กรุงเทพฯ--23 ก.ค.--Ericsson
- การวิเคราะห์ของ Ericsson แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีความเร็วในการดาวน์โหลดอยู่ที่อันดับสาม (ทั้งความเร็วมัธยฐาน ความเร็วที่สุดขอบเซลล์และความเร็วสูงสุด) ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการในไทยยังคงจำเป็นต้องปรับปรุงความครอบคลุมแอพพลิเคชั่นเพื่อตามตลาดประเทศที่มีความครอบคลุม LTE อย่างทั่วถึงเช่นสิงคโปร์และออสเตรเลีย
- Line Facebook และ YouTube จัดเป็นสามแอพยอดนิยมที่มีการใช้งานสม่ำเสมอโดยผู้ใช้งานสมาร์ตโฟนชาวไทย
- การที่ปริมาณการรับส่งข้อมูลในเครือข่ายเคลื่อนที่ของไทยนั้นแสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพของแอพพลิเคชั่นกำลังกลายเป็นเรื่องที่สำคัญ
Ericsson ได้ทำการตีพิมพ์ ภาคผนวกในส่วนของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียประกอบรายงาน Ericsson Mobility Report โดยภาคผนวกนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างด้านต่างๆ ในภูมิภาคดังเช่นอัตราการนำสมาร์ทโฟนไปใช้ แอพพลิเคชั่นยอดนิยม การเข้าถึงเครือข่าย LTE ไปจนถึงประสิทธิภาพของเครือข่าย ผลแสดงให้เห็นว่าสมาร์ทโฟนในภูมิภาคนี้มีการใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ค การส่งข้อความและการสตรีมวีดีโอเสียส่วนใหญ่โดยมีแอพพลิเคชั่นที่ผู้คนชื่นชอบแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ในประเทศไทยนั้น แอพ Line Facebook และ YouTube จัดเป็นสามแอพยอดนิยมที่ผู้ใช้สมาร์ฟโฟนใช้งาน
Ericsson Mobility Report ยังชี้ให้เห็นด้วยว่าผลดีจากการขยายความครอบคลุม LTE และการจัดสรรคลื่นความถี่แก่ LTE ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปีที่แล้วโดยผู้ให้บริการรายใหญ่นั้นได้ส่งผลให้ความเร็วในการดาวน์โหลดเพิ่มขึ้่นในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา การที่ผู้ให้บริการรวมช่องสัญญาณ LTE อย่างต่อเนื่องจะเป็นการเพิ่มความเร็วยิ่งขึ้นไปอีกตลอดปี 2015 เมื่อเครื่องมือที่สนับสนุนมาตรฐานดังกล่าวมีให้ใช้งานในเชิงพาณิชย์มากขึ้นเรื่อยๆ
การวิเคราะห์ข้อมูลจากเว็บไซต์ Speedtest.net ของ Ookla โดย Ericsson แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคในประเทศที่มีความครอบคลุม LTE ที่กว้างขวางอย่างสิงคโปร์และออสเตรเลียจะมีประสบการณ์ใช้งานที่สิ้นเปลืองปริมาณข้อมูลหนักๆ ดีกว่าเช่นการสตรีมวีดีโอผ่านเครือข่ายเคลื่อนที่มากกว่าประเทศอื่น
คุณคามิลล่า วอลเทียร์ ประธานบริษัทอีริคสันประเทศไทยกล่าวว่า "ยิ่งผู้ใช้หาวิธีในการบริโภคข้อมูลใหม่ๆ ได้มากเท่าไหร่ การที่ผู้ให้บริการจะสามารถตอบสนองความต้องการเหล่านั้นได้ก็ยิ่งสำคัญมากขึ้นเท่านั้น"
"การเพิ่มขึ้นของปริมาณการใช้งานสมาร์ทโฟนอย่างต่อเนื่องทำให้ผู้ให้บริการจำเป็นต้องมุ่งเน้นปรับปรุงประสิทธิภาพของเครือข่าย ขยายปริมาณรองรับโดยเฉพาะในส่วนของเครือข่าย LTE เพื่อเสริมคุณภาพการใช้งานแก่ผู้ใช้" คุณคามิลล่าเสริม
รายงานได้มีการสรุปมุมมองต่อว่าอุตสหกรรมโทรคมนาคมในประเทศไทย ดังนี้
- จำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือยังคงมีอัตราการเพิ่มอย่างต่อเนื่อง โดยในสิ้นปี2015 คาดว่าจะมีจำนวนถึง 98 ล้านเลขหมาย (ประมาณ 147% จากจำนวนประชากรโดยรวม) เพิ่มจาก 93.6 ล้านเลขหมาย (ประมาณ 140%) เมื่อสิ้นสุดไตรมาสที่สองของปี 2015
- 7 ใน 10 คนจะมีการใช้สมาร์ทโฟนภายในปี 2020 โดยจะเห็นได้ว่าในไตรมาสที่หนึ่งของปี 2015 นั้นมียอดขายโทรศัพท์มือถือมากกว่า 4.3 ล้านเครื่อง ซึ่งกว่า 76% ของยอดขายทั้งหมดนั้นเป็น สมาร์ทโฟน โดยกว่า 17% นั้นยังสามารถรองรับระบบ LTE/4G ได้อีกด้วย
- ผู้พัฒนาเว็บไซค์ต่างๆ ควรมีการออกแบบเว็บไซค์ของตนให้รองรับการเข้าถึงผ่านสมาร์ทโฟนได้แล้ว
- การรับส่งข้อมูลบนโทรศัพท์มือถือจะเพิ่มขึ้น 9 เท่าภายใน 6 ปี โดยการรับส่งข้อมูลวีดีโอจะเพิ่มขึ้น 13 เท่า ในช่วงเวลาเดียวกันอีกด้วย และโดยข้อมูลวีดีโอนั้นจะมีปริมาณมากกว่ากว่าร้อยละ 60 ของปริมาณการรับส่งข้อมูลบนเครือข่ายเคลื่อนที่ทั้งหมด ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้ว่า วิดีโอถือเป็นตัวที่สร้างปริมาณการใช้งานการรับส่งข้อมูลบนเครือข่ายที่มากที่สุด รองลงมาเป็นโซเชียลมีเดีย
- Line Facebook และ YouTube จัดเป็นสามแอพยอดนิยมที่มีการใช้งานสม่ำเสมอโดยผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนชาวไทย
- สังคมไทยกำลังมีการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ สังคมเครือข่าย (Networked Society) อย่างรวดเร็วผ่านการเชื่อมต่อแบบไร้สาย หรือ Mobility
- กลุ่มเด็กและวัยรุ่น การขยายตัวของสังคมเมือง และ การเข้าถึงและใช้สมาร์ทโฟนที่สูงขึ้น ต่างเป็นปัจจัยผลักดันให้เกิดพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยี ICT มากขึ้นอีกด้วย ซึ่งก็จะช่วยให้สังคมไทยได้รับประโยชน์จาก Networked Society หรือ สังคมเครือข่าย และ ระบบเศรษฐกิจ on-line หรือ Digital Economy นั้นเอง
- สังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่การสื่อสารแบบเต็มรูปแบบ (Rich Communications) กับไลฟสไตล์ที่ผูกติดกับการเชื่อมต่อมากขึ้นโดยจากงานวิจัยพบว่า
- 23% ของคนไทยมองว่า โซเชียลมีเดียและการส่งข้อความ (Instant Messaging : IM) นั้นมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวันของพวกเขา
- 89% ของคนไทยใช้งานโซเชียลมีเดียในทุกๆ สัปดาห์
- คนไทยมีความนิยมในการดูวิดีโอและใช้แอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนที่สูงมากขึ้น
- นอกจากนี้ จากงานวิจัยพบว่าประเทศไทยมีความเร็วในการดาวน์โหลดอยู่ที่อันดับสาม ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียแต่ผู้ให้บริการในไทยยังคงจำเป็นต้องปรับปรุงความครอบคลุมแอพพลิเคชั่นเพื่อตามตลาดประเทศที่มีความครอบคลุม LTE อย่างทั่วถึงเช่นสิงคโปร์และออสเตรเลีย
- การเข้าถึงคลื่นความถี่กลายเป็นปัจจัยหลักที่จะช่วยให้เครือข่ายมือถือต่างสามารถตอบสนองปริมาณการรับส่งข้อมูลบนโทรศัพท์มือถือจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและที่สำคัญยังสามารถรองรับความต้องการของภาคธุรกิจต่างๆในการทำธุรกรรม On-line ที่สูงขึ้นผ่านโทรศัพท์มือถือและสมาร์ทโฟนอีกด้วย
- ทั้งนี้ สังคมเครือข่าย (Networked Society) ทำให้ผู้คน ธุรกิจและสังคมของเราสามารถที่จะพัฒนาและเข้าถึงศักยภาพของตนเองได้สูงสุดและสร้างอนาคตที่ยั่งยืนต่อไป โดยใช้ประโยชน์จาก เทคโนโลยี โมบาย คลาวด์ และ บรอดแบนด์ โดยสังคมแห่งเครือข่าย (Networked Society) กลายเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ผลักดันให้เกิดการขยายตัวและเพิ่มขีดความสามารถในระบบ Digital Economy ทั้งในภาคธุรกิจและสังคมไทยโดยรวม