กรุงเทพฯ--15 ก.ค.--อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์
- ปรับโครงสร้างในศูนย์นวัตกรรมดีเอชแอลเพื่อเร่งการพัฒนาบริการรูปแบบใหม่ สร้างความร่วมมือกับลูกค้าและสถาบันการศึกษา
- อินเตอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (Internet of Things) เพิ่มมูลค่าให้แวดวงลอจิสติกส์ได้ถึง 1.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือมูลค่ารวมทั่วโลกถึง 8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในทศวรรษหน้า
- การขายสินค้าหรือบริการโดยตรงต่อผู้บริโภคทั่วโลกมีมูลค่ากว่า 616 พันล้านยูโร (ในปี 2556) จะโตขึ้นต่อปีร้อยละ 10.7 จนถึงปี 2559: นวัตกรรมต่าง ๆ ในส่วนของอี-คอมเมิร์สจะเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้บริโภค
- กลุ่มบริษัทดอยช์ โพสต์ ดีเอชแอลมุ่งมั่นรักษาตำแหน่งผู้นำด้านลอจิสติกส์ ด้วยนวัตกรรมที่พัฒนาคุณค่าทางการศึกษาทั้งรูปแบบและทิศทางของความเปลี่ยนแปลง 'Trend Research Value Chain'
กลุ่มบริษัทดอยช์ โพสต์ ดีเอชแอล ผู้นำระดับโลกทางด้านลอจิสติกส์ ลงทุนด้านนวัตกรรมเพื่อครองตำแหน่งผู้นำในการพัฒนาในด้านลอจิสติกส์ระดับโลกและสร้างอนาคตที่ยั่งยืน จากรายงานเกี่ยวกับรูปแบบและทิศทางการเปลี่ยนแปลงล่าสุดพบว่าระบบซัพพลายเชนที่มีความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพมีโอกาสที่จะมีความก้าวหน้าในระดับสูงได้ แค่เฉพาะอินเตอร์เน็ต ออฟ ธิงส์นั้น ก็จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 1.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐให้กับธุรกิจด้านลอจิสติกส์ภายในปี 2563 กลไกขับเคลื่อนที่สำคัญต่อการเคลื่อนที่คือศูนย์นวัตกรรมของดีเอชแอลในประเทศเยอรมันที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ พร้อมการปรับโครงสร้างการทำงานใหม่ ร่วมกับศูนย์นวัตกรรมแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกแห่งใหม่ ที่จะเปิดภายในปีนี้ในประเทศสิงคโปร์ โดยความร่วมมือของคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งสิงคโปร์
แฟรงค์ แอพเพล ประธานคณะกรรมการฝ่ายบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ดอยช์ โพสต์ ดีเอชแอล กล่าวว่า "เราเชื่อมั่นว่า ด้วยเงินลงทุนและประสบการณ์ที่สั่งสมมาล้วนมีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่ทำให้เกิดแนวคิดที่ก้าวหน้าและช่วยชี้ทิศทางให้กับอนาคต ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทดอยช์ โพสต์ ดีเอชแอลเชื่อว่า นวัตกรรมที่ทำเพื่อลูกค้าเป็นกุญแจสำคัญต่อเป้าหมายหลักทั้งสองประการของเรา ประการแรกคือการยืนอยู่ในฐานะผู้บุกเบิก ในการเป็นหัวหอกสำคัญให้เกิดการปฏิรูปด้านลอจิสติกส์ระดับโลก นับเป็นสาระสำคัญอย่างหนึ่งต่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของโลกเรา ประการที่สองคือการครองตำแหน่งผู้นำด้านลอจิสติกส์ ด้วยการคิดค้นผลิตภัณฑ์และบริการที่แตกต่างและสร้างสรรค์ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการบริการอี-คอมเมิร์ส ซัพพลายเชนระดับโลก หรือการขนส่งเวชภัณฑ์ยาประเภทที่ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิในระหว่างการขนส่ง เพื่อบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมต่าง ๆ ของเรา ให้กลายเป็นโซลูชั่นที่สร้างผลกำไรให้กับองค์กร ขณะที่สามารถสนับสนุนธุรกิจต่างๆของลูกค้าทุกท่านของเราให้ประสบผลสำเร็จ"
แนวคิดใหม่ของศูนย์นวัตกรรมของดีเอชแอลในเมืองทรัวส์ดอร์ฟ์ ประเทศเยอรมัน ได้รับการออกแบบให้มีความคล่องตัวในการติดต่อประสานงานกับลูกค้า ผู้เชี่ยวชาญ และสถาบันศึกษาในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งนี้ ผู้ชำนาญการประจำของดีเอชแอลทั้ง 50 คน ร่วมมือกันสรรสร้างโซลูชั่นแบบยั่งยืน ที่จะช่วยขับเคลื่อนการค้าของโลก และคิดค้นการบริการแบบใหม่ ๆ นับตั้งแต่การเปิดตัวเป็นครั้งแรกในปี 2550 ศูนย์ได้ช่วยสร้างนวัตกรรมด้านลอจิสติกส์ให้กับแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักมากมายทั่วโลก และช่วยสนับสนุนในการศึกษาวิจัยระดับโลก และการพัฒนาสถาบันต่าง ๆ ทั้งนี้ ศูนย์นวัตกรรมของดีเอชแอลแห่งใหม่ในสิงคโปร์ อยู่ในระหว่างการก่อสร้างและจะตั้งอยู่ภายในศูนย์ระดับภูมิภาคอันล้ำสมัยด้านซัพพลายเชนของดีเอชแอล (DHL Supply Chain Advanced Regional Center) มูลค่ากว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ
บิล เมอาล์ หัวหน้าฝ่ายการค้าของดีเอชแอล กล่าวว่า "การเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมส่งผลให้เราเป็นผู้นำในตลาดเช่นกัน วัตถุประสงค์ของศูนย์นวัตกรรมของดีเอชแอลคือการรักษาตำแหน่งความเป็นผู้นำ ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการที่มีความสร้างสรรค์อย่างเป็นเลิศ โดยสอดคล้องกับทิศทางด้านลอจิสติกส์ สังคมและเทคโนโลยีแห่งอนาคต ทีมวิจัยด้านรูปแบบและทิศทางที่เปลี่ยนแปลงของดีเอชแอล ได้วิเคราะห์และแสดงถึงการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และผลกระทบที่โดดเด่นต่อวงการลอจิสติกส์ คู่กับห่วงโซ่แห่งคุณค่าทั้งหมด (entire value chain) ผนวกกับโครงสร้างที่ได้รับการปรับปรุงของศูนย์นวัตกรรม ซึ่งช่วยให้เราสามารถค้นพบโอกาสและช่องทางใหม่ให้กับลูกค้า อีกทั้งยังช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมให้ก้าวต่อไป ในฐานะที่เป็นหนึ่งในนักขับเคลื่อนธุรกิจการค้า นวัตกรรมด้านลอจิสติกส์จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่สามารถแปรรูปอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วโลกได้อย่างง่ายดาย"
ศูนย์นวัตกรรมของดีเอชแอล - รูปโฉมใหม่
ศูนย์นวัตกรรมของดีเอชแอลในเมืองทรัวส์ดอร์ฟ์ ได้รับการปรับปรุงรูปโฉมใหม่ ตามแนวคิดของดีเอชแอลในการพัฒนานวัตกรรม ด้วยความร่วมมือกับลูกค้า และเครือข่ายร่วมงานศึกษาวิจัยและในแวดวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ในส่วนของพื้นที่จัดงาน เช่น การประชุม และห้องทำงาน ลูกค้าสามารถเยี่ยมชมตามห้องแสดงต่าง ๆ เนื่องจากเป็นเสมือนศูนย์และห้องปฏิบัติการของทีมนักวิจัยด้านรูปแบบและแนวทางของดีเอชแอล สถานที่แห่งนี้จึงมีบทบาทสำคัญสำหรับองค์กร ในการช่วยรักษาตำแหน่งของการเป็นองค์กรที่มีแนวคิดสร้างสรรค์ที่สุดของโลก ในแวดวงอุตสาหกรรมด้านลอจิสติกส์
อาคารแห่งนี้ประกอบด้วยพื้นที่ภายในมากมาย เป็นศูนย์สำหรับแสดงรถยนต์ Formula E สัญลักษณ์ของความมุ่งมั่นของดีเอชแอลในด้านอี-โมบิลิตี้ และลอจิสติกส์แบบยั่งยืน และโซลูชั่นด้านยานยนต์ ทั้งนี้ วิสัยทัศน์ แนวทางและโซลูชั่นเพื่อวันนี้ วันข้างหน้า และวันต่อ ๆ ไปจึงได้รับการรวบรวมเชื่อมโยงไว้ในศูนย์แห่งนี้ การแสดงนวัตกรรมจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ขึ้นอยู่กับทิศทางของธุรกิจและสังคม ปัจจุบัน ศูนย์แห่งนี้ยังเป็นเหมือนสะพานเชื่อมไปยังการแสดงนวัตกรรมในที่อื่น ๆ เช่น Vision Suite ลูกค้าสามารถชมภาพยนตร์ที่จัดแสดงให้เห็นภาพของโลกในปี 2593 ซึ่งมาจากการศึกษาเกี่ยวกับลอจิสติกส์ปี 2593 ของดีเอชแอล รวมถึงกระแสนิยมที่สำคัญของโลก เช่น ระบบโลกาภิวัฒน์ การพัฒนาเข้าสู่สังคมเมือง การเปลี่ยนแปลงทางประชากรและอากาศ เป็นต้น
คุณค่าการศึกษาถึงรูปแบบและทิศทางของความเปลี่ยนแปลง - แนวทางการทำธุรกรรมทางธุรกิจทุกประเภทโดยยึดหลักความต้องการของผู้บริโภค
ทีมศึกษาวิจัยรูปแบบและแนวทางที่เปลี่ยนแปลงของดีเอชแอล มุ่งมั่นที่จะศึกษาค้นคว้าและยกระดับกระแสนิยมที่เกิดขึ้นในแวดวงลอจิสติกส์
ทั้งนี้นักวิจัยจะมุ่งประเด็นไปที่การพัฒนาด้านลอจิสติกส์ที่โดดเด่นในแต่ละปีไว้ในเรดาร์ด้านรูปแบบและแนวทางที่เปลี่ยนไปของดีเอชแอล (Logistics Trend Radar) การศึกษาถึงรูปแบบและทิศทางของความเปลี่ยนแปลงสามารถช่วยวางโครงสร้างแนวทางไปสู่โซลูชั่นทางธุรกิจที่สร้างสรรค์และยั่งยืน โดยเริ่มต้นจากการค้นหาสาระสำคัญที่เกี่ยวพันกันในเรดาร์ด้านรูปแบบและแนวทางที่เปลี่ยนไปของดีเอชแอล ตามมาด้วยการทำรายงานอย่างละเอียดในประเด็นหลัก ซึ่งทั้งหมดจะได้รับการแปลงเป็นข้อมูลไว้ใน Proof of Concepts และถูกจัดแสดงขึ้นในศูนย์นวัตกรรม ซึ่งในขั้นตอนสุดท้าย โซลูชั่นและผลิตภัณฑ์เหล่านี้ จะได้รับการนำเสนอไปยังหน่วยงานย่อยที่มีความชำนาญ เพื่อนำไปปฏิบัติหรือกลายเป็นรูปแบบการดำเนินธุรกิจขององค์กรต่อไป
ล่าสุด ฝ่ายซัพพลายเชนของดีเอชแอลกับบริษัทพันธมิตร Ricoh ได้ทำการทดสอบแว่นตาอัจฉริยะได้สำเร็จ และซอฟต์แวร์เออาร์ (augmented reality software) หรือเทคโนโลยีใหม่ ที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริงให้เข้ากับโลกเสมือนในประเทศเนเธอแลนด์ ทำให้การปรับปรุงการเก็บสินค้าในคลังเพิ่มประสิทธิภาพได้ถึงร้อยละ 25 และในตอนนี้ ดีเอชแอลกำลังใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี wearables ในหน่วยงานต่าง ๆ และความร่วมมือกับคู่ค้าทางธุรกิจในอนาคต ส่วนนวัตกรรมที่มีความเป็นไปได้ในอนาคตจะรวบรวมไว้ในรายงานที่เรียกว่า 'Self Driving Vehicles in Logistics' เป็นการเน้นย้ำถึงสาระที่สำคัญ และโอกาสที่ชัดเจนของเทคโนโลยีอัตโนมัติในด้านลอจิสติกส์ ด้วยการนำมาตรการและวิธีการที่ดีมาใช้ประโยชน์ และยังเป็นการแสดงถึงคุณประโยชน์ของยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติที่มีต่อห่วงโซ่แห่งคุณค่าด้านลอจิสติกส์โดยรวม อาทิ การขนส่งอัตโนมัติ และเครื่องมือช่วยยกสินค้าอัตโนมัติในคลังสินค้า ไปจนถึงการบริการนำส่งช่วงสุดท้าย เป็นต้น
อินเตอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ หรือ Internet of Things (IoT) และการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(eCommerce) นวัตกรรมที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กร
รายงานรูปแบบและแนวทางการเปลี่ยนแปลงล่าสุดโดย Cisco Systems เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ ได้ประมาณการว่าจะมีอุปกรณ์กว่า 50 พันล้านเครื่องสามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตภายในปี 2563 โดยในปัจจุบันมีแล้วกว่า 15 พันล้านเครื่อง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง หลังจากมีการคิดค้นทางเลือกใหม่ในการขนส่งสินค้าช่วงสุดท้ายให้กับลูกค้า รวมถึงการดำเนินการในคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพ และการขนส่งตู้ลำเลียงสินค้า ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ของบริษัท Cisco พบว่าอินเตอร์เน็ต ออฟ ธิงส์จะมีมูลค่าสูงขึ้นถึง 8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐทั่วโลกในทศวรรษหน้า ทั้งนี้จะช่วยสร้างมูลค่าให้กับวงการลอจิสติกส์และซัพพลายเชนได้ถึง 1.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
ภายในสิบปีข้างหน้า การค้าขายปลีกออนไลน์จะมีความสำคัญยิ่งขึ้นไปอีก ไม่เพียงแต่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่รวมถึงในตลาดการค้าที่ผุดขึ้นมาใหม่ด้วย การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (eCommerce) คาดว่าปริมาณการค้าโดยรวมของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 ภายในปี 2568 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 สำหรับตลาดเกิดใหม่หรือประเทศกำลังพัฒนา โดยมีลอจิสติกส์เป็นตัวแปรสำคัญต่อการพัฒนานี้ นับเป็นการค้นพบที่สำคัญอย่างหนึ่งของดอยช์ โพสต์ ในการศึกษาร้านค้าอิเล็คทรอนิกส์ระดับโลกปี 2568 (Global E-Tailing 2025 Study) ในปี 2556 ตลาดการขายทางไกลทั่วโลก (global distance selling market) มีมูลค่า 616 พันล้านยูโร และจะเติบโตขึ้นร้อยละ 10.7 ต่อปีจนถึงปี 2561 ด้วยเหตุนี้ กลุ่มบริษัทดอยช์ โพสต์ ดีเอชแอลจึงมุ่งพัฒนาโซลูชั่นต่าง ๆ เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นของธุรกิจเหล่านี้ และลูกค้าทางธุรกิจประเภทออนไลน์ ทั้งนี้แอพพลิเคชั่นที่ใช้งานง่ายและปลอดภัย รวมถึงนวัตกรรมด้านการบริการส่งสินค้าในช่วงสุดท้ายให้ถึงมือผู้บริโภค จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่บริษัทกำลังเร่งพัฒนาด้วยเช่นกัน
แมทเธียส เฮาเกอร์ รองประธานอาวุโส ด้านกลยุทธ์การตลาดและการพัฒนาโซลูชั่นและนวัตกรรมด้านลูกค้าของดีเอชแอล กล่าวว่า "ประสบการณ์ได้สอนเราไว้ว่านวัตกรรมต้องทำมาเพื่อลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญ บริษัทที่ประสบความสำเร็จในการคิดค้นนวัตกรรมที่ดีที่สุด เพราะคอยรับฟังความต้องการของลูกค้า พร้อมแบ่งปันข้อมูลที่เป็นประโยชน์และแนวทางที่มีประสิทธิภาพให้ในแวดวงธุรกิจและอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อความร่วมมือที่ดี โดยศูนย์นวัตกรรมของดีเอชแอลมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่สร้างสรรค์ นำแนวคิดที่ดีเพื่อต่อยอดให้เป็นโซลูชั่นที่แท้จริง โดยผ่านการพัฒนาและทดสอบ และพร้อมใช้ในตลาดการค้าได้"
ผู้บุกเบิกในแวดวงธุรกิจด้วยการคิดค้นนวัตกรรมมากมาย
กลุ่มบริษัทดอยช์ โพสต์ ดีเอชแอลนับว่ามีผลงานที่น่าประทับใจมากมายในส่วนของนวัตกรรมต่าง ๆ ทั้งนี้ในส่วนของการขนส่งด่วนในปี 2512 นับเป็นผู้ก่อตั้งอุตสาหกรรมนี้ขึ้นมา เป็นองค์กรแรกที่บอกระยะการดำเนินการขนส่งตามเครือข่ายสากลทั่วโลก และเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีการเปิดตัวดีเอชแอล เทอร์โมเน็ต (DHL Thermonet) มาตรวัดอุณหภูมิที่มีประสิทธิภาพให้กับซัพพลายเชนตลอด 24 ชั่วโมง นับเป็นประโยชน์อย่างมากในด้านวิทยาศาสตร์ทางชีวิตและลูกค้าด้านการบริการดูแลสุขภาพ ทั้งนี้โซลูชั่นสมาร์ทเซ็นเซอร์และแอพพลิเคชั่น Resilience 360 ยังช่วยเสริมความปลอดภัยและประหยัดด้านการบริการขนส่ง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในอุตสาหกรรมสินค้าที่มีราคาสูง และใส่ใจในการรักษาสิ่งแวดล้อม ความแออัดของสังคมเมือง และอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการบริการขนส่งสินค้าในช่วงสุดท้าย (last-mile delivery) กลุ่มบริษัทดอยช์ โพสต์ ดีเอชแอลยังได้ก่อตั้ง Packstation พร้อมตู้ล็อคเกอร์เก็บพัสดุ 2,750 ตู้ ที่มีอยู่ใน 1,600 เมืองในเยอรมันนี รวมถึงแนะนำ StreetScooter ยานพาหนะพลังงานไฟฟ้าไร้มลพิษกว่า 140 คัน ที่มีส่วนช่วยให้เมืองบอนน์กลายเป็นต้นแบบของเมืองที่มีการบริการส่งสินค้าแบบไม่สร้างก๊าซเรือนกระจก นอกจากนี้ ยังมีโดรนสี่ใบที่ได้รับการทดสอบไป ด้วยการขนส่งด้วยเครื่องโดรนเป็นครั้งแรก ณ เกาะจูสต์ในทะเลเหนือ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
บริษัท ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทย จำกัด
มัญชุตา สนุกพงศธร
ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารการตลาด
โทรศัพท์ +66 2345 5622
โทรสาร +66 285 5524
อีเมล์ Manchuta.Sanukpongsatorn@dhl.com
บริษัท อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์ จำกัด
สุจรรยา เศรษฐนันท์
ผู้บริหารงานลูกค้า
โทรศัพท์ 02-252-9871 ต่อ 566
โทรสาร 02-254-8353
อีเมล์ sujanya.s@abm.co.th