กรุงเทพฯ--11 ส.ค.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ร่วมกับ สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และภาคีเครือข่ายจังหวัดน่าน จัดทำโครงการพัฒนาชุมชนนำร่อง ณ จังหวัดน่าน หรือ
“น่านโมเดล” มุ่งเน้นแก้ปัญหาใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ ปัญหาเรื่องอุทกภัยและภัยแล้ง ปัญหาด้านการเกษตร และปัญหาด้านพลังงานผ่านการนำองค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมมาเป็นแม่แบบในการบริหารจัดการพื้นที่ชุมชนน่านอย่างเหมาะสม ภายใต้แนวคิด
“การออกแบบเพื่อชีวิต (Design for life)” อันประกอบไปด้วย 4 ฟังก์ชั่นหลัก ได้แก่ 1.การกักเก็บน้ำ 2.การบริหารจัดการบริโภค 3.การบำบัดน้ำเสีย 4.การผลิตเพื่อการบริโภค โดยประยุกต์การออกแบบทางศิลปะร่วมกับการสำรวจลักษณะพื้นที่ ตลอดจนใช้
องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี พัฒนาชุมชนสู่การเป็นพื้นที่ต้นแบบแห่งการพึ่งตนเอง และพัฒนาสิ่งแวดล้อม สอดคล้องตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และแนวคิด “The Master of Innovation: เจ้าแห่งนวัตกรรม” ของสถาบัน
ที่พร้อมเป็นฟันเฟืองสู่การพัฒนาชาติอย่างยั่งยืนสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ 02-329-8111 หรือเข้าไปที่ www.kmitl.ac.thผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิเชฐ โสวิทยสกุล คณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า สังคมไทยมีลักษณะการอยู่อาศัยในรูปแบบของชุมชนเป็นส่วนใหญ่ การจะพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวทันชาติที่พัฒนาแล้วนั้น จะต้องอาศัยความความร่วมมือกันของทุกๆ ชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่ของชุมชนให้สามารถพึ่งตนเอง ตลอดจนสามารถรองรับกับปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่ชุมชนเป็นไปอย่างต่อเนื่องอย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคงมีปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำระหว่างการพัฒนาเมือง และชุมชน โดยในภาคเมืองนั้นจะเป็นการพัฒนาในระบบที่มีความทันสมัยในทุกๆ ด้านให้มีความพร้อมที่จะรองรับความเจริญที่เข้ามา แตกต่างกับชุมชนที่มีระบบการพัฒนาในรูปแบบที่ค่อยเป็นค่อยไปตามความพร้อมของงบประมาณ ก่อให้เกิดความล่าช้าในการพัฒนาชุมชน จนกลายเป็นความล้าหลังในการพัฒนาประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข เพื่อให้ประเทศไทยก้าวต่อไปได้อย่างมั่นคงดังนั้น สจล. ในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่ตระหนักถึงการใช้องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาประเทศเป็นสำคัญ จึงได้ร่วมมือกับสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และภาคีเครือข่ายจังหวัดน่านในการจัดทำโครงการพัฒนาชุมชนนำร่อง ณ จังหวัดน่าน หรือ “น่านโมเดล” มุ่งเน้นการแก้ปัญหาประเทศไทยอย่างยั่งยืนใน 3 ด้าน ได้แก่ ปัญหาเรื่องอุทกภัยและภัยแล้ง ปัญหาด้านการเกษตร และปัญหาด้านพลังงาน ผ่านการนำนวัตกรรมด้านสถาปัตยกรรมมาใช้เป็นแม่แบบในการบริหารจัดการพื้นที่ชุมชนน่านอย่างเหมาะสม โดยใช้หลักการออกแบบที่ไม่ได้เป็นเพียงการนำศิลปะเข้ามาประยุกต์ใช้ แต่เป็นการย้อนกลับมาสำรวจลักษณะพื้นที่ชุมชนตั้งแต่ต้น พร้อมกับผนวกการเชื่อมโยงงานสถาปัตยกรรมเข้ากับวิถีชีวิตชุมชน ตลอดจนใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มาบูรณาการความต้องการในทุกมิติ อันได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อมกายภาพ ด้านการศึกษา ด้านความเป็นอยู่ และด้านวัฒนธรรมต่างๆ ของชุมชน เพื่อพัฒนาชุมชนสู่การเป็นพื้นที่ต้นแบบแห่งการพึ่งตนเองและพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิเชฐ โสวิทยสกุล กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดทำโครงการดังกล่าว ประกอบไปด้วย 3 พื้นที่นำร่อง ได้แก่ สวนเอเดน อำเภอเวียงสา ชุมชนต้นน้ำน่าน อำเภอท่าวังผา และศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านห้วยพ่าน อำเภอเชียงกลาง โดยดำเนินการพัฒนาภายใต้แนวคิด “การออกแบบเพื่อชีวิต (Design for life)” อันหมายถึงการออกแบบที่สามารถปรับปรุง พัฒนา หรือแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนให้กับชุมชนนั้นๆ ซึ่งโดยทั่วไปคนภายนอกมักมองว่าความยั่งยืนของชุมชนมีความหมายในทางเศรษฐกิจเป็นหลัก แต่แนวทางการดำเนินงานของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล.นั้น จะเน้นเรื่องการพัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์ในทุกมิติ ซึ่งถือเป็นโจทย์ใหญ่ของการทำงานในฐานะนักออกแบบเพื่อชุมชน ที่ไม่ใช่แค่การมีความคิดสร้างสรรค์ในด้านศิลปะ แต่ยังจำเป็นต้องเรียนรู้ศาสตร์อื่นๆ ควบคู่ไปด้วย ตั้งแต่เรื่องเกษตรกรรม การชลประทาน สิ่งแวดล้อม อาหาร การศึกษา หรืออื่นๆ เพราะทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นปัจจัยหลักในการดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืนของมนุษย์ในทุกสังคม โดยแนวคิด “การออกแบบเพื่อชีวิต
(Design for life)” ประกอบไปด้วย 4 ฟังก์ชั่นหลัก ได้แก่1. ฟังก์ชั่นการกักเก็บน้ำ ชุมชนจะได้รับการออกแบบตามกายภาพที่เหมาะสมของของพื้นที่นั้นๆ โดยพื้นที่จะถูกออกแบบให้กักเก็บน้ำได้ในหลายรูปแบบอาทิ อ่างกักเก็บน้ำ นากักเก็บน้ำ ภูเขากักเก็บน้ำ เขื่อนกักเก็บน้ำ2. ฟังก์ชั่นการบริหารจัดการบริโภค การดำเนินอุตสาหกรรม พื้นที่ในชุมชนจะถูกออกแบบให้มีบ่อน้ำที่ขนาดเล็กใหญ่แตกต่างกัน โดยแต่ละแหล่งน้ำจะมีองค์ประกอบแวดล้อมของแหล่งน้ำที่หลากหลายตามความเหมาะสม อาทิ แหล่งน้ำที่ 1 มีการปลูกข้าว ปลูกผัก ฟาร์มเห็ด แหล่งน้ำที่ 2 มีการปลูกข้าว ฟาร์มเห็ด ฟาร์มหมู แหล่งน้ำที่ 3 ปลูกข้าว ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ โดยแต่ละแหล่งน้ำจะถูกออกแบบให้ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลาย3. ฟังก์ชั่นการบำบัดน้ำเสีย ทุกชุมชนจะได้รับการออกแบบที่ผนวกฟังก์ชั่นในการบำบัดน้ำเข้าไปด้วย ผ่านรูปแบบต่าง ๆ อาทิ Treatment Grass Plot ทุ่งหญ้าบำบัด แหล่งอาหารบำบัดน้ำ แหล่งที่อยู่อาศัยบำบัดน้ำ4. ฟังก์ชั่นในการผลิตเพื่อการบริโภค การผสมผสาน การทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์ ผสมผสาน พันธุ์ไม้ พันธุ์สัตว์
ที่หลากหลาย สอดคล้องตามฤดูกาล เพื่อสร้างสมดุลของการดำเนินชีวิต โดยการออกแบบดังกล่าวนอกจากจะตอบสนองความต้องการของคนในพื้นที่แล้ว ก็ยังตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว และสามารถสร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้ด้วยอย่างไรก็ตาม คุณค่าหลักของ “การออกแบบเพื่อชีวิต (Design for life)” ไม่ใช่แค่การสร้างแบบแปลนที่สวยงามเท่านั้น แต่ต้องมอบประโยชน์และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในพื้นที่นั้นด้วย ซึ่งโดยหลักๆ แล้ว แปลนของชุมชนที่ตอบโจทย์เรื่องความยั่งยืนจะประกอบด้วยพื้นที่สำหรับใช้ประโยชน์ในชุมชน อาทิ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ นาข้าว บ่อน้ำ และที่อยู่อาศัย ก็จะไม่ขาดแคลนอาหาร ขณะเดียวกันก็เป็นการส่งเสริมให้คนในพื้นที่มีอาชีพ มีรายได้จากการค้าขายผลผลิตต่างๆศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ รักษาการแทนอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรมากที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีความเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตแบบพึ่งตนเอง และพอเพียงตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อันเป็นหนึ่งในวิถีทางที่จะนำประเทศไทยไปสู่ความยั่งยืน แต่อุปสรรคหลักใหญ่ของการพัฒนาชุมชนให้สามารถพึ่งตนเองได้นั้น ก็คือการขาดความรู้ และความเข้าใจของประชากรพื้นที่ในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ด้านการเกษตร ด้านการจัดการพื้นที่ และด้านการรองรับภัยพิบัติ เป็นต้น ดังนั้น สจล. ในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศไทยจึงได้มุ่งเน้นการพัฒนานักศึกษา และบุคลากรคุณภาพ ที่จะมาช่วยพัฒนา และส่งต่อองค์ความรู้ไปยังประชากร รวมไปถึงทำการวิจัย และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ภายใต้แนวคิด “The Master of Innovation: เจ้าแห่งนวัตกรรม” อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม ตลอดจนมุ่งบรรลุวิสัยทัศน์ในการเป็น 1 ใน 10 สถาบันชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของอาเซียน ในปี 2563สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ 02-329-8111 หรือเข้าไปที่ www.kmitl.ac.th