กรุงเทพฯ--10 ก.ค.--นิด้าโพล
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" ร่วมกับ "คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "ปัญหาภัยแล้งปี 2558" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25 – 26 มิถุนายน 2558 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับสาเหตุของปัญหาภัยแล้งและแนวทางใดในการเร่งแก้ไขปัญหาภัยแล้ง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4
จากการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อสาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดสถานการณ์ภัยแล้งในปัจจุบันและส่งผลต่อวิกฤติปริมาณน้ำในเขื่อนและวิกฤติการเพาะปลูกในพื้นที่การเกษตร ในภาพรวมพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.96 ระบุว่า เกิดจากป่าถูกทำลายไปกว่า 26 ล้านไร่ จนเกิดภูเขาหัวโล้น และทำให้ไม่มีฝน รองลงมา ร้อยละ 36.80 ระบุว่า เกิดจากปรากฏการณ์ เอลนิโญ ที่ทำให้เกิดร้อนแล้งไปทั่วภูมิภาค ร้อยละ 11.44 ระบุว่า เกิดจากกรมชลประทานไม่ใส่ใจคำเตือนจากผู้เชี่ยวชาญถึงสถานการณ์น้ำในเขื่อนที่ไม่เพียงพอกับภาคการเกษตร ร้อยละ 9.76 ระบุว่า เกิดจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตบริหารจัดการน้ำในเขื่อนของตนเองผิดพลาด ร้อยละ 7.68 ระบุว่า เกิดจากปี 2555 ฝ่ายการเมืองสั่งการให้ระบายน้ำในเขื่อนลงมากเกินไปเพราะเกรงจะเกิดน้ำท่วมซ้ำรอยปี 2554 ร้อยละ 6.56 ระบุว่า ที่ผ่านมาเกษตรกรส่วนหนึ่งไม่ฟังรัฐบาลและพยายามที่จะปลูกข้าวนาปรังทำให้มีการใช้น้ำสูงขึ้นจากที่กำหนดไว้ ร้อยละ 6.08 ระบุว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขาดการเตรียมพร้อมที่ดี ทั้ง ๆ ที่รู้ล่วงหน้าแล้วว่าปีนี้จะแล้งหนัก ร้อยละ 2.00 ระบุว่า เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ สภาวะโลกร้อน ปรากฎการณ์เรือนกระจก การเผาขยะ เกิดมลพิษทางน้ำ ทางอากาศ ระบบนิเวศถูกทำลายโดยมนุษย์ การเพิ่มขึ้นของประชากรและการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมมากเกินไป ร้อยละ 1.04 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อวิเคราะห์เฉพาะกลุ่มเกษตรกร พบว่า ร้อยละ 68.58 ระบุว่า เกิดจากป่าถูกทำลายไปกว่า 26 ล้านไร่ จนเกิดภูเขาหัวโล้น และทำให้ไม่มีฝน รองลงมา ร้อยละ 43.58 ระบุว่า เกิดจากปรากฏการณ์ เอลนิโญ ที่ทำให้เกิดร้อนแล้งไปทั่วภูมิภาค ร้อยละ 9.17 ระบุว่า เกิดจากกรมชลประทานไม่ใส่ใจคำเตือนจากผู้เชี่ยวชาญถึงสถานการณ์น้ำในเขื่อนที่ไม่เพียงพอกับภาคการเกษตร และเกิดจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตบริหารจัดการน้ำในเขื่อนของตนเองผิดพลาด ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 7.11 ระบุว่า เกิดจากปี 2555 ฝ่ายการเมืองสั่งการให้ระบายน้ำในเขื่อนลงมากเกินไปเพราะเกรงจะเกิดน้ำท่วมซ้ำรอยปี 2554 ร้อยละ 6.65 ระบุว่า ที่ผ่านมาเกษตรกรส่วนหนึ่งไม่ฟังรัฐบาลและพยายามที่จะปลูกข้าวนาปรังทำให้มีการใช้น้ำสูงขึ้นจากที่กำหนดไว้ ร้อยละ 5.73 ระบุว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขาดการเตรียมพร้อมที่ดี ทั้ง ๆ ที่รู้ล่วงหน้าแล้วว่าปีนี้จะแล้งหนัก ร้อยละ 1.61 ระบุว่า เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ สภาวะโลกร้อน ปรากฎการณ์เรือนกระจก การเผาขยะ เกิดมลพิษทางน้ำ ทางอากาศ ระบบนิเวศถูกทำลายโดยมนุษย์ การเพิ่มขึ้นของประชากรและการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมมากเกินไป และร้อยละ 0.69 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อแนวทางในการเร่งแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ณ ขณะนี้ เป็นการเฉพาะหน้า ในภาพรวมพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.20 ระบุว่า ควรระดมทำฝนหลวงเพื่อเติมน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ รองลงมา ร้อยละ 28.72 ระบุว่า ควรขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัด ร้อยละ 27.44 ระบุว่า ควรเจาะน้ำบาดาลมาใช้เพิ่ม เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ร้อยละ 13.44 ระบุว่า ควรจ่ายเงินชดเชยเพื่อช่วยเหลือรายได้แก่เกษตรกร ร้อยละ 13.28 ระบุว่า ควรจัดลำดับความเร่งด่วนในการใช้น้ำในแต่ละพื้นที่การเกษตร ร้อยละ 13.04 ระบุว่า ควรชะลอการเพาะปลูกข้าวนาปีออกไปอีก 1 เดือน ร้อยละ 4.64 ระบุว่า ควรดำเนินโครงการหยุดพักชำระหนี้เกษตรกร ร้อยละ 1.12 ระบุว่า ไม่ต้องดำเนินการใด ๆ เพราะเร็ว ๆ นี้ฝนจะมาแล้ว ร้อยละ 0.48 ระบุว่า ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ประกอบพิธีบวงสรวงขอฝนจากพระพิรุณทรงนาค ร้อยละ 0.40 ระบุว่า ประกอบพิธีขอฝนบริเวณเขื่อนต่าง ๆ และให้ชาวบ้านประกอบพิธีแห่นางแมวขอฝน ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 5.36 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ ควรรณรงค์การปลูกป่า และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของป่าไม้ ผลกระทบจากการตัดไม้, เผา, ทำลายป่า ควรช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม, ควรเพิ่มบทลงโทษสำหรับผู้ที่ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า, ควรมีการบริหารจัดการน้ำ การปล่อยน้ำ การผันน้ำที่ดี เพียงพอกับความต้องการใช้น้ำในแต่ละพื้นที่, เกษตรกรควรขุดบ่อหรือแหล่งเก็บน้ำไว้ใช้, ควรสร้างฝายกั้นชะลอน้ำ ขุดลอกคลอง สร้างอ่างเก็บน้ำ เพื่อเพิ่มพื้นเก็บกักน้ำให้มากขึ้น, ให้เกษตรกรปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย, และควรสร้างอาชีพเสริมให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง และร้อยละ 1.92 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อวิเคราะห์เฉพาะกลุ่มเกษตรกรพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 56.88 ระบุว่า ควรระดมทำฝนหลวงเพื่อเติมน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ รองลงมา ร้อยละ 28.44 ระบุว่า ควรเจาะน้ำบาดาลมาใช้เพิ่มเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ร้อยละ 22.48 ระบุว่า ควรขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัด ร้อยละ 20.41 ระบุว่า ควรจ่ายเงินชดเชยเพื่อช่วยเหลือรายได้แก่เกษตรกร ร้อยละ 14.22 ระบุว่า ควรจัดลำดับความเร่งด่วนในการใช้น้ำในแต่ละพื้นที่การเกษตร ร้อยละ 11.47 ระบุว่า ควรชะลอการเพาะปลูกข้าวนาปีออกไปอีก 1 เดือน ร้อยละ 7.11 ระบุว่า ควรดำเนินโครงการหยุดพักชำระหนี้เกษตรกร ร้อยละ 1.15 ระบุว่า ไม่ต้องดำเนินการใด ๆ เพราะเร็ว ๆ นี้ฝนจะมาแล้ว ร้อยละ 0.69 ระบุว่า ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ประกอบพิธีบวงสรวงขอฝนจากพระพิรุณทรงนาค และควรประกอบพิธีขอฝนบริเวณเขื่อนต่าง ๆ และระบุว่า ให้ชาวบ้านประกอบพิธีแห่นางแมวขอฝน ในสัดส่วนที่เท่ากัน และร้อยละ 3.90 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ ควรรณรงค์การปลูกป่า และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของป่าไม้ ผลกระทบจากการตัดไม้, เผา, ทำลายป่า ควรช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม, ควรเพิ่มบทลงโทษสำหรับผู้ที่ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า, ควรมีการบริหารจัดการน้ำ การปล่อยน้ำ การผันน้ำที่ดี เพียงพอกับความต้องการใช้น้ำในแต่ละพื้นที่, เกษตรกรควรขุดบ่อหรือแหล่งเก็บน้ำไว้ใช้, ควรสร้างฝายกั้นชะลอน้ำ ขุดลอกคลอง สร้างอ่างเก็บน้ำ เพื่อเพิ่มพื้นเก็บกักน้ำให้มากขึ้น, ให้เกษตรกรปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย, และควรสร้างอาชีพเสริมให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก ภัยแล้ง และร้อยละ 1.61 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 16.32 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 17.84 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.08 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 35.36 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 12.40 ภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 53.44 เป็นเพศชาย ร้อยละ 46.48 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 7.04 มีอายุ น้อยกว่า 25 ปี ร้อยละ 15.12 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 23.52 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 39.84 มีอายุ 46 – 60 ปี ร้อยละ 13.68 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป และร้อยละ 0.80 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่างร้อยละ 95.44 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.12 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.64 นับถือศาสนาคริสต์และอื่น ๆ และร้อยละ 0.80 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 19.92 สถานภาพโสด ตัวอย่างร้อยละ 78.16 สมรสแล้ว ตัวอย่างร้อยละ 1.04 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.88 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส
ตัวอย่างร้อยละ 36.32 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ตัวอย่างร้อยละ 30.80 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.28 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 20.56 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 4.00 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.04 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 9.60 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างร้อยละ 9.92 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ตัวอย่าง ร้อยละ 17.60 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ตัวอย่าง ร้อยละ 34.88 ประกอบอาชีพเกษตรกร ตัวอย่างร้อยละ 12.00 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ตัวอย่างร้อยละ 12.08 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ตัวอย่างร้อยละ 2.96 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.96 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่าง ร้อยละ 12.72 ไม่มีรายได้ ตัวอย่าง ร้อยละ 35.28 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 ตัวอย่างร้อยละ 24.80 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 ตัวอย่างร้อยละ 10.32 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ตัวอย่างร้อยละ 4.08 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 ร้อยละ 6.00 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 6.80 ไม่ระบุรายได้