ฟิทช์ปรับแนวโน้มอันดับเครดิต จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เป็นมีเสถียรภาพ; คงอันดับเครดิต ที่ ‘BBB+(tha)’

ข่าวหุ้น-การเงิน Monday July 27, 2015 11:01 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 ก.ค.--ฟิทช์ เรทติ้งส์ บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศปรับแนวโน้มอันดับเครดิตของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GMM เป็นมีเสถียรภาพ จากเดิมเป็นบวก ในขณะเดียวกันฟิทช์ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term rating) ที่ ‘BBB+(tha)’ และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น (National Short-Term rating) ที่ ‘F2(tha)’ การปรับแนวโน้มอันดับเครดิตดังกล่าวสะท้อนถึงการคาดการณ์ของฟิทช์ที่ว่า อัตราส่วนหนี้สินของบริษัทฯ จะปรับตัวลดลงช้ากว่าที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากธุรกิจดิจิตอลทีวีน่าจะถึงจุดคุ้มทุนช้ากว่าที่คาด โดยฟิทช์คาดว่าอัตราส่วนหนี้สินสุทธิที่ปรับปรุงแล้วต่อกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่ายและค่าเช่า (Adjusted Net Debt to EBITDAR) – รวมผลการดำเนินการและหนี้สินของบริษัท จีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี เทรดดิ้ง จำกัด หรือ ONE ที่บริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 51 – น่าจะคงอยู่ในระดับสูงกว่า 3.5 เท่า ในช่วงสองปีข้างหน้า ซึ่งเป็นระดับที่ฟิทช์อาจพิจารณาปรับเพิ่มอันดับเครดิต ปัจจัยที่มีผลต่ออันดับเครดิต ความไม่แน่นอนในธุรกิจดิจิตอลทีวี ฟิทช์คาดว่าธุรกิจดิจิตอลทีวีของ GMM จะยังคงเผชิญกับความท้าทายในช่วงสองปีข้างหน้าจากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น ในขณะที่รายได้จากธุรกิจดิจิตอลทีวีอาจเติบโตสูงในปี 2558 และ 2559 โดยได้รับการสนับสนุนจากรายการใหม่ที่เพิ่มขึ้นและจำนวนผู้ชมในระบบทีวีดิจิตอลที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตามจำนวนผู้ประกอบการรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมดิจิตอลทีวี อาจส่งผลให้การแข่งขันด้านราคาสูงกว่าที่คาดไว้ ซึ่งอาจส่งผลทำให้การปรับตัวเพิ่มขึ้นของรายได้ล่าช้ากว่าที่คาด อัตราส่วนหนี้สินทางการเงินที่ยังอยู่ในระดับสูง ค่าประมูลใบอนุญาตดิจิตอลทีวีที่สูง ค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนในธุรกิจดิจิตอลทีวีที่เพิ่มขึ้น และกระแสเงินสดที่ยังคงอ่อนแอ น่าจะส่งผลให้อัตราส่วนหนี้สินของ GMM ยังคงอยู่ในระดับสูงในระดับ 6.0-7.0 เท่า ในปี 2558 อย่างไรก็ตาม กำไรที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากธุรกิจดิจิตอลทีวีจากปี 2559 เป็นต้นไป น่าจะทำให้อัตราส่วนหนี้สินของบริษัทปรับตัวดีขึ้น ฟิทช์คาดว่าอัตราส่วน Adjusted Net Debt to EBITDAR ของ GMM น่าจะปรับลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 3.5-4.5 เท่าในปี 2559-2560 ทั้งนี้ หากอัตราการเติบโตของธุรกิจดิจิตอลทีวีอยู่ในระดับต่ำกว่าที่คาด อาจส่งผลให้การปรับตัวลดลงของอัตราส่วนหนี้สินช้ากว่าที่คาดเช่นกัน อัตราส่วนกำไรถูกกดดันจากกำไรจากธุรกิจดิจิตอลทีวี กำไรจากธุรกิจดิจิตอลทีวีของ GMM ในช่วงเริ่มต้นของธุรกิจที่ยังอยู่ในระดับต่ำจะกดดันอัตราส่วนกำไรโดยรวมของ GMM ในปี 2558 อย่างไรก็ตามอัตราส่วนกำไรของบริษัทน่าจะปรับตัวดีขึ้นในปี 2560 เป็นต้นไป เมื่อรายได้จากธุรกิจดิจิตอลทีวีปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ของธุรกิจดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่แปรผันตามรายได้ รายได้ที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลโดยตรงต่อกำไรของบริษัท ผู้นำในธุรกิจสื่อและบันเทิง GMM เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจสื่อและบันเทิงแบบครบวงจรในประเทศไทย โดยเป็นผู้นำในธุรกิจเพลงภายในประเทศด้วยส่วนแบ่งทางการตลาดมากกว่าร้อยละ 70 ของยอดขายในอุตสาหกรรมในปี 2557 บริษัทเป็นหนึ่งในผู้ผลิตสื่อและรายการรายใหญ่ซึ่งครอบคลุมรายการและสื่อที่หลากหลายรูปแบบ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ ภาพยนต์ สิ่งพิมพ์ และ สื่อดิจิดอล ฟิทช์คาดว่าธุรกิจเพลงและโทรทัศน์จะยังคงเป็นธุรกิจหลักที่สร้างรายได้สูงสุดให้กับ GMM ต่อไปในอีก 3-5 ปีข้างหน้า สมมุติฐานที่สาคัญ สมมุติฐานที่สาคัญของฟิทช์ที่ใช้ในการประมาณการ - รายได้จากธุรกิจดิจิตอลทีวีมีการเติบโตสูงในปี 2558 -2559 - อัตราส่วนกำไรปรับตัวสูงขึ้น ในปี 2558 -2559 - ค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนประมาณ 1 พันล้านบาทต่อปี ในช่วงปี 2558-2559 (รวมค่าใช้จ่ายลงทุนของ ONE ในสัดส่วนร้อยละ 51) - อัตราส่วนหนี้สินคำนวณโดยรวมผลการดำเนินงานและหนี้สินของ ONE ในสัดส่วนร้อยละ 51 เนื่องจาก GMM ลดสัดส่วนการถือหุ้นใน ONE ลงเป็นร้อยละ 51 ในเดือนมีนาคม 2558 จากเดิมที่ถือหุ้นทั้งหมด ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต ปัจจัยที่อาจส่งผลให้มีการปรับเพิ่มอันดับเครดิต - บริษัทสามารถสร้างกระแสเงินสดจากธุรกิจดิจิตอลทีวีที่แข็งแกร่ง ส่งผลให้บริษัทมีกระแสเงินสดสุทธิเป็นบวก (Positive free cash flow) และมีอัตราส่วน Adjusted Net Debt to EBITDAR (รวม ONE ในสัดส่วนร้อยละ 51) ต่ำกว่า 3.5 เท่า อย่างต่อเนื่อง ปัจจัยที่อาจส่งผลให้มีการปรับลดอันดับเครดิต - อัตราส่วน Adjusted Net Debt to EBITDAR (รวม ONE ในสัดส่วนร้อยละ 51) ยังคงสูงกว่า 4.5 เท่า อย่างต่อเนื่อง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ