เอ็มเอฟซีขายกองทุนทาร์เก็ตฟันด์ I-OIL5S1 วันนี้-5 สิงหาคมนี้

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday July 28, 2015 14:26 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--28 ก.ค.--บลจ.เอ็มเอฟซี เอ็มเอฟซีเปิดขายกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล ออยล์ 5 ซีรี่ส์ 1 (I-OIL5S1) ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว ตั้งเป้าหมายเลิกโครงการร้อยละ 5 ภายใน 5 เดือน เปิดขายวันนี้- 5 สิงหาคม 2558 นางสาวประภา ปูรณโชติ กรรมการผู้จัดการ บลจ. เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เอ็มเอฟซีเสนอขายกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล ออยล์ 5 ซีรี่ส์ 1 หรือกองทุนเปิด I-OIL5S1 มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน United States Oil Fund LP (“USO”) ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ NYSE Arca บริหารจัดการโดย United States Commodity Funds, LLC โดยกองทุนเปิด I-OIL5S1 จะลงทุนในกองทุน USO โดยเฉลี่ยในรอบบัญชีไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยตั้งเป้าหมายเพื่อเลิกกองทุน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ภายใน 5 เดือน และกองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามสภาวการณ์ ทั้งนี้กองทุน USO ลงทุนในสัญญาฟิวเจอร์ที่อ้างอิงกับราคาน้ำมันดิบคุณภาพดี น้ำมันดิบประเภทอื่น ดีเซลหุงต้ม น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ และเชื้อเพลิงปิโตรเลียมอื่นๆ ที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ NYMEX, ICE Futures Exchange หรือตลาดหลักทรัพย์อื่นในอเมริกาและต่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์การลงทุนเพื่อให้อัตราการเปลี่ยนแปลงรายวันของมูลค่าสุทธิของหน่วยลงทุนสะท้อนอัตราการเปลี่ยนแปลงรายวันของราคาน้ำมันดิบคุณภาพดี ซึ่งวัดจากการเปลี่ยนแปลงของดัชนีอ้างอิง Benchmark Oil Futures Contract จากข้อมูลของสายบริหารกองทุนของเอ็มเอฟซี มองว่ามีปัจจัยบวกต่อราคาน้ำมันในครึ่งปีหลังคือ ปริมาณสต๊อกน้ำมันดิบสหรัฐที่ทำระดับสูงสุดในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เนื่องจากกิจกรรมเศรษฐกิจของสหรัฐที่ชะลอตัวนั้น กำลังปรับตัวลงต่อเนื่องสู่ระดับ 463 ล้านบาร์เรล แต่ Demand น้ำมันไม่ได้ลดลง ด้านอิหร่าน และสหประชาติชาติ (UN) ได้บรรลุข้อตกลงในการหยุดพัฒนาและใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ได้สำเร็จ ณ วันที่ 14 ก.ค. 58 ที่ผ่านมา ซึ่งได้ทำให้ตลาดกังวลถึงการยกเลิกการคว่ำบาตร และปริมาณน้ำมันดิบที่จะเข้ามาในตลาด ซึ่งอาจสูงถึง 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม จากมุมมองของบลจ. เอ็มเอฟซี และสำนักวิจัยหลายแหล่งทั่วโลก มองว่าการที่สหรัฐฯ จะต้องมีการยื่นส่งเรื่องเข้าสภาคองเกรส และสหประชาชาติ ยังคงต้องเข้าไปตรวจสอบอิหร่าน ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวต้องใช้เวลา การยกเลิกการคว่ำบาตรทางการค้าอย่างเป็นทางการจึงอาจเกิดขึ้นอย่างเร็วที่สุดในเดือนธ.ค. 58 อิหร่านจึงต้องใช้เวลาราว 6-7 เดือน หลังจากการยกเลิกการคว่ำบาตรในการเพิ่มการผลิตน้ำมันขึ้นสู่ระดับ 8 แสนถึง 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่ Supply จากอิหร่านน่าจะมาเร็วที่สุดคือครึ่งปีหลังของปี 2559 อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันปรับตัวลงมากว่า -20.5% จากระดับ $60 มาที่ $48 และเข้าใกล้ระดับแนวรับใหญ่ในรอบ 7 ปี ที่ $45 ซึ่งได้ priced in ความกังวลดังกล่าวไปแล้ว ทั้งนี้ถือเป็นจังหวะการลงทุนที่ดีของกองทุนเปิด I-OIL5S1 เนื่องจากความต้องการน้ำมันดิบทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นในอนาคต และการผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจากแท่นเจาะน้ำมันที่ลดลงกว่า 50% นักวิเคราะห์ได้มองภาวะ Demand/Supply ที่จะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า สำหรับกองทุนเปิด I-OIL5S1 จะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเข้ากองทุนเปิด MM-GOV ไม่ต่ำกว่าหน่วยลงทุนละ 10.50 บาท และบริษัทจะเลิกโครงการกองทุนดังกล่าว ภายใน 5 เดือนแรกเมื่อมูลค่าหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 10.60 บาทขึ้นไปเป็นเวลา 3 วันทำการติดต่อกันและทรัพย์สินเป็นเงินสดทั้งหมดในสกุลเงินบาท หรือหลัง 5 เดือนแรกเมื่อมูลค่าหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 10.55 บาทขึ้นไปเป็นเวลา 3 วันทำการติดต่อกันและทรัพย์สินเป็นเงินสดทั้งหมดในสกุลเงินบาท กองทุนเปิด I-OIL5S1 เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการโอกาสของผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศซึ่งมีนโยบายลงทุนในสัญญาฟิวเจอร์สที่อ้างอิงกับราคาน้ำมันดิบคุณภาพดี โดยสามารถรับความเสี่ยงจากการลงทุนในต่างประเทศ รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการลงทุนในต่างประเทศ ผู้สนใจสามารถลงทุนขั้นต่ำได้ตั้งแต่ 10,000 บาท และติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง ของกองทุนหรือหนังสือชี้ชวนได้ที่บลจ. เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) โทรศัพท์ 0-2649-2000 ติดต่อฝ่ายวางแผนการลงทุน กด 2 หรือ Contact Center กด 0 หรือที่ www.mfcfund.com หรือสาขาเซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ โทร. 02-835-3055-57 สาขาขอนแก่น โทร.043-204-014 สาขาเชียงใหม่ โทร. 053-288-955 สาขาภูเก็ต โทร.076-307-070 และสาขาเซ็นทรัลพลาซา ระยอง โทร. 038-942-960

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ