ธ.ก.ส.ทำโครงการเกษตรกรช่วยเกษตรกร

ข่าวทั่วไป Monday April 28, 1997 19:58 —ThaiPR.net

กรุงเทพ--28 เม.ย.--ธ.ก.ส.
ธ.ก.ส. เพิ่มรายได้เสริมให้เกษตรกรลูกค้า จัดทำโครงการเกษตรกรช่วยเกษตรกรประ สานงานให้เกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในวิชาชีพเป็นครูช่วยสอน ทั้งนี้ โดยเน้นด้านการตลาดเป็นหัว ใจสำคัญของโครงการ
นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยในโอกาสเดินทางไปร่วมพิธีเปิด "ศาลารวมใจ" ซึ่งใช้เป็นศูนย์สาธิตการตลาดเพื่อสนับสนุน โครงการเกษตรกรช่วยเกษตรกร ที่บ้านทะเลทอง ต.หนองมะค่า อ.โคกเจริญ จ.ลพบุรี เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า ในฐานะที่ ธ.ก.ส. เป็นผู้ให้การสนับสนุนด้านเงินทุนแก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร มากว่า 30 ปี สิ่งที่ ธ.ก.ส. เห็นว่าเป็นปัญหาอย่างยิ่งสำหรับการดำรงชีวิตของเกษตรกรก็คือ ปัญหาในด้าน การตลาดที่เกษตรกรมักจะตกเป็นเบี้ยล่างของพ่อค้าคนกลางอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น นอกจากการสนับสนุน ให้เกษตรกรรวมตัวกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาด หรือ สกต. เพื่อสร้างอำนาจต่อรองใน การทำธุรกิจแล้ว ล่าสุด ธ.ก.ส. ได้ร่วมมือกับ ESCAP (ECONOMIC AND SOCIAL COMMISSION FOR ASIA AND PACIFIC) และมูลนิธิไทยเพื่อการพัฒนา รวมทั้งกรมส่งเสริมการเกษตร จัดทำ โครงการบรรเทาความยากจน โดยอาศัยการตลาดนำการสร้างงานในชนบท หรือ "โครงการ เกษตรกรช่วยเกษตรกร" ขึ้น เพื่อช่วยพัฒนาให้เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. มีศักยภาพในด้านการผลิตและ การตลาดมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
นายเอ็นนูกล่าวต่อไปว่า หลักการโดยสรุปของ "โครงการเกษตรกรช่วยเกษตรกร" ก็คือ การค้นหาเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในอาชีพต่าง ๆ และผลผลิตจากอาชีพเหล่านั้นมีลู่ทางในด้าน การตลาดที่น่าลงทุน จากนั้นจะประสานงานให้เกษตรกรรายอื่น ๆ ที่สนใจเข้าไปศึกษา หรือลอกเลียนต้น แบบของผู้ที่ประสบความสำเร็จดังกล่าว โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปช่วยเสริมในด้านวิชาการและ ด้านการตลาด หรืออื่น ๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งเมื่อเกษตรกรได้รับความรู้และทดลองปฏิบัติจนมั่นใจ แล้ว ก็จะนำวิชาชีพที่ได้รับการฝึกฝนไปปฏิบัติจริง เพื่อก่อให้เกิดรายได้ต่อไป
รองผู้จัดการ ธ.ก.ส.เปิดเผยต่อไปว่า การดำเนินงานตามโครงการนี้ ซึ่งเริ่มเป็นปีแรกใน ลักษณะโครงการนำร่อง ประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ กล่าวคือ พนักงาน ธ.ก.ส.จาก 8 สาขานำ ร่อง ได้เข้าไปประสานงานตามโครงการ จนเกษตรกรที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมมีรายได้เสริมจาก อาชีพใหม่ เช่น การทำซาละเปา ที่ จ.เชียงใหม่ การพัฒนาคุณภาพยางพารา ที่ จ.ระยอง การเพาะ เห็ดภูฐาน ที่ จ.ราชบุรี การทำทองม้วน ที่ จ.นครศรีธรรมราช การทำอิฐอัด และการปลูกผักไร้ สารพิษ ที่ จ.นครราชสีมา การทำอิฐดินมะพร้าวแก้ว และไส้ผ้านวม ที่ จ.ลพบุรี เป็นต้น อาชีพเหล่านี้ ธ.ก.ส. เน้นในด้านการตลาดเป็นพิเศษ กล่าวคือเมื่อผลิตได้จะต้องจำหน่ายได้ และจะต้องไม่ แย่งตลาดกับครูเกษตรกรที่มาช่วยฝึกสอนด้วย--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ