กรุงเทพฯ--14 ส.ค.--แฟรนคอม เอเชีย
พรอกซิมุสและหัวเว่ย ประสบความสำเร็จในการทดสอบร่วมกันบนเครือข่ายของพรอกซิมุส ได้ความเร็วเหนือสัญญาณแสง (Optical Signal) หรือเรียกกันว่า Super-channel ได้ความเร็วสูงถึง 1 เทราบิตต่อวินาที (Tbps) หรือระดับความเร็วที่สามารถส่งภาพยนตร์ HD ได้ 33 เรื่องในหนึ่งวินาที
โลกในอนาคตจะเชื่อมโยงกันด้วยความเร็วสูงระดับซูเปอร์ และการปฏิรูปด้านดิจิทัลรอบใหม่ก็ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ทำให้ต้องการแบนด์วิธ (Bandwidth) มากขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า ในขณะที่อุตสาหกรรมโทรคมนาคมก็ต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับความต้องการที่กำลังเพิ่มขึ้นนี้ องค์ประกอบหลักที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้คือ โครงข่ายหลัก หรือ Backbone ที่เป็นหัวใจหลักของเครือข่ายโทรคมนาคม
การทดสอบครั้งนี้เป็นผลงานแรกที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือด้านนวตกรรม ที่พรอกซิมุสและหัวเว่ยได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมกราคม และถือเป็นครั้งแรกของโลกที่เทคโนโลยีนี้ของหัวเว่ยได้ดำเนินการทดสอบร่วมกับโอเปอเรเตอร์คือใช้ OTN Card แบบ Single Super-channel ที่มีความเร็วในการส่ง 1 เทราบิตต่อวินาทีบนโครงข่ายออพติคหลักของพรอกซิมุส
วัตถุประสงค์ของการทดสอบคือเพื่อดูว่าเทคโนโลยีนี้สามารถที่จะทำงานร่วมกับเครือข่ายหลักได้หรือไม่ และคาดการณ์ความต้องการแบนด์วิธของลูกค้าที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การทดสอบแสดงให้เห็นว่า โครงข่ายออพติคหลักในอนาคตของพรอกซิมุสที่มีช่องสัญญาณความเร็ว 200 กิกะบิตต่อวินาที (Gbps) สามารถที่จะเพิ่มความเร็วขึ้นเป็น 400Gbps หรือแม้แต่เป็น Super channel ขนาด 1 Tbps ได้อย่างรวดเร็วและเปี่ยมประสิทธิภาพได้ในอนาคต ด้วยการนำแพลทฟอร์มออพติค ชัชซี และสล็อตที่มีอยู่เดิมมาใช้ ก็จะสามารถอัพเกรดประสิทธิภาพการส่งข้อมูลของลิ้งค์เครือข่ายหลักจาก 16 Tbps ไปเป็น 20 Tbps ได้
รายละเอียดด้านเทคนิคของการทดสอบ
ความเร็วในการส่งข้อมูลที่บันทึกได้ทำการทดสอบผ่านสายไฟเบอร์ยาวกว่า 1,040 กิโลเมตร โดยใช้โครงข่าย Flexgrid อันนำสมัย กับแพลทฟอร์ม Optical Switch Node OSN 9800 ของหัวเว่ย วิธีนี้จะเพิ่มประสิทธิภาพบนสายเคเบิลไฟเบอร์ด้วยการบีบอัดช่องว่างระหว่างช่องส่งสัญญาณ เทคนิคนี้จะเพิ่มความหนาแน่นของช่องส่งสัญญาณบนไฟเบอร์ทำให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าลิงค์ของเครือข่ายหลักขนาด 100Gpbs ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันราวร้อยละ 150
จุดสำคัญที่แตกต่างคือการทดสอบในครั้งนี้ใช้ไลน์การ์ด 1Tbps OTN ของหัวเว่ย ซึ่ง Optical Transport Network หรือ OTN นี้จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ มีความยืดหยุ่น และสามารถเพิ่มสัญญาณความเร็วสูงโดยไม่ยึดติดกับข้อมูลชุดใดชุดหนึ่งด้วย
"เน็ตเวิร์คจะเปลี่ยนไปใช้ดาต้าเซ็นเตอร์เป็นหลักมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดความต้องการแบนด์วิธมากขึ้น ธุรกิจต่างๆในปัจจุบันกำลังปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบดิจิทัล และลูกค้าก็ต้องการการเชื่อมต่อตลอดเวลา หัวเว่ยจะสนับสนุนลูกค้าของตนด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ เราจะร่วมกันสร้างเน็ตเวิร์คที่ไม่ซับซ้อน เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด การทดสอบครั้งนี้เป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงความทุ่มเทของหัวเว่ยในด้านนวัตกรรม" มร. เจฟฟรี่ย์ เกา ประธานบริหาร กลุ่มผลิตภัณฑ์ทรานสมิชชั่น เน็ตเวิร์ค ของหัวเว่ย กล่าว
"สำหรับพรอกซิมุส เรามุ่งมั่นที่จะสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า ด้วยการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อมอบบริการและคุณภาพที่ดีที่สุดให้แก่พวกเขา ด้วยความร่วมมือกับหัวเว่ย เราได้พัฒนาโครงสร้างเน็ตเวิร์คของเราให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เพื่อรองรับความต้องการการรับส่งข้อมูลในปัจจุบันและในอนาคต รวมถึงนำเสนอประสบการณ์ที่ดีเลิศให้กับลูกค้าของเราด้วย" มร. เกรท สตองดาร์ท ประธานบริหารด้านเทคนิค ของพรอกซิมุส กล่าว
ผู้สนใจสามารถค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.huawei.com หรือติดตามความเคลื่อนไหวของหัวเว่ยได้ทาง
http://www.linkedin.com/company/Huawei
http://www.twitter.com/Huawei
http://www.facebook.com/Huawei
http://www.google.com/+Huawei
http://www.youtube.com/Huawei