กรุงเทพ--27 พ.ย.--แจนเซ่น ฟาร์มาซูติกา
แจนเซ่นฯ ย้ำแชมพูไนโซรัลครองใจผู้บริโภคเหนียวแน่น ปีหน้ามั่นใจคว้าส่วนแบ่งตลาดแชมพูขจัดรังแคเกิน 80% ในช่องทางร้านขายยา เน้นประสิทธิผลการักษาของแชมพูยาสูตรคีโทโคนาโซล เป็นจุดแข็งมัดใจกลุ่มผู้นิยมเปลี่ยนยี่ห้อ
นายสมเกียรติ มหพันธ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แจนเซ่น ฟาร์มาซูติกา จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันขนาดของตลาดแชมพูขจัดรังแค มีมูลค่ารวมประมาณ 1,860 ล้านบาท แบ่งเป็นแชมพูขจัดรังแคทั่วไป 1,660 ล้านบาท และแชมพูยาขจัดรังแคอีกกว่า 200 ล้านบาท ในกลุ่มแชมพูยาขจัดรังแคที่จำหน่ายผ่านช่องทางร้านขายยาเป็นหลักนั้น บริษัทฯ ยังคงครองตำแหน่งผู้นำ ในปีนี้เชื่อว่าจะได้ส่วนแบ่งตลาดกว่า 70% หรือมียอดจำหน่ายประมาณ 150 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 15% ของยอดขายรวม ซึ่งคาดว่าภายในปีนี้บริษัทจะมียอดขายรวมเกือบ 1,000 ล้านบาท โดยเป็นอันดับที่ 5 ของบริษัทยาในสมาคมผู้ผลิตเภสัชภัณฑ์ (พีพีเอ.)
นับตั้งแต่เริ่มวางจำหน่ายแชมพูขจัดรังแคไนโซรัล ตั้งแต่ปี 1987 ในประเทศไทย มีอัตราการเติบโตเกินปีละกว่า 15% ตลอดมา ช่องทางการจำหน่ายร้านขายยาช่วยชูจุดแข็งในการเป็นแชมพูยาขจัดรังแค ซึ่งแตกต่างจากแชมพูขจัดรังแคทั่วไป ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจในประสิทธิภาพ และแบ่งแยกเซ็กเมนท์ให้กับผู้บริโภคชัดเจนยิ่งขึ้น ระหว่างกลุ่มแชมพูยาขจัดรังแคกับแชมพูขจัดรังแคทั่วไป ซึ่งส่วนมากขายตามร้านค้าปลีก และซูเปอร์สโตร์ในห้างสรรพสินค้า
"แชมพูไนโซรัล มีจุดแข็งแกร่งของตัวสินค้า ที่มีสูตรส่วนผสมของตัวยาฆ่าเชื้อรา ชื่อว่า คีโทโครนาโซล (KETOCONAZOLE) ในปริมาณ 2% อันเป็นลิขสิทธิ์ของแจนเซ่นฯ แต่เพียงผู้เดียว ทำให้สามารถขจัดเชื้อราพี โอวาเล่ บนหนังศีรษะที่เป็นสาเหตุสำคัญของอาการคัน และรังแคอย่างมีประสิทธิผล ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีปัญหาจากรังแคเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ เกิดความภักดีต่อตราสินค้า (Brand Royalty) มากกว่าแชมพูโดยปกติทั่วไป รวมไปถึงผู้บริโภคบางกลุ่มที่ชอบเปลี่ยนยี่ห้อ (Brand switcher) ซึ่งตามที่บริษัทได้สำรวจพฤติกรรมพบว่ามีผู้บริโภคนิยมเปลี่ยนยี่ห้อใหม่เสมอกว่า 50% แต่กลับพบว่าเกิดกับไนโซรัลในสัดส่วนที่ต่ำกว่า"
นายสมเกียรติ กล่าวว่า เนื่องจากชื่อแบรนด์และคุรภาพของไนโซรัล เป็นที่ยอมรับจากฐานผู้บริโภคเดิมอยู่แล้ว จึงคาดว่าภายในปีนี้ยังสามารถเติบโตได้ในอนัตรามากกว่า 10% เพราะผู้บริโภคคนไทยจำนวนกว่า 45% มีปัญหาเกี่ยวกับรังแค และอาการคันศีรษะ "อีกทั้งการสำรวจพบว่ามีผู้บริโภคเพียง 15% เท่านั้นเจาะจงใช้แชมพูขจัดรังแค โดยเฉพาะเพื่อหวังผลต่อการบำบัดอาการ โดยปริมาณผู้บริโภคที่มีปัญหาอีกจำนวนถึง 30% ยังใช้ผลิตภัณฑ์ไม่ตรงจุด ดังนั้นโอกาสการขยายตัวจึงมีมากกว่าทุกเซ็กเมนท์"
ด้านกิจกรรมในการขายปีนี้ และปีหน้าตั้งงบประมาณไว้ที่สัดส่วนเดิมประมาณ 10% ของยอดจำหน่าย ยังเน้นการจัดกิจกรรมให้ความรู้ เรื่องสาเหตุของการเกิดรังแค และวิธีการป้องกันและรักษารังแคจากเชื้อราอย่างถูกต้อง ทั้งผ่านสื่อโดยตรงและประสานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ แต่ปีหน้าจะวางกลยุทธ์ส่งเสริมการขาย ให้มีรูปแบบหลากหลาย และเกิดประสิทธิผลสูงยิ่งขึ้น
อนึ่งตลาดผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมแห่งประเทศไทยในปี 2540 มีมูลค่ารวมทั้งหมดกว่า 12,000 ล้านบาท แยกเป็นผลิตภัณฑ์แชมพูจำนวน 9,300 ล้านบาท และครีมนวดผม 2,700 ล้านบาท ทั้งนี้ ในตลาดแชมพูแบ่งออกเป็น 3 เซ็กเมนท์ คือ แชมพูเพื่อความสวยงาม 75% หรือมูลค่า 6,975 ล้านบาท แชมพูขจัดรังแค 20% หรือมูลค่า 1,860 ล้านบาท และแชมพูเด็ก 5% หรือมีมูลค่า 465 ล้านบาท--จบ--