กรุงเทพฯ--13 ส.ค.--แบงค์คอก ไรเตอร์ แอนด์ พาร์ทเนอร์ส
ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียนASEAN Cultural Center
ไทยเปิดศูนย์”วัฒนธรรมอาเซียน”แหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมที่มีชีวิตแห่งแรกในอาเซียน
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ให้พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานพิธีเปิดศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Cultural Center) เพื่อขับเคลื่อนความเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม ที่มีชีวิตแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมี นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ของประเทศกัมภูพา . เมียนมาร์ และเวียนดนาม เลขาธิการอาเซียน ทูตานุฑูตประจำประเทศไทย ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วยนางสาว จันทร์สุดา รักษ์พลเมือง รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร กล่าวว่า รัฐบาลได้ดำเนินการตามนโยบายการเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม ภายใต้ประชาสัมคมและวัฒนธรรมอาเซียน ที่เป็นหนึ่งในเสาหลักของประชาสัมคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อเตรียมความพร้อมให้ชาวไทย และชาวอาเซียนที่จะครบ 48 ปี นับจากการการสถาปนาอาเซียนเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 และเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปลายปี 2558 นี้ โดยสร้างสรรค์ในรูปแบบใหม่ที่เน้นการให้ความรู้ และกระบวนการเชิงวัฒนธรรมควบคู่ไปกับเทคโนโลยีอันสนุกสสาน
รวมทั้งมีการจัดแสดงมรดกวัฒนธรรมล้ำค่าที่สั่งตรงจากประเทศสมาชิกอาเซียน และยังเป็นเวทีแห่งการมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม อันจะนำมาซึ่งความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างพลเมืองในอาเซียน
ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียนแห่งนี้จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับชาติสมาชิกอื่นๆในการตั้งศูนย์วัฒนธรรมอาเซียนอาเซียนขึ้น ในประเทศของตนโดยในการริเริ่มศูนย์วัฒนธรรมอาเซียนอาเซียนแห่งแรกแห่งนี้ มีจุดเด่นที่การจัดนิทรรศกาลถาวรที่มีชีวิตใน 6 ส่วนได้แก่
ส่วนที่ 1 การนำเสนอสารคดีสั้นเรื่อง”เราอยู่ร่วมกัน ”(The Meting Pol of ASEAN Cultural) เพื่อสร้างความเข้าใจในบริบทวัฒนธรรมร่วมอันน่าตื่นตาของอุษาคเนย์ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันผ่านการเล่าเรื่อง ของ”ตากับหลาน” สร้างความรู้และความรู้สึกภาคภูมิใจให้กับผู้ที่มาเยือน โดยจัดแสดงเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ส่วนที่ 2 เป็นข้อมูลประชาคมอาเซียนชุด “ผูกพันหนึ่งเดียว” (We are ASEAN) ที่ร้อยเรื่องเหตุการณ์สำคัญด้านสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน โดยเป็นพื้นที่จัดแสดงข้อมูลดิจิตอลผ่านจอผลงานขนาดใหญ่ (Video Wall) ควบคุมการแสดงผลที่จอ Touch Screen
ส่วนที่ 3 “เที่ยวไปในอาเซียน” ( The ASEAN Street) เป็นการนำเทคโนโลยีเสมือนจริงแบบล่าสุดมาสร้างประสบการณ์สัมผัสวัฒนธรรม ทำให้ผู้ชมรู้สึกราวกับได้เข้าไปยืนอยู่บนท้องถนน แห่งวัฒนธรรมของ 10 ประเทศในอาเซียนอย่างแท้จริง เริ่มจากโซน มรดกของเรา เป็นการนำเสนอศิลปวัฒนธรรมร่วมของอาเซียนด้วยเทคนิค Interactive การเผยให้เห็นถึงเบื้องหลังความเป็นมาและกระบวนการทางวัฒนธรรมก่อนจะออกมาเป็นแต่ละชิ้นงาน รวมทั้งจัดแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมร่วม ของประเพณีสำคัญๆ ในแต่ละท้องถิ่นของอาเซียนโซน
ส่วนที่ 4 นิทรรศการ หมุนเวียนเปลี่ยนเรื่อง (Temporary Exhibition ) นำเสนอเรื่องราวของการฟ้อนข้าว แห่งอาคเนย์ และจะมีการนำเสนอศิลปวัฒนธรรมในแง่มุมใหมๆ สลับสับเปลี่ยนกันไป
ส่วนที่ 5 ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ “เรียนรู้ในสวน” ( ASEAN E-Library Park ) ที่สามารถเข้าชมได้จากเว็ปไซต์ www e-library-acc.com ซึ่งห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ และสารสนเทศที่น่าสนใจทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในบรรยากาศสวนสาธารณะที่มีฉากหลังเป็นมรดกโลกแห่งความภาคภูมิใจร่วมกันของอาเซียน
ส่วนที่ 6 ห้องปฏิบัติการวัฒนธรรม”ชวนกันสร้างสรรค์” (Cultural Knowledge Lab) เป็นพื้นที่ใช้สอยที่ได้รับการออกแบบให้คล้ายกับเรือนกระจกโปร่งใส โดยสามารถปรับให้เหมาะกับรูปแบบกิจกรรมสร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรมของอาเซียน บนพื้นฐานแห่งการสร้างนวัตกรรมทางวัฒนฑธรรมความสัมพันธ์อันดีร่วมกันในภูมิภาค
นอกจากนั้นยังมีการจัดแสดงศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าที่ได้รับมอบหมายจากสถานเอกอัครราชทูต ประเทศสมาชิกอาเซียน และโบราณวัตถุจากกรมศิลปากร ทำให้ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียนกลายเป็นแหล่งศึกษาและค้นคว้าวิจัยทางศิลปวัฒนธรรม และอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนให้กับเยาวชนนักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยว และผู้ที่สนใจทั่วไป
ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน ตั้งอยู่บริเวณชั้น 3 ของอาคารหอศิลป์ราชดำเนิน ถนนราชดำเนินกลาง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เปิดบริการให้เข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายทุกวันอังคาร-อาทิตย์ ระหว่างเวลา 10.00 -17.00น.หยุดวันจันทร์ และวันนักขัตฤกษ์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน โท.092-248-2429 E-Mail webmaster@m-culture.go.th
โดยศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน จะประกอบไปด้วยพื้นที่นิทรรศการและห้องจัดแสดงที่มีรูปแบบการนำเสนอเพื่อการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ประกอบด้วยทั้งหมด ๖ ส่วน / ส่วนที่ ๑ “เราอยู่ร่วมกัน” ส่วนที่ ๒ “ผูกพันหนึ่งเดียว” ส่วนที่ ๓ “เที่ยวไปในอาเซียน” ส่วนที่ ๔ “หมุนเวียนเปลี่ยนเรื่อง” ส่วนที่ ๕ “เรียนรู้ในสวน” ส่วนที่ ๖ “ชวนกันสร้างสรรค์
“ และเมื่อทุกประเทศของสมาชิกกลุ่มอาเซียนเริ่มเดินก้าวเข้าสู่ การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นั่นหมายถึงพรมแดนด้านวัฒนธรรม จะถูกเปิดอย่างเสรีเพื่อต้อนรับประชากรอาเซียน ให้ได้เรียนรู้ความงดงามด้านวัฒนธรรมของแต่ละประเทศสมาชิก และในวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๘ ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียนจะเปิดอย่างเป็นทางการ และจะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่า สำหรับผู้ที่ต้องการสัมผัสกับมนต์เสน่ห์แห่งวัฒนธรรมของ ๑๐ ชาติสมาชิก” ศ.ดร.อภินันท์ กล่าว
ศ.ดร.อภินันท์ กล่าวต่อไปว่า ศูนย์ฯ ดังกล่าวจะเป็นแหล่งเรียนรู้ และเชื่อมโยงการพัฒนาการด้านการรักษามรดกทางวัฒนธรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ให้เป็นหนึ่งในเสาหลักของประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน โดยกิจกรรมต่างๆในศูนย์ฯ จะเน้นการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย และวัฒนธรรมอาเซียน โดยนำวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติอาเซียน มานำเสนอในรูปแบบการเผยแพร่องค์ความรู้ผ่านการจัดนิทรรศการ
ทั้งนี้กิจกรรมจะมี ทั้งรูปแบบทัศนศิลป์ การแสดง วรรณกรรม และภาพยนตร์ เน้นกิจกรรมที่มีชีวิต รวมไปถึงการนำโบราณวัตถุบางส่วน จากกรมศิลปากรมาเผยแพร่ เป็นกิจกรรมหมุนเวียนไปในแต่ละเดือน อาทิการจัดกิจกรรมสัปดาห์หมอลำอาเซียน โดยจัดการแสดงหมอลำ จากประเทศอาเซียนที่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับความเชื่อ และการทำนุบำรุงรักษาหมอลำอาเซียนให้คงอยู่
สำหรับนิทรรศการต่างๆ ที่จะหมุนเวียนนั้น เป็นการแสดงของแต่ละประเทศเพื่อนบ้าน สลับกันไป ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขง การนำศิลปะการแสดงประเภทวรรณกรรม เช่น เรื่องอิเหนาของอินโดนีเซียมาถ่ายทอดถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม ของไทย-อินโดนีเซีย เป็นต้น การจัดกิจกรรมสารัตถะ ทางวัฒนธรรมสร้างสรรค์อาเซียนร่วมสมัย
อย่างไรก็ตามสถานที่ตั้งของศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน ถือว่าเป็นสถานที่ที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นสถานที่ ที่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร และเป็นพื้นที่ที่มีโอกาสในการเผยแพร่วัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังอยู่ใกล้กับหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และอาคารนิทรรศรัตนโกสินทร์ ซึ่งจะเป็นโอกาสในการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมได้ในอนาคต
ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียนจะแบ่งพื้นที่เป็นห้องสมุด อิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นคว้าข้อมูล สร้างแรงบันดาลใจเพิ่มเติม โดยจะมีการติดตั้งชุดนิทรรศการรวบรวมเนื้อหาองค์ความรู้ ที่จะประกอบด้วยกิจกรรมย่อย ที่ออกแบบให้มีความสมดุลของเนื้อหา เป็นนิทรรศการที่นำเสนอในรูปแบบที่มีความทันสมัย พร้อมพื้นที่นิทรรศการหมุนเวียน ที่จะเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วมในพื้นที่ขึ้น เป็นส่วนปฏิบัติการเชิงวัฒนธรรม ( The Knowledge Lap )
มีการจัดนิทรรศการหมุนเวียน มีจัดการสัมมนา ในหัวข้อต่างๆ ที่ให้ความรู้เกี่ยวข้องกับอาเซียน เพื่อนำไปสู่บทบาทในการเชื่อมโยงประเทศอาเซียน และพัฒนาศักยภาพในการรักษามรดกทางวัฒนธรรมอาเซียน รวมไปถึงการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างมีดุลยภาพ มีพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการถาวร เป็นการจำลองบรรยากาศท้องถนนของอาเซียน หรือถนนสายวัฒนธรรมอาเซียน ( The ASEAN Street ) เพื่อเป็นการเชื่อมโยงนิทรรศการต่างๆ ที่มีเรื่องราวอันหลากหลายเกิดขึ้นในแต่ละมุมเข้าด้วยกัน ทำให้ผู้ชมสามารถเลือกเดินชมนิทรรศการ และสัมผัสบรรยากาศของแต่ละวัฒนธรรมร่วมผ่านเทคนิค Interactive ได้ตามอัธยาศัย
โดยมีชุดนิทรรศการต่างๆดังนี้ คือ ชุดนิทรรศการวัฒนธรรมร่วมอาเซียน ( The ASEAN Cultural Collection . หน้าต่างอาเซียน ( The ASEAN Windows ) , วิถีอาเซียน ( The ASEAN Ways ) ,การแต่งกายสไตล์อาเซียน ( The ASEAN National Costumes ) และ โอชาอาเซียน ( The ASEAN Dishes ). เป็นต้น