กรุงเทพฯ--15 ก.ย.--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "ใครควรเป็นกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญและสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 10 – 11 กันยายน 2558 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทั่ว ทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ที่เหมาะสมจะเป็นกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญและสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4
จากการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อคุณสมบัติของกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ ชุดที่ 2 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 56.88 ระบุว่า เป็นคนมีความเข้าใจความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง รองลงมา ร้อยละ 19.44 ระบุว่า เป็นผู้ที่มีประสบการณ์การร่างรัฐธรรมนูญมาก่อน ร้อยละ 16.96 ระบุว่า เป็นผู้เข้าใจบริบททางการเมืองไทยที่แท้จริง ร้อยละ 15.28 ระบุว่า เป็นนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์หรือกฎหมายมหาชน ร้อยละ 6.24 ระบุว่า เป็นนักประนีประนอม ร้อยละ 1.52 ระบุว่า เป็นนักการเมืองหรือตัวแทนของพรรคการเมืองและกลุ่มการเมือง เช่น นปช. กปปส. และ พันธมิตรฯ ร้อยละ 1.36 ระบุว่า เป็นคนมีความเข้าใจความต้องการของ คสช. ร้อยละ 1.20 ระบุว่า เป็นคนมีความเข้าใจความต้องการของนักการเมือง ร้อยละ 0.88 ระบุว่า เป็นนักประชาธิปไตยแบบตะวันตก ร้อยละ 1.28 ระบุ อื่น ๆ ได้แก่ ใครก็ได้ที่เป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรม จริงใจในการแก้ไขปัญหา เป็นคนกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และมาจากทุกกลุ่มอาชีพ และร้อยละ 6.48 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบุคคลที่สมควรเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไทย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 36.00 ระบุว่า เป็ฯบุคคลที่เป็นตัวแทนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ รองลงมา ร้อยละ 14.96 ระบุว่า เป็นนักวิชาการ ร้อยละ 12.72 ระบุว่า เป็นบุคคลที่ไม่ใช่นักการเมืองหรือตัวแทนของพรรคการเมืองและกลุ่มการเมือง เช่น นปช. กปปส. และ พันธมิตรฯ ร้อยละ 12.16 ระบุว่า เป็นอดีต สปช. หรืออดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 9.04 ระบุว่า เป็นทหาร ตำรวจ ร้อยละ 8.56 ระบุว่า เป็นนักการเมืองหรือตัวแทนของพรรคการเมืองและกลุ่มการเมือง เช่น นปช. กปปส. และ พันธมิตรฯ ร้อยละ 7.28 ระบุว่า เป็นบุคคลที่ไม่เคยเป็น สปช. หรือกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 6.24 ระบุว่า เป็นข้าราชการประจำ ร้อยละ 4.48 ระบุว่า เป็นนักธุรกิจ ร้อยละ 4.48 ระบุ อื่น ๆ ได้แก่ เป็นผู้ที่เข้าใจกฎหมายบ้านเมือง รับรู้และเข้าถึงปัญหาของประชาชนและประเทศ มีความรู้ความสามารถ ประชาชนมีส่วนร่วมในการคัดเลือกเข้ามา มีความคิดเป็นอิสระเป็นของตัวเอง ไม่ถูกชักจูง ร้อยละ 0.24 ระบุว่าไม่มีใครเหมาะสม และร้อยละ 9.68 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 9.20 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.36 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.16 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.12 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.16 ภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 54.80 เป็นเพศชาย ร้อยละ 45.12 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 7.44 มีอายุ ต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 20.80 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 25.36 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 35.44 มีอายุ 46 – 60 ปี ร้อยละ 9.28 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป และร้อยละ 1.68 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่างร้อยละ 93.36 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.92 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.12 นับถือศาสนาคริสต์และอื่น ๆ และร้อยละ 1.60 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 24.80 สถานภาพโสด ตัวอย่างร้อยละ 71.12 สมรสแล้ว ตัวอย่างร้อยละ 2.24 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.84 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 26.08 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ตัวอย่างร้อยละ 29.12 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.72 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 28.72 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 5.28 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 2.08 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 15.52 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างร้อยละ 12.16 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ตัวอย่าง ร้อยละ 23.60 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ตัวอย่าง ร้อยละ 14.64 ประกอบอาชีพ เกษตรกร/ประมง ตัวอย่างร้อยละ 15.28 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ตัวอย่างร้อยละ 13.12 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ตัวอย่างร้อยละ 3.44 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.16 เป็นพนักงานองค์กรอิสระ ที่ไม่แสวงหากำไรไม่ระบุอาชีพ และร้อยละ 2.08 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 14.72 ไม่มีรายได้ ตัวอย่าง ร้อยละ 19.92 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 ตัวอย่างร้อยละ 33.12 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 ตัวอย่างร้อยละ 13.12 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ตัวอย่างร้อยละ 6.56 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 ร้อยละ 7.04 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 5.52 ไม่ระบุรายได้