กรุงเทพฯ--14 ก.ย.--สำนักงาน ป.ป.ช.
เมื่อเดือนมิถุนายน 2558 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำรวจความเชื่อมั่นที่ประชาชนมีต่อสำนักงาน ป.ป.ช.และองค์กรอิสระไทย รวมทั้งทัศนคติต่อปัญหาทุจริตในประเด็นต่างๆ โดยสำรวจจากประชากร จำนวน 2,400 คน เป็นภาคประชาชน 50.9 % ผู้ประกอบการ/ภาคเอกชน 20 % และข้าราชการ/ภาครัฐ 25.1% จากทุกภูมิภาค ทั่วประเทศ ปรากฏว่ามีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อสำนักงาน ป.ป.ช.และองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ด้านการต่อต้านการทุจริต
ได้คะแนน 5.71 จาก 10 ซึ่งนับว่าสูงที่สุดในรอบ 6 ปี
ประสิทธิภาพการทำงานต่อต้านการทุจริตของสำนักงาน ป.ป.ช. ประชาชนเห็นว่ามีประสิทธิภาพ คิดเป็น
ร้อยละ 51 ซึ่งนับว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่มีการสำรวจมา
กรณีคำถาม "เห็นด้วยหรือไม่ว่าการทุจริตเป็นเรื่องไกลตัว ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวเองโดยตรง" ประชาชน
ร้อยละ 92 ไม่เห็นด้วย
กรณีคำถาม "เห็นด้วยหรือไม่ว่าการที่รัฐบาลทุจริต แต่มีผลงานและทำประโยชน์ให้สังคมเป็นเรื่องที่รับได้"
ประชาชนร้อยละ 87 ไม่เห็นด้วย
กรณีคำถาม "เห็นด้วยหรือไม่ว่า การให้สินน้ำใจ (เงินพิเศษ) เล็กๆ น้อยๆ แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นเรื่องไม่เสียหาย"
ประชาชนร้อยละ 85 ไม่เห็นด้วย
ความสามารถที่จะทานทนต่อการทุจริต ผลการสำรวจได้ค่าคะแนน 2.48 (คะแนน 0 = เกลียดการทุจริต/ ไม่สามารถทนได้ คะแนน 10 = สามารถทนได้)
การมีส่วนร่วมในการป้องกันต่อต้านการทุจริต ประชาชนร้อยละ 85 ยินดีมีส่วนร่วม ร้อยละ 3 อยากมีส่วนร่วมแต่ไม่สามารถทำได้ เพราะจำเป็น / กลัวอันตราย ร้อยละ 12 ไม่ต้องการมีส่วนร่วมผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจกับภาครัฐ จะต้องจ่ายเงินเพิ่มพิเศษแก่ข้าราชการ / นักการเมืองที่ทุจริตเพื่อให้ได้สัญญา พบว่าลดลงอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือปี 2553 – 2556 ต้องจ่าย % เงินเพิ่มพิเศษของรายรับเฉลี่ย 25 - 35 %
เดือนมิถุนายน 2557 ต้องจ่าย % เงินเพิ่มพิเศษของรายรับเฉลี่ย 15 – 25 %
เดือนธันวาคม 2557 ต้องจ่าย % เงินเพิ่มพิเศษของรายรับเฉลี่ย 5 – 15 %
เดือนมิถุนายน 2557 ต้องจ่าย % เงินเพิ่มพิเศษของรายรับเฉลี่ย 1 – 15 %
ทั้งนี้ สำนักงาน ป.ป.ช. จะพยายามรักษาสถานการณ์เช่นนี้ไว้ และจะทำให้ดียิ่งขึ้นต่อไป