กรุงเทพฯ--14 ก.ย.--มทร.ธัญบุรี
นวัตกรรมชีวภาพจากความหลากหลายทางชีวภาพเชื้อราปฏิปักษ์สู่ชุมชนต้นแบบอินทรีย์ (organic community model) ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบึงกาสาม จังหวัดปทุมธานี โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนหมู่ 7 บึงกาสาม จังหวัดปทุมธานีแบบมีส่วนร่วมเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุกาญจน์ รัตนเลิศนุสรณ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี หัวหน้าโครงการ เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่ในการสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนหมู่ 7 บึงกาสาม พบว่าดินมีสภาพเป็นกรด มีความ ph 3-4 สภาพของดินแข็งไม่ร่วนซุย เนื่องมาจากการใช้สารเคมี ในการเพิ่มปริมาณธาตุอาหารหลักและรองในดิน กำจัดโรคพืช กำจัดศัตรูแมลง ต้นทุนสูงแต่ได้ผลผลิตต่ำ อีกทั้งผลผลิตมีสารโหละหนักปนเปื้อน ไม่ได้มาตรฐาน GAP ผลผลิตเกษตรอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ตนเองจึงได้คิดค้นนวัตกรรมชีวภาพจากความหลากหลายชีวภาพปฏิปักษ์จากดินในชุมชน โดยนำหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีชีวภาพด้วยนวัตกรรมจากความหลากหลายทางชีวภาพเชื้อราปฏิปักษ์ เพื่อพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งบนพื้นฐานคุณธรรม ภูมิคุ้มกันและความพอประมาณ นำไปสู่การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน เพื่อนำสู่ชุมชนอินทรีย์ต้นแบบ ด้วยนวัตกรรมชีวภาพจากความหลากหลายทางชีวภาพเชื้อราปฏิปักษ์ชุมชนบึงกาสาม จังหวัดปทุมธานี
สำหรับการบริการวิชาการชุมชน เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีชีวิภาพในการแก้ปัญหาและตรงกับความต้องการชุมชนร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (RMUTT Engagement) ได้แก่ ภาครัฐ เอกชน สถานประกอบการชุมชน ได้แก่ เกษตรอำเภอหนองเสือ เกษตรจังหวัดปทุมธานี พัฒนาชุมชนหนองเสือ กรมพัฒนาที่ดินเขต 2 กรมการข้าว กรมประมง ผู้นำชุมชน โรงเรียนหิรัญอนุสรณ์ ผ่านโครงการ 3 ด้าน ด้านสิ่งแวดล้อม โครงการผลิตสารปรับปรุงชีวภาพด้วยนวัตกรรมชีวภาพกล้าเชื้อราจากวัสดุเหลือใช้ โครงการการแก้ปัญหาและปรับปรุงดินกรดด้วยนวัตกรรมชีวภาพกล้าเชื้อราจากวัสดุเหลือใช้ , โครงการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรชุมชน , โครงการตรวจติดตามดินกรด และกำจัดโลหะปนเปื้อนในดินด้วยนวัตกรรมชีวภาพกล้าเชื้อรา , โครงการกำจัดขยะชุมชนด้วยนวัตกรรมชีวภาพกล้าเชื้อราเพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์ OTOP ด้านสังคมและเศรษฐกิจ โครงการผลิตสารปรับปรุงชีวภาพด้วยนวัตกรรมชีวภาพกล้าเชื้อราเชิงอุตสาหกรรม (SME) โครงการการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ด้วยนวัตกรรมชีวภาพกล้าเชื้อรา โครงการบริหารจัดการพัฒนาชุมชนบึงกาสาม โครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและอนุรักษ์สายพันธุ์ด้วยนวัตกรรมชีวภาพกล้าเชื้อรา โครงการแปรรูปทรัพยากรชุมชนด้วยเทคโนโลยีท้องถิ่นเพื่อการผลิตเชิงพาณิชย์ และโครงการจัดตั้งชุมชนต้นแบบอินทรีย์(organic community model) ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บูรณาการและนำเทคโนโลยีชีวภาพจากนวัตกรรมชีวภาพชุมชนไปช่วยแก้ปัญหาตรงตามความต้องการ และเป็นแหล่งพัฒนาการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติของนักเรียน นักศึกษา และประชาชน ด้านศิลปวัฒนธรรม โครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่วิถีชีวิตอินทรีย์เฉลิมฉลองวันพ่อและวันแม่ของแผ่นดิน
นายเล็ก ทองต้น อดีตผู้ใหญ่บ้านชุมชนหมู่ 7 บึงกาสาม เล่าว่า สืบเนื่องจากตนเองสนใจเกี่ยวกับชีวภาพ และทำการทดลองและใช้ชีวภาพมาตลอด อยากจะลดต้นทุนในการผลิต อาจจะเห็นผมช้า แต่ดีกับธรรมชาติ ดังนั้นจึงพยายามหาวิธีเพื่อนำมาปรับใช้ในชุมชน โดยจากการหาข้อมูลทางคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการนำชีวภาพมาใช้ ตนเองจึงได้ทำเรื่องมาที่มหาวิทยาลัย อาจารย์และทีมงานและลงพื้นที่สำรวจ และเข้ามาทำการวิจัยและทำการทดลองนวัตกรรมชีวภาพจากความหลากหลายทางชีวภาพ ลงในนาข้าว รวมไปถึงมะนาว ปาล์ม ความแตกต่างของการใช้สารเคมี และสารชีวภาพ จากที่ลงทุน 5,000 บาท/ไร่ เหลือเพียง 2,200 บาท/ไร่ "นำชีวภาพที่มีในชุมชนมาใช้ ตามเศรษฐกิจพอเพียง พอมีพอกิน ไม่ต้องดิ้นร้น" นอกจากนี้ทีมอาจารย์จากทางคณะ ยังเข้ามาสอนการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีในชุมชน เช่น น้ำมันตะไคร้หอม นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งชุมชนต้นแบบอินทรีย์ (organic community model) ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
"ใบตอง" นางสาวพัชราวดี สุนิพันธ์ นักศึกษาปริญญาโทชั้นปีที่ 1 สาขาชีววิทยาประยุกต์ เล่าว่า จากการที่ได้ลงพื้นที่ ในการสำรวจและช่วยอาจารย์ในการวิจัย ทางชุมชนมีความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งอาจารย์ได้นำความหลากหลายมาทำการวิจัย ไม่ว่าจะเป็นดิน วัสดุเหลือใช้ กลายเป็นนวัตกรรมชีวภาพที่นำไปใช้ในการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และในขณะนี้ ตนเองและเพื่อนปริญญาโท ได้เข้าไปศึกษาและทำงานวิจัย ตนเองรับผิดชอบในการช่วยเพิ่มผลผลิตของมะนาว ตอนอยู่ในการวิจัยและทดลอง ซึ่งตนเองได้คิดค้นสูตรปุ๋ยขึ้นมา "เรียนทางด้านชีววิทยา และช่วยงานทางด้านชีวภาพอาจารย์มาหลายโครงการ ตนเองอยากที่จะพัฒนา และนำชีวภาพมาใช้ให้มากที่สุด"
ชุมชนต้นแบบอินทรีย์ (organic community model) ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบึงกาสาม จังหวัดปทุมธานี โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนหมู่ 7 บึงกาสาม จังหวัดปทุมธานี นำความหลากหลายทางชีวภาพเข้ามาใช้ ลดการใช้สารเคมี ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ลดต้นทุนให้ชาวบ้าน