กรุงเทพฯ--10 ส.ค.--ปตท.
สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ลดลง 3.68 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 49.45 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) ลดลง 2.66 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 50.37 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบเวสท์เท็กซัสฯ (WTI) ลดลง 3.04 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 44.92 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ลดลง 1.22 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 71.60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลลดลง 1.66 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 58.39 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปัจจัยที่ส่งผลกระทบได้แก่
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
· Baker Hughes รายงานปริมาณแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 7 ส.ค. 58 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 6แท่น มาอยู่ที่ระดับ 670 แท่น เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 และแตะระดับสูงสุดตั้งแต่เดือน พ.ค. 58
· Reuters คาดการณ์ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่ม OPEC เดือน ก.ค. 58 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 0.14 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ระดับ 32.01 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นรายเดือนมากที่สุดตั้งแต่ปี 2551
· Bloomberg รายงานปริมาณส่งออกน้ำมันดิบ Brent, Forties, Oseberg and Ekofisk (BFOE) จากแหล่งในทะเลเหนือเดือน ก.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 980,000 บาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 12.5% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 56
· สำนักสถิติแห่งชาติจีนเปิดได้เผย Manufacturing PMI ของบริษัทภาคการผลิตขนาดใหญ่ ในเดือน ก.ค. 58 ลดลงจากเดือนก่อน 0.2 จุด มาอยู่ที่ 50.0 จุด และ ก่อนหน้านี้ Caixin/Markits รายงาน Manufacturing PMI สำหรับบริษัทขนาดเล็กลดลงจากเดือนก่อน 1.6 จุด มาอยู่ที่ 47.8 จุด และเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันที่อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 จุด บ่งบอกการหดตัวอย่างต่อเนื่อง จากภาคอุตสาหกรรมของจีนที่อ่อนแอ
· Reuters ร่วมกับมหาวิทยาลัย Michigan รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯ (Consumer Confidence Index) เดือน ก.ค. 58 ลดลงจากเดือนก่อน 3 จุด มาอยู่ที่ระดับ 93.1 จุด แตะระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือน พ.ค. 58 และ ต่ำกว่าผลสำรวจนักวิเคราะห์โดย Reuters ที่คาดว่าอยู่ที่ 94 จุด
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก
· EIA รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ของสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 31 ก.ค. 58 ลดลงอยู่ที่ระดับ455.28 ล้านบาร์เรล ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 4.41 ล้านบาร์เรล และปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบลดลง 365,000บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ระดับ 7.18 MMBDล้านบาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ระดับ 7.18 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 52,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 9.47 ล้านบาร์เรลต่อวัน
· Ministry of Trade, Industry and Energy ของเกาหลีใต้เผยตัวเลขคาดการณ์ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบเดือน ก.ค. 58 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 12.6% อยู่ที่ระดับ 91.6 ล้านบาร์เรล มากกว่าเดือน มิ.ย. 58 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 80 ล้านบาร์เรล
· National Development and Reform Commission (NDRC) ของจีน ปรับเพิ่มโควตาการนำเข้าน้ำมันดิบให้แก่บริษัทโรงกลั่นน้ำมันอิสระ ได้แก่ Baota Petrochemical Group และ Paijin Beifang Asphalt Fuel Co. ที่ได้โควตานำเข้าน้ำมันดิบ 123,200 บาร์เรลต่อวัน และ 140,000 บาร์เรลต่อวัน ตามลำดับ อนึ่งตั้งแต่เดือน ก.พ. 58 จนถึงปัจจุบันจีนปรับเพิ่มโควตาโดยรวมแล้ว 715,800 บาร์เรลต่อวัน
· กระทรวงเศรษฐกิจของเยอรมนีรายงาน คำสั่งซื้อในภาคการผลิต (Factory Orders) ของเยอรมนีเดือน มิ.ย. 58เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 2.0% และสูงกว่าผลสำรวจนักวิเคราะห์โดย Bloomberg ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน0.3% โดยคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ (Export Orders) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 4.8% และคำสั่งซื้อสินค้าทุน (Investment-goods Demand) จากประเทศนอกกลุ่มยูโรโซนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 8.8% ในขณะที่คำสั่งซื้อในประเทศลดลง (Domestic Factory Orders) ลดลง 0.2%
· Markits รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Manufacturing Purchasing Managers’ Index – PMI)ของยูโรโซน ในเดือน ก.ค. 58 คงที่อยู่ในระดับสูงที่ 52.4 จุด ซึ่งระดับที่เกิน 50 จุด เป็นระดับบ่งบอกการขยายตัวในภาคการผลิต
แนวโน้มราคาน้ำมันดิบ
ราคาน้ำมันดิบในตลาดซื้อขายล่วงหน้า ICE Brent และ NYMEX WTI ผันผวนจากความราคาน้ำมันดิบดิ่งลงต่อเนื่องโดย ICE Brent ปิดตลาดต่ำกว่าระดับ 50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา และน้ำมันดิบ NYMX WTI ใกล้เคียงระดับต่ำสุดในรอบปี โดยมีปัจจัยพื้นฐานทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน โดยในด้านอุปสงค์นักลงทุนยังคงกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจของจีน ถึงแม้ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบจะยังอยู่ในระดับสูง แต่เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวล่าสุดทั้งปริมาณนำเข้า และส่งออกของจีน ในเดือน ก.ค. 58 อยู่ที่ลดลงจากปีก่อน 8.1% และ 8.3% ตามลำดับ ส่งผลให้ยอดเกินดุลการค้าลดลงจากปีก่อน 9% มาอยู่ที่ 4.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่ำกว่าผลสำรวจนักวิเคราะห์โดย Reuters คาดการณ์ที่ 5.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทางด้านอุปทาน ปริมาณการผลิตของแหล่งน้ำมันดิบในทะเลเหนือคาดว่าจะทำระดับสูงสุดในรอบปี กดดันราคาน้ำมันดิบ Brent ประกอบกับจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบ (Oil Rig Count) ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 7 ส.ค. 58 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 6 แท่น มาอยู่ที่ 670 แท่น เพิ่มต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 อย่างไรก็ตามควรจับตามองทิศทางของนักลงทุนสัญญาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นในตลาดซื้อขายล่วงหน้า สวนทางกับปัจจัยพื้นฐาน ดังเช่นเห็นในไตรมาสแรกของปี ทางด้านเทคนิคในสัปดาห์นี้ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 47.7 – 52.3 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดิบ NYMEX WTI อยู่ที่ 43.2 - 47.8 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
สถานการณ์ราคาน้ำมันเบนซิน
สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันเบนซินปรับตัวลดลงจาก Energy Information Administration (EIA) รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุด 31 ก.ค. 58 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 0.8 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 216.7 ล้านบาร์เรล อีกทั้ง International Enterprise Singapore (IES) รายงานปริมาณสำรอง Light Distillates เชิงพาณิชย์ในสิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุด 5 ส.ค. 58 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 0.9 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 12.6 ล้านบาร์เรล สูงสุดในรอบ 7 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม Petroleum Association of Japan (PAJ) รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ในญี่ปุ่น สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 ส.ค. 58 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 3.7% มาอยู่ที่ 9.85 ล้านบาร์เรล ลดลงต่อเนื่อง 3 สัปดาห์ เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศเพิ่มขึ้นสูงในช่วงขับขี่ท่องเที่ยว ก่อนจะสิ้นสุดในเดือน ส.ค. 58 สัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดีเซลจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 67.78-72 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล
สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดีเซลปรับลดลงจาก โรงกลั่นน้ำมัน Mizushima (250,000 บาร์เรลต่อวัน) ของ JX Nippon Oil & Energy Corp. ในญี่ปุ่นกลับมาดำเนินการ Crude Distillation Unit No.1 (CDU: 110,000 บาร์เรลต่อวัน) หลังจากปิดซ่อมบำรุงตั้งแต่ พ.ค. 58 ประกอบกับ PAJ รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดีเซล เชิงพาณิชย์ในญี่ปุ่น สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 ส.ค. 58 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 1.8% มาอยู่ที่ 11.31 ล้านบาร์เรลและ EIA รายงานปริมาณสำรอง Distillates เชิงพาณิชย์ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุด 31 ก.ค. 58 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 0.7 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 144.8 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตาม IES รายงานปริมาณสำรอง Middle Distillates เชิงพาณิชย์ในสิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุด 5 ส.ค. 58 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 0.7 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 12.2 ล้านบาร์เรล ต่ำสุดในรอบเกือบ 1 เดือน สัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดีเซลจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 54.78-59.4 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล