ขรก. สธ. ร่วมใจบริจาคโลหิตเป็นปฐมฤกษ์ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล 6 รอบในหลวง

ข่าวทั่วไป Wednesday March 4, 1998 17:05 —ThaiPR.net

กรุงเทพ--4 มี.ค.--กระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงสาธารณสุข เปิดปฐมฤกษ์บริจาคโลหิต เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลโดยมีข้าราชการ เจ้าหน้าที่ รพ. สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และทุกกรมกองในส่วนกลางและประชาชนทั่วไปร่วมใจบริจาคโลหิตพร้อมกันทั่วประเทศ สำหรับผู้ที่บริจาคครบ 4 , 8 ครั้งจะได้รับเหรียญที่ระลึกที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษและเสนอชื่อทูลเกล้าฯเพื่อเป็นเกียรติแก่วงตระกูล ที่ได้ช่วยเหลอเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
เช้าวันที่ 2 มีนาคม 2541 เวลา 09.30 น.นายแพทย์ปรากรม วุฒิพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธาน เปิด โครงการ " 6รอบ ในหลวง ร้อยใจปวงประชา ร่วมใจมาบริจาคโลหิต กระทรวงสาธารณสุข " เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลณ ห้องโถง อาคาร 3 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี ว่า กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เนื่องในมหาวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จะทรงมีพระชนมายุ ครบ 72 พรรษา ในปี 2542ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี ปวงประชาร่วมใจบริจาคโลหิต โดยมีข้าราชการเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุขและประชาชนทั่วประเทศร่วมใจบริจาคโลหิตในโรงพยาบาลสังกัดกระทรงสาธารณสุข 99 แห่งและสามารถบริจาคโลหิตติดต่อกันทุก 3 เดือน ปีละ 4 ครั้ง ติดต่อกันตลอดปี 2541- 2542โดยในส่วนกลางได้แก่ ทุกกรมกองในกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลเลิดสินโรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี โรงพยาบาลสงฆ์โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีในต่างจังหวัดจะดำเนินการที่โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปทุกแห่ง
สำหรับเป้าหมายในการรับบริจาคโลหิตในโครงการนี้ในส่วนกลางตั้งเป้าหมายจำนวนโลหิตอย่างน้อย 350 ยูนิต ในต่างจังหวัด 9,900 ยูนิตซึ่งการบริจาคโลหิตจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายเพราะในร่างกายของแต่ละคนจะมีปริมาณโลหิตเท่ากับ 17-18 แก้วน้ำ ร่างกายใช้เพียง 15-16แก้วน้ำเมื่อบริจาคโลหิตออกไปแล้วจะทำให้สุขภาพแข็งแรงเนื่องจากการบริจาคโลหิตแต่ละครั้งเป็นการกระตุ้นให้ไขกระดูกสร้างเม็ดโลหิตมาชดเชยส่วนที่เสียไป
นพ.ปรากรม กล่าวต่อไปว่าปัจจุบันโลหิตยังขาดแคลนมาก การนำโลหิตไปใช้เพื่อการรักษามากถึง 77 %ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดใหญ่ ผู้ที่สูญเสียเลือดจากการได้รับอุบัติเหตุใช้รักษาคนไข้ที่มีความผิดปกติของโลหิต ที่พบมากในประเทศ คือ ธาลัสซิเมีย ฮิโมฟิเลีย เป็นต้นดังนั้นการสำรองโลหิตจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการรักษาพยาบาลเพราะโลหิตสำรองไว้ในคลังเลือดที่ได้ผ่านการตรวจคัดกรองเชื้อต่างๆจากห้องปฏิบัติการเรียบร้อยแล้วนั้นพร้อมที่จะจ่ายได้ทันที ศูนย์บริการโลหิตจึงต้องสำรองโลหิตไว้ในคลังเลือดไม่ต่ำกว่าวันละ 2,500-3,000 ยูนิคคุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิต ควรเป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 17-60 ปี บริบูรณ์ น้ำหนัก 45 กิโลกรัม ขึ้นไป ก่อนทำการเจาะจะมีการตรวจโลหิตว่ามีความเข้มข้นเพียงพอที่จะบริจาคหรือไม่ และตรวจหาหมู่เลือด ความดันโลหิตที่ปกติ ซักประวัติว่าเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจ โรคไต โรคเอดส์ไวรัสตับอักเสบหรือดีซ่าน และโรคติดต่ออื่นๆหรือไม่และประการสำคัญผู้บริจาคโลหิตไม่อยู่ระหว่างการรับประทานยาลดความอ้วน--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ