กรุงเทพฯ--4 ก.ย.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์
เปิดฉาก "Textile Sourcing 2016" แฟร์ผ้าผืนครั้งยิ่งใหญ่ ระดมผู้ประกอบการผ้าผืนชั้นนำกว่า 50 บูธ พร้อมชวนนักออกแบบอัพเดทเทรนด์แฟชั่น เร่งสร้างศักยภาพผลิตนิวไอเท็มตอบโจทย์ตลาดโลก
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) จับมือสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ตั้งเป้าพัฒนาพร้อมดันผ้าผืนไทยสู่เป้าหมายการเป็นผู้นำสิ่งทออาเซียน ปี 2558 ผ่านงานเจรจาธุรกิจพัฒนาผ้าผืนสู่เป้าหมายการเป็นผู้นำสิ่งทออาเซียน (Textile Sourcing 2016) ภายใต้โครงการพัฒนาผ้าผืนสู่เป้าหมายความเป็นผู้นำสิ่งทออาเซียน (Fabric Development towards ASEAN Textiles Leader) โดยภายในงานมีการจัดแสดงนวัตกรรมผ้าล่าสุด ทั้งในหมวด Eco Textiles และ Functional Textiles อาทิ ผ้าไหมเสริมคอลลาเจน ผ้าสำหรับชุดกีฬาที่มีความกระชับสูง ผ้าที่มีการจัดการความชื้น และผ้าทอเดนิมจากใยกัญชง เป็นต้น พร้อมอัพเดทเทรนด์ผ้าผืนในฤดูกาล Autumn/Winter 2016/2017 และ Spring/ Summer 2017 เพื่อให้ดีไซเนอร์สามารถออกแบบได้ตรงตามเทรนด์ สอดรับความต้องการและการเปลี่ยนแปลงของตลาดผ้าผืนทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนกิจกรรมการจับคู่ธุรกิจกับบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายเส้นด้าย ผ้าผืน เครื่องนุ่งห่มชั้นนำกว่า 50 ราย รวมผลิตภัณฑ์กว่า 1,000 รายการ อาทิ บริษัทสปันซิลค์ ประชาอาภรณ์ และบลูเลี่ยนเท็กซ์ เป็นต้น เพื่อเป็นการจุดประกายองค์ความรู้ และแนวคิดในการออกแบบที่แตกต่างแต่ใช้ได้จริง ตลอดจนสร้างโอกาสใหม่แก่นักออกแบบไทยในการต่อยอดผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ กระตุ้นการบริโภคตลาดผ้าผืนไทยเพื่อลดการนำเข้า หวังเพิ่มยอดขาย 5-10 % เตรียมพร้อมดันอุตสาหกรรมผ้าผืนไทยก้าวสู่ความเป็นผู้นำในอาเซียน
สำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอในครึ่งปีแรก (มกราคม – มิถุนายน 2558) มีมูลค่า 2,136.72 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยผ้าผืน มีมูลค่าการส่งออกมากที่สุด ด้วยสัดส่วนร้อยละ 20 ของมูลค่าส่งออกสิ่งทอทั้งหมด คือ 688.04 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 8.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน โดยตลาดส่งออกผ้าผืนหลักของไทย ได้แก่ เวียดนาม และเมียนมาร์ ในขณะที่ มูลค่าการนำเข้าสิ่งทอไทย 1,861.03 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยผ้าผืนนำเข้า 517.71 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 1.39 และตลาดนำเข้าที่สำคัญคือจีน
สำหรับผู้ประกอบการหรือนักออกแบบที่สนใจผลิตภัณฑ์ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยี สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซอยตรีมิตรถนนพระราม 4 กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0 2713 5492 – 9 ต่อ 402,403,409 อีเมล์ suda@thaitextile.org หรือเข้าไปที่ www.thaitextile.org
นางเพ็ญศรี ทองนพคุณ ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของไทย เนื่องจากสร้างรายได้เข้าประเทศจำนวนมาก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอ ในครึ่งปีแรก (มกราคม – มิถุนายน 2558) มีมูลค่า 2,136.72 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยผ้าผืน มีมูลค่าการส่งออกมากที่สุด ด้วยสัดส่วนร้อยละ 20 ของมูลค่าส่งออกสิ่งทอทั้งหมด คือ 688.04 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 8.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน โดยตลาดส่งออกผ้าผืนหลักของไทย ได้แก่ เวียดนาม และเมียนมาร์ ในขณะที่ มูลค่าการนำเข้าสิ่งทอไทย 1,861.03 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยผ้าผืนนำเข้า 517.71 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 1.39 และตลาดนำเข้าที่สำคัญคือจีน อย่างไรก็ดี เพื่อเป็นการพัฒนาและยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผ้าผืนไทย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) จึงมอบหมายให้ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ หน่วยงานหลักในการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ รวมถึงการพัฒนาและวิจัยเพื่อการเพิ่มมูลค่าและยกระดับสิ่งทอไทยสู่เป้าหมายการเป็นผู้นำสิ่งทออาเซียน ให้ดำเนินโครงการพัฒนาผ้าผืนสู่เป้าหมายผู้นำสิ่งทออาเซียน (Fabric Development Towards ASEAN Textiles Leader) เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมผ้าผืนไทย ให้มีนวัตกรรม และความหลากหลายทั้ง ฟังก์ชั่น และ แฟชั่น ในหนึ่งเดียว ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล โดยมีเป้าหมายสู่ตลาดอาเซียน ซึ่งโครงการได้พัฒนาจนสำเร็จนำมาสู่การจัดงาน Textile Sourcing 2016 เพื่อเผยแพร่ผลงานและการเจรจราธุรกิจในวันนี้ โดยจำหน่ายเส้นด้าย ผ้าผืน เครื่องนุ่งห่มชั้นนำกว่า 40 ราย รวมผลิตภัณฑ์กว่า 1,000 รายการ ในขณะเดียวกัน กสอ. ยังได้ดำเนินกิจกรรม "การพัฒนาไหมไทยให้เป็นที่รู้จักในระดับสากล" (Modern Thai Silk) ภายใต้โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแฟชั่น มุ่งส่งเสริมและพัฒนาไหมไทยให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้น โดยการนำนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้ในการผลิตพร้อมถักทอและสร้างสรรค์ให้ไหมไทยมีคุณสมบัติ มีสีสันและความร่วมสมัยตามเทรนด์ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และได้นำมาจัดแสดงในงานนี้ด้วยเช่นกัน
นายประดิษฐ์ รัตนวิจิตราศิลป์ รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสหากรรมสิ่งทอ กล่าวว่า สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในการดำเนินโครงการดังกล่าว โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการกว่า 60 ราย นำไปสู่กระบวนการอบรมสร้างองค์ความรู้ และคัดเลือกเหลือเพียง 28 ราย เพื่อรับทุนพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Functional & Sport wear/ Eco) โดยพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ผ้าผืนใหม่ ๆ (New Items) ที่มีทั้งฟังก์ชั่นและแฟชั่นไม่น้อยกว่า 50 ผลิตภัณฑ์ อาทิ ผ้าไหมเสริมคอลลาเจน ยูนิฟอร์มลดโลกร้อน ผ้าจัดการความชื้น ผ้าทอจากใยสับปะรด ผ้ายับยั้งแบคทีเรีย และผ้าสำหรับชุดปั่นจักรยาน เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนี้ จะถูกนำมาจัดแสดงภายในงาน Textile Sourcing 2016 เพื่อเป็นการสร้างโอกาสใหม่ๆ ในการเลือกสรรผลิตภัณฑ์ผ้าผืนซึ่งถือเป็นวัสดุใหม่ ที่พร้อมให้นักออกแบบและผู้ประกอบการได้จุดประกายในการสร้างสรรค์แฟชั่นที่แตกต่างแต่ใช้งานได้จริง ตลอดจนสร้างพื้นฐานความรู้ Function & Innovation และแนวคิดการทำธุรกิจ ซึ่ง กสอ. และสถาบันฯ สิ่งทอได้ร่วมกันจัดขึ้น โดยมุ่งพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ในด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมที่เหมาะสม ตลอดจนมุ่งลดการพึ่งพาวัตถุดิบผ้าผืนที่ทันสมัยจากต่างประเทศ โดยการสร้างมาตรฐานและมูลค่าเพิ่มให้แก่ผ้าผืนไทยเพื่อตอบโจทย์เทรนด์ตลาดโลก และเพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางสิ่งทอและแฟชั่นในภูมิภาคอาเซียนอย่างเต็มภาคภูมิ
นายประดิษฐ์ กล่าวต่อว่า ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรม 4 โซนหลักๆ คือ Fabric Exhibition โซนแสดงผ้าผืนคอลเลคชั่นใหม่สำหรับ เสื้อผ้าธุรกิจ ชุดลำลอง ยีนส์ เดรส และดิจิทัลพริ้นท์ Spring/Summer 2016 จาก 28 ผู้ประกอบการ ที่ได้รับทุนพัฒนาผลิตภัณฑ์จากโครงการฯ Trend Forum ชมนิทรรศการออกแบบผ้าผืนสำหรับฤดูกาล Autumn/ Winter 2016/17 และ Spring/Summer 2016 Trend Seminar งานสัมมนาเทรนด์ผ้าผืนและการปรับใช้ในสินค้าแฟชั่น Autumn/ Winter 2016/17 และ Spring/Summer 2016 โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการคัดสรรผ้าผืนให้เหมาะกับเทรนด์ต่างๆ ส่งตรงจากนครมิลาน ประเทศอิตาลี Business Networking การเจรจาธุรกิจเฉพาะกลุ่ม ตามประเภทของสินค้าแฟชั่น อาทิ Eco Fabric, Functional Fabric และ Innovation Fabric ทั้งนี้ สำหรับข้อมูลเทรนด์การออกแบบผ้าผืนตามฤดูกาลข้างต้น โดยภาพรวมทั่วโลกเน้นการออกแบบสะท้อนอิสระในการใช้วัสดุที่ยึดติดกับฤดูกาลน้อยลง โดยนำวัสดุที่บางเบามาออกแบบโดยไม่ละทิ้งคุณสมบัติปกป้องฤดูกาลที่อาจจะหนาวเย็น นำความสดใสของสีมานำเสนอในแฟชั่นฤดูหนาวได้อย่างกลมกลืน ผสมกับการใช้คู่สีตรงข้ามที่สดทอนความจัดจ้านของสีด้วยขาวหรือเทา ซึ่งให้ความรู้สึกเหมือนหยุดเวลา โดยกลุ่มสีในฤดูกาลนี้ ได้รับอิทธิพลต่อเนื่องจากการใช้แสง แต่เป็นการใช้แสงที่กระทบบนวัสดุที่มีพื้นผิวหลากหลาย ผสมด้วยการซ้อนทับของวัสดุที่สีแตกต่างกัน และการฉายภาพบนรูปทรงที่ได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ
อย่างไรก็ดี กิจกรรมดังกล่าวยังได้รับความร่วมมือจากผู้ผลิตและจำหน่าย เส้นด้าย ผ้าผืน เครื่องนุ่งห่มชั้นนำของไทยกว่า 50 ราย อาทิ สปันซิลค์ ประชาอาภรณ์ ดีเลิศการทอ วีเคการ์เม้น และบลูเลี่ยนเท็กซ์ เป็นต้น ที่มาร่วมเปิดตลาดให้เหล่าดีไซเนอร์และผู้ประกอบการได้เลือกช้อปวัสดุเส้นด้ายและผ้าผืน พร้อมเจรจาธุรกิจเพื่อเป็นทางเลือกและไอเดียใหม่ๆ ในการนำไปต่อยอดผลิตภัณฑ์ สำหรับงาน Textile Sourcing 2016 จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 3 – 4 กันยายน 2558 ณ ห้องอโนมา 2-3 ชั้น 3 โรงแรมอโนมาแกรนด์ กรุงเทพฯ โดยคาดว่าจะมีนักธุรกิจ ผู้บริหารแบรนด์ดัง ดีไซเนอร์ และผู้สนใจงานด้านแฟชั่น เข้าร่วมงานไม่ต่ำกว่า 1,000 คน และสร้างมูลค่าการซื้อขายให้แก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10% นายประดิษฐ์ กล่าวสรุป
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยี สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซอยตรีมิตรถนนพระราม 4 กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0 2713 5492 – 9 ต่อ 402 ,403,409 อีเมล์ suda@thaitextile.org หรือเข้าไปที่ www.thaitextile.org