MOU พัฒนาโครงข่ายดาวเทียม เพื่อให้บริการระบบติดตามเรือ

ข่าวเทคโนโลยี Wednesday August 19, 2015 18:02 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--19 ส.ค.--กสท โทรคมนาคม บมจ. กสท โทรคมนาคม มุ่งพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ล่าสุด ร่วมมือกับ บริษัท เอ็กซ์เซ้นส์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด จัดพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาโครงการเครือข่ายดาวเทียม เพื่อให้บริการระบบติดตามเรือ พร้อมยกระดับมาตรฐานการประมงไทยมุ่งสู่ระดับสากล หลังจากที่รัฐบาล ได้ประกาศ พระราชบัญญัติการประมง ปี พ.ศ. 2558 และจัดตั้ง ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขึ้นนั้น ศูนย์บัญชาการแก้ไขการทำประมงผิดกฎหมาย ได้ออกประกาศ เรื่อง กำหนดมาตรฐาน สมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ (Performance Standards and Functional Requirements) ของระบบติดตามเรือประมง หรือ Vessel Monitoring System: VMS และกำหนดระยะเวลาการติดตั้งสำหรับเรือประมง เรือบรรทุกสินค้า ประมง ห้องเย็น ตลอดจนยานพาหนะทางน้ำทุกชนิดที่ใช้ทำการประมงขนถ่าย หรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ที่ได้จากยานพาหนะทางน้ำทุกชนิดที่ใช้ทำประมงที่มีขนาดตั้งแต่ 30 ตันกรอสส์แต่ไปถึง60 ตันกรอสส์ และที่มีขนาดตั้งแต่ 60 ตันกรอสส์ขึ้นไป แล้วนั้น บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด มหาชน หรือ CAT หนึ่งในผู้ให้บริการโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมรายใหญ่ในประเทศไทย ผู้ให้บริการโครงข่ายผ่านดาวเทียมที่มีประสบการณ์และความชำนาญ และบริษัท เอ็กซ์เซ้นส์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด บริษัทวิจัยพัฒนาและให้บริการระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าผู้มีความชำนาญในการพัฒนาซอฟท์แวร์ระบบติดตาม และการขนส่ง ได้ตกลง ความร่วมมือพัฒนาโครงข่ายดาวเทียม เพื่อให้บริการระบบติดตามเรือประมง Vessel Monitoring System : VMS โดยผ่านวงจรเชื่อมโยง IP Network และระบบ Cloud รวมถึงความร่วมมือพัฒนาโครงข่ายดาวเทียมของ กสท ให้เป็น Gateway สำหรับบริการระบบติดตามเรือผ่านดาวเทียมในภูมิภาคนี้ในอนาคต รวมถึงการพัฒนาซอฟท์แวร์ด้าน Tracking และ Monitoring อื่นๆ เพื่อรองรับการใช้งานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องต่อไปด้วย โดยจัด พิธีลงนาม ข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาโครงการเครือข่ายดาวเทียม เพื่อให้บริการระบบติดตามเรือ ระหว่าง บริษัท กสท โทรคมนาคมจำกัด (มหาชน) และ บริษัท เอ็กซ์เซ้นส์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด เมื่อวันพุธที่ 19 สิงหาคม 2558 ที่ผ่านมา คุณชัยยุทธ สันทนานุการ รักษาการในตำแหน่ง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการลงนามข้อตกลงในครั้งนี้ว่า “ CAT มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ร่วมกับ บริษัท เอ็กซ์เซ้นส์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยพัฒนาและให้บริการระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้า ที่มีความชำนาญในการพัฒนาซอฟท์แวร์เพื่อการขนส่งเป็นอันดับต้นๆ ของไทย ในการพัฒนาโครงข่ายดาวเทียมเพื่อให้บริการระบบติดตามเรือประมง โดยระบบที่พัฒนาร่วมกันนั้น จะใช้งานอยู่บน infrastructure ของ CAT ทั้งหมด ซึ่งข้อมูลเรือจะถูกเก็บไว้ที่ศูนย์ Data Center นนทบุรี เป็นไซต์หลัก และ มีศูนย์ Data Center ศรีราชา เป็นไซต์สำรองในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินเร่งด่วน เชื่อมโยงข้อมูลผ่านโครงข่าย IP Network ที่มีประสิทธิภาพ และมีศูนย์ SOC ตรวจสอบดูแลความปลอดภัยข้อมูลตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนั้น กสท และ เอ็กซ์เซ้นส์ จะร่วมกันพัฒนาโครงข่ายดาวเทียม กสท เพื่อให้เป็น Gateway สำหรับระบบติดตามเรือผ่านดาวเทียมในภูมิภาคนี้อีกด้วย โดยทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าวที่กำลังจะเกิดขึ้น นับเป็นมิติใหม่ในการพัฒนาระบบการทำประมงของไทย สนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม และเป็นการยกระดับมาตรฐานการประมงของไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล” ด้านผู้บริหาร จาก บริษัทเอ็กซ์เซ้นส์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด กล่าวว่า “Vessel Monitoring System หรือ VMS คือ ระบบระบุตำแหน่งเรือประมง ซึ่งประกอบไป 2 ส่วน คือ โครงสร้างการทำงานระบบติดตามผ่านดาวเทียม และโปรแกรมระบบติดตามเรือ โดย บริษัท เอ็กซ์เซ้นส์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด ได้พัฒนาทั้งซอฟท์แวร์ซึ่งเป็นส่วนของโปรแกรมระบบติดตามเรือ ที่จะใช้สำหรับตรวจสอบและติดตามตำแหน่งของเรือ รวมถึงสามารถบอกข้อมูล ระดับความเร็วของการขับเคลื่อนและทิศทางการเดินเรือแต่ละลำได้ และดูแลในส่วนของอุปกรณ์ที่จะติดตั้งบนเรือ โดยอุปกรณ์จะทำหน้าที่รับส่งข้อมูลระหว่างเรือกับดาวเทียม GPS เพื่อส่งข้อมูลตำแหน่งเรือและสถานะการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ บนเรือ โดยส่งข้อมูลผ่านดาวเทียมไปยังสถานีภาคพื้นดิน พร้อมกันนั้นข้อมูลจะถูกเชื่อมต่อมายังศูนย์จัดเก็บข้อมูล โดยประมวลผลผ่านโปรแกรมระบบระบุตำแหน่งเรือประมง ซึ่ง CAT Telecom เป็นผู้สนับสนุนโครงข่ายในส่วนนี้ทั้งหมด” โดยประโยชน์จากความร่วมมือระหว่าง xsense และ CAT ในครั้งนี้ จะเป็นการเพิ่มทางเลือกให้ชาวประมงในการจัดหาระบบ VMS ด้วยราคา hardware ที่ถูกลงรวมถึงค่าบริการรายเดือนที่ลดลงเช่นกัน ทั้งนี้เรือประมงจะเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากระบบ VMS อย่างแท้จริง เนื่องจาก software ที่จะพัฒนาร่วมกันนั้น จะคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ของชาวประมงเป็นหลัก และในส่วนของภาครัฐ ข้อตกลงดังกล่าวจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับอุตสาหกรรมการประมงของไทยในภาพรวม โดยส่งผลต่อการส่งสินค้าจากอุตสาหกรรมการประมงไทย ไปยัง EU และการพัฒนาระบบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไปนั้น จะช่วยในการแก้ปัญหาอื่นๆ ที่เชื่อมโยงกับการประมง เช่น ปัญหาการค้ามนุษย์ ปัญหาแรงงานต่างด้าว ปัญหาการค้าของหนีภาษี นอกจากนี้ ยังถือเป็นการส่งเสริมการพัฒนาซอฟท์แวร์ โดยบริษัทคนไทยที่มีความรู้ความสามารถ และช่วยส่งเสริมภาคธุรกิจอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ไทยอีกด้วย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ