เซลเลนเนียมไทยแลนด์ ตีปีกขายไฟฟ้าให้กฟน.เดือนละ 500 กิโลวัตต์ชั่วโมง ฟุ้งเตรียมเพิ่มเป็น 2,000 กิโลวัตต์ชั่วโมง เร็วๆนี้

ข่าวเทคโนโลยี Tuesday April 12, 2005 14:01 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--12 เม.ย.--กฟน.
เซลเลนเนียมไทยแลนด์ เผยพัฒนาเทคโนโลยี Vanadium Battery ได้ใช้ในเชิงพาณิชย์แล้ว โดยทำสัญญาขายไฟฟ้าเข้าระบบให้กฟน.เดือนละ 500 กิโลวัตต์ชั่วโมง และจะเพิ่มเป็น 2,000 กิโลวัตต์ชั่วโมง
คุยโครงการผลิตไฟฟ้าจากพืชน้ำตาล และแป้งเชิงพาณิชย์จะสำเร็จภายใน 5-10 ปีข้างหน้า
นายกฤษดา กัมปนาทแสนยากร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เซลเลนเนียม (ประเทศไทย)
เปิดเผยถึงความคืบหน้าการพัฒนาโครงการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีเครื่อง กักเก็บไฟฟ้า หรือ เทคโนโลยี Vanadium Redox Flow Battery ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาต้นแบบเชิงพาณิชย์แล้ว โดยได้ทำสัญญาขายไฟฟ้าเข้าระบบให้กับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ประมาณเดือนละ 500 กิโลวัตต์ชั่วโมง ตั้งแต่ปลายปี 2547
และจะขายไฟฟ้าเข้าระบบเพิ่มขึ้นเป็นเดือนละ 2,000 กิโลวัตต์ชั่วโมง ในเร็วๆนี้
นอกจากนี้ กฟน. ยังได้นำระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้า หรือ Vanadium Battery ไปใช้เก็บพลังไฟฟ้าช่วง ออฟพีค ไว้ใช้ช่วงฟีค ซึ่งเป็นระบบที่เหมาะสำหรับใช้ในโรงไฟฟ้าขนาดกลางและขนาดเล็ก และโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงแบบผสมผสานขนาดเล็ก เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม รวมทั้งใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งนี้ระบบกักเก็บพลังงานงานไฟฟ้านี้สามารถช่วยประเทศชาติประหยัดไฟฟ้าได้ ในภาวะราคาพลังงานยังคงมีปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งราคาไฟฟ้าก็จะต้องมีการปรับขึ้นในที่สุด
สำหรับ โครงการผลิตไฟฟ้าจากพืชคาร์โบไฮเดรต หรือพืชประเภทแป้ง และน้ำตาล ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการทำต้นแบบเชิงพาณิชย์ ซึ่งคาดว่าจะสามารถใช้เชิงพาณิชย์ได้ภายในระยะเวลา 5-10 ปี ข้างหน้านี้
ซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยีเซลเชื้อเพลิงพลังงานจากพืชคาร์โบไฮเดรตดังกล่าว จะส่งผลถึงการเปิดตลาดใหม่ให้กับผลิตผลทางการเกษตร โดยเฉพาะ มันสำปะหลัง และอ้อย
นายกฤษดา กล่าวต่อไปว่า เป็นเรื่องน่ายินดี ที่โครงการนี้ หน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐได้ให้ความสนใจ และส่งเสริมอย่างดียิ่ง เช่น กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานได้อนุมัติงบประมาณ 200 ล้านบาท
ให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เพื่อดำเนิน โครงการต้นแบบการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี Vanadium Redox Flow และได้รับเกียรติจากนายกร ทัพพะรังสี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าเยี่ยมชมความสำเร็จโรงงาน และชมเครื่อง กักเก็บและสร้างพลังงานไฟฟ้า
โดยอาจจะมีการร่วมกันเพื่อวิจัยค้นคว้า และพัฒนานวตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ