นิด้าโพล : “พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต”

ข่าวทั่วไป Friday July 10, 2015 11:08 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--10 ก.ค.--นิด้าโพล ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต" ทำ การสำรวจระหว่างวันที่ 6 – 8 กรกฎาคม 2558 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,749 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.2 จากการสำรวจ เมื่อถามถึงการใช้อินเทอร์เน็ตของประชาชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.18 ระบุว่าใช้อินเทอร์เน็ต และร้อยละ 40.82 ระบุว่าไม่ได้ใช้อินเทอร์เน็ต สำหรับอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประชาชนใช้เป็นช่องทางในการใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุด พบว่า ในจำนวนประชาชนที่ใช้อินเทอร์เน็ตนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.30 ระบุว่า ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านช่องทางมือถือสมาร์ทโฟนมากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 18.45 ระบุว่า ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านช่องทางคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) / โน๊ตบุ๊ค และร้อยละ 4.25 ระบุว่าใช้อินเทอร์เน็ตผ่านช่องทางแท็บเล็ต ด้านสถานที่ที่ประชาชนใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 57.20 ระบุว่า ใช้อินเทอร์เน็ตที่บ้าน/ที่พักอาศัย รองลงมา ร้อยละ 28.79 ระบุว่า ใช้ที่ทำงาน ร้อยละ 13.14 ระบุว่า ใช้ตามที่สาธารณะ (เช่น ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร/ห้างสรรพสินค้า/สวนสาธารณะ/ฟิตเนส/บนรถเมล์ รถไฟฟ้า แท็กซี่ ฯลฯ) ร้อยละ 0.58 ระบุว่า ใช้อินเทอร์เน็ตที่โรงเรียน มหาวิทยาลัย สถานศึกษา และ ร้อยละ 0.29 ระบุว่า ใช้อินเทอร์เน็ตที่ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ เมื่อถามถึงวัตถุประสงค์ในการใช้อินเทอร์เน็ตของประชาชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.82 ระบุว่า ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อติดต่อสื่อสารกับคนในครอบครัว/เพื่อน รองลงมา ร้อยละ 47.05 ระบุว่า ใช้เพื่อสืบค้นข้อมูล ร้อยละ 46.38 ระบุว่าใช้เพื่อความบันเทิง ร้อยละ 42.90 ระบุว่าใช้เพื่อติดตามข่าวสาร เหตุการณ์ในสังคม ร้อยละ 39.81 ระบุว่าใช้เพื่อติดต่อสื่อสารเรื่องงาน ประสานงาน แจ้งข้อมูลข่าวสาร ร้อยละ 2.13 ระบุว่าใช้เพื่อการตลาด เช่น ขายของ โฆษณา ประชาสัมพันธ์ และร้อยละ 0.58 ระบุว่าใช้เพื่ออื่น ๆ ได้แก่ ทำธุรกรรมทางการเงิน จ่ายบิลค่าน้ำ ค่าไฟ โอนเงิน เป็นต้น สำหรับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ของประชาชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 83.29 ระบุว่าใช้ Line รองลงมา ร้อยละ 78.55 ระบุว่าใช้ Facebook ร้อยละ 21.35 ระบุว่าใช้ e – mail ร้อยละ 19.71 ระบุว่าใช้ Google + ร้อยละ 16.43 ระบุว่าใช้ Youtube ร้อยละ 13.04 ระบุว่าใช้ Instagram ร้อยละ 7.05 ระบุว่าใช้ Twitter ร้อยละ 2.22 ระบุว่าใช้ We Chat ร้อยละ 1.16 ระบุว่าใช้ อื่น ๆ ได้แก่ Blog, พันธ์ทิพย์, Skype, Kakao talk, Yahoo messenger ร้อยละ 2.80 ระบุว่า ไม่ได้เล่น/ไม่ได้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงปัญหาหรืออุปสรรคที่ประชาชนพบจากการใช้อินเทอร์เน็ต พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 57.68 ระบุว่า ระบบเครือข่าย/สัญญาณอินเทอร์เน็ตช้า รองลงมา ร้อยละ 44.15 ระบุว่า ระบบเครือข่าย/สัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่เสถียร หลุดบ่อย ร้อยละ 18.07 ระบุว่า ระบบเครือข่าย/สัญญาณอินเทอร์เน็ต ไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ร้อยละ 7.73 ระบุว่า ค่าอินเทอร์เน็ตมีราคาแพง ไม่สมเหตุสมผล ขณะที่ ร้อยละ 18.65 ระบุว่า ไม่พบปัญหาใด ๆ จากการใช้อินเทอร์เน็ต เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 16.30 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 17.84 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.18 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.50 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.18 ภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 48.94 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.06 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 8.92 มีอายุ น้อยกว่า 25 ปี ร้อยละ 21.50 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 24.70 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 33.91 มีอายุ 46 – 60 ปี ร้อยละ 10.35 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป และร้อยละ 0.63 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่างร้อยละ 94.85 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.77 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.74 นับถือศาสนาคริสต์และอื่น ๆ และร้อยละ 0.63 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 25.61 สถานภาพโสด ตัวอย่างร้อยละ 71.81 สมรสแล้ว ตัวอย่างร้อยละ 1.83หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.74 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 26.64 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ตัวอย่างร้อยละ 29.50 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.63 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 28.19 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 6.17 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.86 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 14.35 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างร้อยละ 14.52 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ตัวอย่าง ร้อยละ 26.36 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ตัวอย่าง ร้อยละ 8.40 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ตัวอย่างร้อยละ 14.69 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ตัวอย่างร้อยละ 16.24 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ตัวอย่างร้อยละ 4.35 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.08 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 1.03 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่าง ร้อยละ 19.04 ไม่มีรายได้ ตัวอย่าง ร้อยละ 20.53 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 ตัวอย่างร้อยละ 29.05 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 ตัวอย่างร้อยละ 13.49 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ตัวอย่างร้อยละ 5.26 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 ร้อยละ 5.89 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 6.75 ไม่ระบุรายได้
แท็ก นิด้า  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ