จอห์นสัน สโต๊คส์ แอนด์ มาสเตอร์ เผยนวัตกรรมใหม่ในการบริการทางกฎหมาย ดึงดูดเงินลงทุนต่างประเทศ ฟื้นเศรษฐกิจไทย

ข่าวทั่วไป Friday September 24, 1999 14:01 —ThaiPR.net

กรุงเทพ--24 ก.ย.--เจเอสเอ็ม
จอห์นสัน สโต๊คส์ แอนด์ มาสเตอร์ (เจเอสเอ็ม) สำนักงานกฎหมายชั้นนำของไทยซึ่งมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ก่อตั้งสำนักงานในกรุงเทพฯ เมื่อปี 2534 เผยกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจและนวัตกรรมสำคัญที่ใช้ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไทย ตลอดจนบทบาทสำคัญในการมีส่วนร่วมปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อฟื้นฟูกิจการให้กับบริษัทของไทยหลายแห่ง
ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการนำ "เม็ดเงินก้อนใหม่" เข้ามาลงทุนในธุรกิจ เจเอสเอ็มจะทำการศึกษาแง่มุมต่างๆ โดยละเอียดมากกว่าการพิจารณาเพียงประเด็นด้านกฎหมายทั่วไปเท่านั้น บทบาทของเจเอสเอ็มไม่ว่าในฐานะเป็นตัวแทนของบริษัทในปัจจุบันหรือของหุ้นส่วนที่สนใจเข้ามาลงทุนในอนาคต เป็นบทบาทที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้าในหลายๆ ด้าน ส่วนการให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายนั้นเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้น
เจเอสเอ็มเป็นสำนักงานกฎหมายที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวข้องกับกิจกรรมด้านพาณิชย์ในด้านต่างๆ อาทิ การเจรจาขั้นต้น การพิจารณาและจัดเตรียมการตรวจสอบทางการเงินและเอกสารโครงร่างสัญญา (Term Sheet) ทั้งนี้ เจเอสเอ็มจะทำศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการโครงสร้าง สถานภาพ เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ทั้งในปัจจุบันและอนาคตและผลประโยชน์ของบริษัทลูกค้าอย่างละเอียด เพื่อให้หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายบรรลุผลสำเร็จสมบูรณ์ หลังจากนั้นจะนำองค์ประกอบเหล่านั้นมาทำการประเมินอย่างรอบคอบ เพื่อการนำเสนอข้อมูลและคำแนะนำที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงและเอื้อประโยชน์ในระยะยาวแก่ลูกค้า
ในส่วนของรูปแบบและโครงสร้างข้อตกลงด้านกฎหมายที่จัดทำขึ้นนั้น เจเอสเอ็มจะพิจารณาถึงสถานการณ์การเงินในปัจจุบันและอนาคตของบริษัทลูกค้าอย่างละเอียด รวมทั้งแผนกลยุทธ์สำหรับอนาคต และทางเลือกต่างๆ ที่จะบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ เนื่องจากไม่มีแนวทางแก้ปัญหาเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ได้กับทุกฝ่ายในทุกธุรกิจ
เจเอสเอ็มไม่เห็นด้วยกับการแก้ปัญหาด้วย "การลงทุนของต่างชาติ" โดยไม่คำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ขณะเดียวกันเจเอสเอ็มก็เชื่อมั่นในการแก้ปัญหาธุรกิจโดยที่ทุกฝ่ายมีข้อผูกพันทางกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติตาม แนวทางแก้ปัญหาที่เอื้อประโยชน์ให้ทั้งสองฝ่ายเป็นวิธีการที่เจเอสเอ็มนิยมใช้มากกว่าการแก้ปัญหาเพื่อประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นอกจากนี้ ความเหมาะสมกันระหว่างคู่เจรจาและความเป็นเอกภาพขององค์กรเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญมากเช่นกัน
"เงินไม่ใช่ปัจจัยสำคัญเพียงประการเดียวในการเจรจาต่อรองกับฝ่ายต่างๆ ดังนั้น เราจำเป็นต้องทบทวนและพิจารณาเป้าหมายและผลประโยชน์ที่สำคัญของทุกฝ่ายอย่างรอบคอบในการเจรจาตกลงทางธุรกิจทุกเรื่อง ความจริงใจ ประสบการณ์ และความซื่อสัตย์ ถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากกว่าสำหรับธุรกิจของคนไทยเมื่อมีการฟ้องร้องจากบริษัทในประเทศและต่างประเทศ เราได้เข้าไปมีบทบาทสำคัญในการตกลงทางธุรกิจที่มีการปฏิเสธข้อเสนอลงทุนในราคาสูงสุด เพราะว่าหุ้นส่วนมองว่าบริษัทที่จะเข้ามาร่วมลงทุนมีแนวคิดไม่ตรงกัน" อนุรักษ์ รามนัฎ พาร์ตเนอร์ร่วมก่อตั้งจอห์นสัน สโต๊คส์ แอนด์ มาสเตอร์ กล่าว
สอบถามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ : จารุสุดา เรืองสุวรรณ หรือ สาธิดา ศรีธัญญาธรณ์ อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์ โทร: 252-9871-7 อีเมลล์: r_charusuda@bm.com-- จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ