบ้างแล้ว ซึ่งทางศูนย์ฯ เดิมของมหานคร AI ได้ทำให้กับหน่วยงานความมั่นคงระดับประเทศ เช่น หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด และยังมีอีกหลายอย่างที่จะเข้าไปเติม เช่น สมาร์ทฟาร์ม (Digital Economy), การควบคุมยานพาหนะแบบล้อเดียว Control of One Wheel Vehicle, รถเข็นคนพิการสั่งงานด้วยเสียง (Automatic Voice Control Wheelchair), การนำนวัตกรรมเขียวมาในการปรับปรุงอาคารวิศวกรรมโยธา ฯลฯ จากโจทย์เรื่องความยั่งยืนนี่ล่ะ เราจะ เข้าไปดูงานวิจัย กระบวนการไหนน่าสนใจ ทำได้จริง ต่อไปนี้ไม่ใช่แค่ต้นแบบ และจะไม่ใช่แค่เวอร์ชั่น 1.0 แล้วจบไป จะพัฒนาต่อยอดให้หลากหลาย หลากหลาย ครอบคลุม ตอบสนองตามความต้องการของประเทศ โดยเป้าหมายสูงสุด คือพึ่งพาตัวเอง ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้ได้มากสุด ในด้านเทคโนโลยี"
ติดตามผลงานและนวัตกรรมใหม่ ๆ ของศูนย์ได้ที่ www.mut.ac.th และข่าวดีสำหรับน้องๆ ที่สนใจด้าน "วิศวกรรม" เวทีนี้มีศาสตร์ใหม่ๆ ให้เรียนอื้อ พร้อมสนับสนุนเต็มร้อย