กรุงเทพฯ--14 ส.ค.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์-
รุกปั้นหัวกะทิรุ่นใหม่พัฒนาประเทศไทยก้าวหน้า ไม่หวั่นภาวะสมองไหลกรุงเทพฯ 10 สิงหาคม 2558 - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เผยปัจจุบันประเทศไทยขาดแคลนกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติอย่าง "วิศวกรนักวิจัย-วิศวกรนักประดิษฐ์" ซึ่งมีเพียง 10% เท่านั้นจากวิศวกรทั่วประเทศไทยที่มีคุณภาพ วอนภาครัฐเร่งจัดลำดับความสำคัญในการจัดการศึกษา และผลักดันวิชาคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ให้มีบทบาทมากกว่าแค่ในตำราเรียน ชี้การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นโอกาส ที่วิศวกรไทยจะสามารถก้าวออกไปสู่ตลาดใหม่อันท้าทาย สจล.ในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศจึงมุ่งขยายขีดความสามารถวิศวกรไทย ผ่านการพัฒนาระบบการเรียนการสอน เทคโนโลยี และหลักสูตรทางด้านวิศวกรรมให้มีความเข้มแข็งรองรับการสร้าง "วิศวกรเกรดเอ" รุ่นใหม่ ภายใต้แนวคิด "The Master of Innovation: เจ้าแห่งนวัตกรรม" พร้อมคาดการณ์แนวโน้ม 5 สาขาวิศวกรรมที่จะขยายตัวครั้งใหญ่หลังเปิดเออีซี อันได้แก่ วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมขนส่งทางราง และวิศวกรรมการบินและอวกาศสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพฯหมายเลขโทรศัพท์ 02-329-8111 หรือเข้าไปที่ www.kmitl.ac.th
ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ รักษาการแทนอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า การจะพัฒนาประเทศให้รุดหน้าและก้าวไกล จำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการพัฒนาโครงสร้างเมือง ระบบคมนาคม หรือแวดวงอุตสาหกรรม ทุกภาคส่วนล้วนมีความต้องการวิศวกรผู้เชี่ยวชาญมาช่วยในการดำเนินงานวางแผนและพัฒนา แม้ว่าในปัจจุบันจะมีหลากหลายสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ แต่ส่วนใหญ่แล้วยังขาดเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ โดยปัจจุบันบัณฑิตวิศวกรไทยกว่าครึ่งเรียนจบ
มาในลักษณะของวิศวกรประกอบของ แม้ว่าประเทศเราจะผลิตรถยนต์สองล้านกว่าคัน แต่เราคือ "ผู้ประกอบ" ไม่ได้เป็น "ผู้ผลิต"อย่างแท้จริง ซึ่งเป็นสิ่งที่ตอกย้ำว่าประเทศไทยยังขาดแคลน "วิศวกรนักวิจัย-วิศวกรนักประดิษฐ์" หรือ "วิศวกรเกรดเอ" อยู่มาก หากเทียบจากจำนวนวิศวกรไทยที่มีอยู่ 230,000 กว่าคน จะพบว่ามีวิศวกรผู้เชี่ยวชาญอันเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ดีอยู่เพียง 10% หรือ 23,000คน ซึ่งไม่เพียงพอต่อการพัฒนาประเทศให้ก้าวทันชาติที่พัฒนาแล้วได้ ถือเป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข โดยภาครัฐต้องจัดลำดับความสำคัญในการจัดการศึกษา รวมถึงการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ ให้ทันสมัย ตลอดจนสนับสนุนให้วิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มีบทบาทมากกว่าแค่ในตำราเรียนนอกจากนี้ เมื่อมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ เออีซี ในปลายปี 2558 ความต้องการวิศวกรในตลาดแรงงานจะพุ่งสูงขึ้น หลายคนคาดว่าจะมีการเคลื่อนย้ายแรงงาน หรือที่เรียกว่าการเกิด "ภาวะสมองไหล" ส่งผลกระทบต่ออาชีพวิศวกรไทยที่จะถูกชาวต่างชาติเข้ามาแย่งงาน เนื่องจากประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีการจัดทำข้อตกลงขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยกำหนดวิชาชีพที่สามารถเคลื่อนย้ายภายในอาเซียนได้อย่างเสรีและถูกกฎหมายไว้ในเบื้องต้น 7 สาขาวิชาชีพ คือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี และนักสำรวจ รวมถึงข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ากลุ่มลูกจ้างเอกชนที่น่าจะเป็นกลุ่มที่จะมีโอกาสเคลื่อนย้ายแรงงานสูงกว่ากลุ่มอื่น ได้แก่ วิศวกร สถาปนิก และนักบัญชี ซึ่งมีสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของจำนวนผู้ประกอบอาชีพทั้ง 7 สาขาวิชาชีพ แต่หากมองในอีกมุมหนึ่ง การเปิดเออีซีนับเป็นโอกาสที่วิศวกรไทยจะสามารถก้าวออกไปสู่ตลาดใน 10 ประเทศที่มีพลเมืองกว่า 600 ล้านคน อย่างไรก็ตาม การที่จะทำให้วิศวกรไทยออกสู่ตลาดเออีซีได้นั้น ภาครัฐจะต้องปูทางให้วิศวกรไทยได้มีโอกาสเข้าไปทำงานยังประเทศนั้นๆ ด้วย โดยอาจให้คำเสนอแนะการแก้ปัญหาระบบต่างๆ ที่ประเทศไทยเคยมีประสบการณ์มาแล้ว เช่น แนะนำการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้กับพม่า แนะนำระบบรางและการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินให้กับอินโดนีเซีย เป็นต้นศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในทุกๆ ปีทิศทางของตลาดแรงงานจะมีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ สำหรับสายงานวิศวกรในประเทศไทยนั้นมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีแนวโน้ม 5 สาขาวิศวกรรมที่จะขยายตัวครั้งใหญ่เมื่อมีการเปิดเออีซีได้แก่• วิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering) ศึกษาทฤษฏี การผลิต และการประยุกต์ใช้ไฟฟ้า-คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมถึงอุปกรณ์ วงจรต่างๆ
• วิศวกรรมโยธา (Civil Engineering) ศึกษาการก่อสร้างทั้ง คลอง สะพาน อาคาร ถนน ระบบขนส่ง ตลอดจนระบบสาธารณูปโภคต่างๆ
• วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering) ศึกษาระบบเชิงกลอย่างครอบคลุม ทั้งการประดิษฐ์ การผลิต การดูแลรักษา และซ่อมบำรุง
• วิศวกรรมขนส่งทางราง (Rail Transportation Engineering) ศึกษาและออกแบบระบบขนส่งทางรางรวมถึงการบริหารจัดการรถไฟ-รถไฟฟ้า
• วิศวกรรมการบินและอวกาศ (Aerospace Engineering) ศึกษาเทคโนโลยี และนวัตกรรมการบินทั้งภายในและภายนอกชั้นบรรยากาศทั้งนี้ องค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมในแต่ละสาขาวิชาล้วนมีความสำคัญไม่หยิ่งหย่อนไปกว่ากัน สามารถนำไปพัฒนาประเทศชาติให้ก้าวหน้าอย่างผสมผสาน โดย สจล.ในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ได้ตั้งเป้าในการพัฒนาวิศวกรไทยที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริง เพื่อให้สามารถก้าวไปสู่การเป็นผู้นำในองค์กรต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน ผ่านการพัฒนาระบบการเรียนการสอนและเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมาทางสถาบันได้มีความร่วมมือกับองค์กรอย่างหลากหลาย อาทิ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) สถาบันเทคโนโลยีฟูกูโอกะ และมหาวิทยาลัยโตไก ประเทศญี่ปุ่นเพื่อพัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมให้มีความเข้มแข็งรองรับการสร้าง "วิศวกรเกรดเอ" รุ่นใหม่ ภายใต้แนวคิด "The Master of Innovation:เจ้าแห่งนวัตกรรม" รวมถึงมีการเปิด 3 หลักสูตรใหม่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคมในยุคปัจจุบัน ได้แก่ วิศวกรรมป้องกันประเทศ วิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์ วิศวกรรมดนตรีและสื่อผสม นอกจากนี้ ทางสถาบันก็ยังเตรียมพร้อมเปิดหลักสูตรนานาชาติในทุกคณะ เพื่อเสริมความแข็งแรงทางด้านภาษา ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นการเพิ่มขีดความสามารถและขยายโอกาสให้วิศวกรไทยสามารถแข่งขันในตลาดอาเซียนได้อย่างสมศักดิ์ศรีด้านนายวชิรวิทย์ สุนทรวรจันทร์ นักศึกษาน้องใหม่ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ที่เข้ามาด้วยคะแนนแอดมิชชั่นสูงสุดในปีการศึกษา 2558 กล่าวว่า การศึกษาทางด้านวิศวกรรมมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศชาติเป็นอย่างมาก การจะยกระดับความเป็นอยู่ของมนุษย์และสังคมให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืนได้นั้น จะต้องอาศัยการผสมสานองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมในสาขาต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยในปัจจุบันโลกของเราได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการติดต่อสื่อสารดิจิทัล ที่มุ่งเน้นการพัฒนาแบบเครือข่าย และการเรียนรู้ไร้พรมแดน ส่งผลให้ศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จึงยิ่งทวีความสำคัญ แต่ในขณะเดียวกันประเทศไทยก็ยังขาดแคลนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก ดังนั้น การเลือกเข้าศึกษาต่อในสาขา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. จึงถือเป็นการเปิดโอกาสให้ตนเองสามารถก้าวเข้าสู่ตลาดโลกไซเบอร์ได้อย่างมีศักยภาพ ตลอดจนพัฒนาไปสู่การเป็นวิศวกรคุณภาพ เตรียมพร้อมเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไปในอนาคตสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพฯหมายเลขโทรศัพท์ 02-329-8111 หรือเข้าไปที่ www.kmitl.ac.th