กรุงเทพฯ--14 ส.ค.--เมคอะเว็ลท์ คอนซัลติ้ง
ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล
กรรมการ บริษัท ทรีนีตี้ วัฒนา จำกัด (มหาชน)
กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด
สถานการณ์ : ธนาคารกลางของประเทศจีนได้ประกาศการกำหนดค่าเงิน Yuan จาก 6.1162 Yuan/Dollar สู่ 6.2298 Yuan/Dollar หรืออ่อนค่าเกือบ 2% ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สุดในรอบเกือบ 20 ปี หรือตั้งแต่ปี 1994 ธนาคารกลางจีนมีความตั้งใจให้ค่าเงิน Yuan สะท้อนการปฏิรูป (Reform) ของค่าเงินและ การเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยน (Regime) ของค่าเงิน Yuan ครั้งนี้เกิดจากการแข็งค่าของค่าเงิน Yuan ในรูปแบบ Real Effective Exchange Rates) อย่างมาก ทำให้จีนสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขัน (คือค่าเงิน Yuan แข็งมากไปเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่ค้า
มองว่ามาตรการของธนาคารจีนถือว่าเป็นมาตรการที่ฉลาด เพราะในเดือน ก.ย.2016 มีโอกาสมากกว่า 80% ที่สกุลเงิน Yuan ของจีนจะถูกนำไปสู่การคำนวณ SDR หรือตระกร้าเงินทุนสำรองของ IMF
Special Drawing Rights (SDR) เป็นตระกร้าของสกุลเงินของทุนสำรองที่แนะนำและถูกจำกัดความโดย IMF และอาจจะเป็นตัวแทนทุนสำรองของประเทศสมาชิกเอง IMF ในปัจจุบัน SDR มีตะกร้าที่เป็นสกุลเงิน US$ (41.9%) Euro (37.4%) Pound Sterling (11.3%) และ YEN 9.4% โดยสกุลเงินทุนสำรองต่างๆ เหล่านี้จะถูกให้น้ำหนักตามปริมาณธุรกรรมการค้าขายระหว่างประเทศและทุนสำรอง
การปรับค่าของค่าเงิน Yuan ครั้งนี้ถือเป็นการเตรียมตัวของเงิน Yuan เข้าเป็นสกุลหนึ่งในตระกร้าของ IMF
ผลกระทบ
ในช่วงสั้นค่าเงิน Yuan มีโอกาสอ่อนค่าลงมากกว่าอัตราที่ประกาศไว้อย่างช้าๆ อาจนำไปสู่เงินทุนไหลออกในช่วงสั้น ซึ่งอาจจะถึง 6.5-6.6 Yuan/Dollar ในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า (ปัจจุบันนี้ ธนาคารจีนอนุญาตให้นักลงทุนชาวจีนที่มีสินทรัพย์มากกว่า 1 ล้านหยวน สามารถนำครึ่งหนึ่งของสินทรัพย์ให้ลงทุนต่างประเทศ) ปัจจุบันนี้เงินทุนไหลออกจากจีนจำนวนเกือบ 6 แสนล้านเหรียญฯ ใน 4 ไตรมาสที่ผ่านมา แต่อีกสัก 1 ปีข้างหน้าค่าเงิน Yuan คงแข็งค่าขึ้นมาใหม่จากการที่ประเทศต่างๆ มีเงิน Yuan เป็นทุนสำรองของแต่ละประเทศ
สินค้าโภคภัณฑ์ในสายตาผู้ผลิตของจีนราคาสูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตชาวจีนอาจหันไปสู่การผลิตนอกประเทศ
สินค้านำเข้าสู่ประเทศจีนจะสูงขึ้น ทำให้ผู้ส่งออกไทยไปจีนได้ผลลบ
ค่าเงินของประเทศต่างๆ ในเอเชีย จะอ่อนค่าลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่ส่งสินค้าออกไปประเทศจีนมากๆ เช่น มาเลเซีย ไต้หวัน เกาหลีใต้
คาดว่าธนาคารจีนจะมีมาตรการที่ตามออกมาคือ
การอัดฉีดสภาพคล่องผ่านการลดอัตราส่วนเงินทุนสำรองที่กันไว้ที่ภาคธนาคาร (Required Reserve Ratio) อีกประมาณ 1% ในช่วงที่เหลือของปี 2015
ธนาคารกลาของประเทศที่พัฒนาแล้วเป็น BOJ ยังคงใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป แต่ Fed คงไม่ใช่อย่างนั้น
การลดค่าเงิน Yuan อย่างมากกว่า 5-10% เป็นไปได้ยาก เพราะจีนดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 3% GDP มีทุนสำรอง 3.5 ล้านๆ เหรียญฯ หรือ 35% ของ GDP หรือ 25 เดือนของสินค้านำเข้าและมีหนี้ต่างประเทศตั้งแต่ 15% ของ GDP
มองตลาดหุ้นไทย Maximum downside ที่ 1350-1380 เท่านั้น มองเป็นโอกาสในการซื้อ