กรุงเทพฯ--27 ก.ค.--สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสกรณ์
"รัฐมนตรีเกษตรฯ" ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งเขื่อนเจ้าพระยา สั่งกรมชลประทานจัดตารางรอบเวรน้ำ ยาวกว่า 1 สัปดาห์ พร้อมประสานผู้ว่าฯ ฝ่ายทหารรับทราบแผนเร่งสร้างเข้าใจเกษตรกร หลังระบายน้ำเพื่อการเกษตรจาก 4 เขื่อนหลักเฉลี่ยวันละ 6 ล้านลบ.ม. จี้จนท.ลงพื้นที่รับฟังปัญหาเกษตรกรถี่ขึ้น
นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์น้ำ ณ เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ตรวจเยี่ยมศูนย์ช่วยเกษตรกร พร้อมลงพื้นที่รับฟังปัญหาจากเกษตรกร ในพื้นที่ปลูกข้าวที่อยู่ในช่วงกำลังตั้งท้องออกรวงในโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชัณสูตร อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี ว่า สถานการณ์น้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาขณะนี้เริ่มดีขึ้น โดยปริมาณน้ำไหลผ่าน 95 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำเหนือเขื่อน +14.19 ม.รทก. ซึ่งสามารถส่งน้ำเข้าระบบทั้งทุ่งฝั่งตะวันออก และทุ่งฝั่งตะวันตก โดยกรมชลประทานได้วางแผนจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตรวันละ 6 ล้าน ลบ.ม. จากแผนการระบายน้ำจาก 4 เขื่อนหลักทั้งสิ้น 19 ล้านลบ.ม. ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถจัดลำดับความสำคัญในพื้นที่เสี่ยงที่ได้ทำการสำรวจไว้แล้ว ก็ได้สั่งการให้กรมชลประทานจัดรอบเวรน้ำให้ยาวขึ้นจากเดิมที่ทำแผนเป็นช่วงระยะเวลา 7 วัน และประสานกับทีมเจ้าหน้าที่เกษตรกรที่ลงไปเยี่ยมเยียนเกษตรกรเพื่อรับฟังปัญหาความเดือนร้อนต่างๆ รวมถึงผู้ว่าราชการจังหวัดและฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา 22 จังหวัด เพื่อบูรณาการในการสร้างความเข้าใจกับเกษตรกรอย่างใกล้ชิด เพื่อรักษาระเบียบการส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตรผ่านพ้นวิกฤตได้ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีปัญหาเฉพาะจุด เช่น พื้นที่ปลายน้ำ พื้นที่ดอน ซึ่งมีปัญหาการส่งน้ำ พื้นที่ข้าวตั้งท้องออกรวง และพืชสวนต่างๆ ซึ่งพบว่ายังมีหลายจุดที่น้ำยังเข้าไม่ถึง??????
ขณะเดียวกัน จากการตรวจเยี่ยมศูนย์ช่วยเหลือเกษตรกรประจำตำบล เพื่อรับข้อมูลปัญหาผ่านศูนย์ช่วยเหลือเกษตรกรประจำตำบล พบว่า การส่งทีมเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรฯ ลงไปพบปะเกษตรกรได้ผลเป็นอย่างดี หลายๆปัญหาในแต่ละพื้นที่ได้ถูกแก้ไขจากทั้งระดับเจ้าหน้าที่ ระดับจังหวัด และรายงานมายังกระทรวงเกษตรฯ
สำหรับแผนการให้ช่วยเหลือเกษตรกรทั้งในระยะเฉพาะหน้าช่วงที่ฝนยังไม่ตก และหลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว กระทรวงเกษตรฯ ได้วางมาตรการให้ความช่วยเหลือใน 1.การส่งเสริมเกษตรกรปลูกพืชน้ำน้อยที่ภาครัฐจะเข้ามาดูแลเรื่องการตลาดให้ 2.การสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยงต่ำเพื่อให้เกษตรกรลงทุนสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กประจำไร่นา โดยไม่เพิ่มความเสี่ยงด้านการลงทุนให้แก่เกษตรกร 3. การจ้างงานปรับปรุงระบบชลประทาน ในช่วงที่ไม่สามารถทำการเกษตรกรได้ ซึ่งจะเริ่มจ้างงานได้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมนี้ 4. การส่งเสริมการทำฟาร์มตัวอย่างในชุมชนตามแนวทางพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เพื่อเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนที่ว่างงาน หรือไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง สามรถเข้ามาทำการเกษตรเพื่อการบริโภคในชุมชน หรือจำหน่าย
ส่วนแผนในระยะต่อไปที่ต้องเร่งนำเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณา คือ การปรับปรุงแหล่งน้ำขนาดเล็กในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาที่ได้มอบองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นไปดูแล ก็จะนำมาพิจารณาแนวทางดำเนินการโดยเร่งด่วน ควบคู่กับการปรังปรุงประตูน้ำต่างๆ บริหารจัดการน้ำ เพื่อให้มีเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ด้านนายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานมีเครื่องจักรเครื่องมือพร้อมที่จะเข้าไปให้ความช่วยเหลือในการสูบน้ำจากแหล่งน้ำอื่นๆ ทั้งบึงธรรมชาติที่มีน้ำกักเก็บอยู่ รวมถึงการได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน เข้าไปสูบน้ำในบ่อทราย เพื่อนำมาช่วยเหลือภาคการเกษตรให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด