กรุงเทพฯ--23 ก.ย.--มูลนิธิสื่อสร้างสุข
22 กันยายน 2558 นส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช.ได้ทวิตข้อความถึงเรื่องการเริ่มต้นทีวีดิจิตอลชุมชนว่า วันนี้มีการประชุมหารือนอกรอบกับทาง @ITU UNESCO และ ตัวแทนภาคประชาสังคม เรื่องโรดแมปทีวีดิจิตอลชุมชนในประเทศไทย
ปีนี้ทาง กสทช. ให้ @ITU เป็นที่ปรึกษาในการศึกษาแนวทางการจัดสรรคลื่นความถี่และโมเดลทีวีดิจิตอลชุมชน ที่จะคู่ขนานไปกับแผนยุติทีวีแอนะล็อก
คลื่นความถี่แอนะล็อกของ @ThaiPBS ที่จะทยอยยุติในปลายปีนี้ถึงปี 2561 มีศักยภาพในการให้บริการทีวีชุมชนภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลได้
โรดแมปการออกใบอนุญาตตัวจริงของทีวีชุมชนน่าจะเป็นปลายปี 2561 หลังแผนยุติทีวีแอนะล็อกของ 4 หน่วยงานสื่อของรัฐเดิม แต่ก่อนนั้นอาจมีการทดลองต้นแบบได้
ศักยภาพของคลื่นความถี่สามารถจัดสรรช่องทีวีชุมชนระบบดิจิตอลภาคพื้นดินได้ถึง 12 ช่องต่อ 1 เขตบริการ ซึ่งเรามีโครงข่าย MUX 39 สถานีหลัก
ช่องทีวีดิจิตอลชุมชน จะรับชมได้ผ่านทีวีหรือกล่องภาคพื้นดินเท่านั้น ดูผ่านจานดาวเทียมไม่ได้ เพราะเป็นทีวีชุมชน ไม่อยู่ในกฏ MustCarry
คลื่นแอนะล็อกเดิมที่ @ThaiPBS จะคืนมา จะใช้บริการทีวีชุมชนได้ แต่ยังไม่รู้ว่าใครจะเป็นผู้ให้บริการ MUXโครงข่ายทีวีชุมชน ตอนนี้มีสองทางเลือก
ทางเลือกแรกคือ ให้ทุกโครงข่ายจัดสรรพื้นที่ร้อยละ 20 เพื่อให้บริการทีวีชุมชน หรือทางเลือกสองจัดสรรโครงข่าย MUX ที่ 6 ในการให้บริการทีวีชุมชน
แต่ MUX ที่ 6 ก็อาจมีการหมายปองจะไปให้บริการอย่างอื่นด้วย ซึ่งตอนนี้ กสท. ยังไม่มีการจัดสรรโครงข่าย MUX 6 ที่ชัดเจน
สิ่งที่ทาง @ITU UNESCO และภาคประชาสังคม จะช่วย กสทช. หาคำตอบทางนโยบายคือ การจัดสรรคลื่นทีวีชุมชน จะดูมิติความพร้อมด้านใดก่อน เทคนิคหรือชุมชน
เพื่อพัฒนาเป็น legal/regulatory framework ในการพิจารณาออกใบอนุญาต โดยการดูคุณสมบัติ (Beauty contest) ไม่ใช่การประมูล
ทาง ITU จะเชี่ยวชาญเรื่องคลื่นความถี่ แต่อาจไม่ถนัดด้านปรัชญาสื่อชุมชน จึงชวนUNESCO ที่อยู่ในร่ม UN มาช่วยทำโครงการนี้ด้วย
โครงการนี้จะเริ่มจากการที่ ITU ศึกษาบทเรียน ?#ทีวีชุมชนจาก4?-5ประเทศ และจะลงพื้นที่ไปทำ focus group กับจังหวัดที่ริเริ่มทำทีวีชุมชนต้นแบบ
วันนี้ทาง ITU ได้เชิญทีมสื่อชุมชนจาก อุบลราชธานี และ พะเยา มาแลกเปลี่ยนในฐานะต้นแบบที่ริเริ่มทำสื่อTVชุมชนในประเทศไทยด้วย
เดือนหน่าจะมีผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ มาร่วม focus group กับภาคประชาสังคมเมืองไทย เพื่อพัฒนาโมเดลร่วมกันในการวางโรดแมปเรื่อง ?#ทีวีชุมชน?
ถ้าดูเฉพาะความพร้อมในมิติเทคนิค ที่เกาะสมุยกับไชยปราการ จะให้บริการช่องทีวีชุมชนได้ปลายปีนี้ แต่ในมิติชุมชน อาจยังไม่พร้อมหรือยังไม่ทราบ
ที่พะเยา หรือ อุบลราชธานี ดูมีความพร้อมของภาคประชาสังคมในพื้นที่เวลานี้ แต่คลื่นความถี่ยังไม่พร้อมทำ #ทีวีชุมชน ปีนี้
หลัง focus group กลุ่มย่อยในเดือนหน้าแล้ว ราวปลายปีจะมีสัมมนาใหญ่เชิญทุกภาคส่วนมาเปิดประเด็นเรื่อง'อนาคตทีวีชุมชนระบบดิจิตอล' ของประเทศไทย
ถ้าเป็นไปได้
ปีหน้าหลังผลการศึกษาของ ITU ส่งให้ กสทช. ใช้ในทางนโยบาย เราจะมีการพัฒนาต้นแบบทีวีชุมชน เพื่อนำไปสู่การทำโครงการทดลอง
ความเป็นไปได้ของ #ทีวีชุมชน
ในทางเทคนิคตอนนี้ผูกโยงกับการคืนคลื่นความถี่แอนะล็อกของ ThaiPBS มาให้ กสทช.จัดสรรใหม่ในระบบดิจิตอล
ต้องชม ThaiPBS ว่าเป็นหน่วยงานตัวอย่าง ที่เต็มอกเต็มใจในการจะรีบคืนคลื่นเดิมกลับมาให้ กสทช.จัดสรรใหม่ ในขณะที่องค์กรรัฐอื่นๆอาจต้องบังคับ
คลื่นความถี่เดิมมีค่า ใช้ทำอย่างอื่นต่อได้ หน่วยงานรัฐเดิม หรือรัฐวิสาหกิจ ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ค่อยมีใครอยากคืนคลื่นมาให้ กสทช. จัดสรรใหม่
ตัวอย่างคลื่นโทรคมนาคมที่หมดสัมปทาน ก็ไม่ง่ายที่ กสทช. จะเรียกคืนมาจัดสรรใหม่ รอลุ้นคลื่น 900 MHz ว่าทาง TOT จะฟ้องศาลอย่างไรหรือไม่
ฝั่งทีวีเองจะขอคืนคลื่นความถี่หลังปี61 ก็แลกมากับสิทธิ์ให้หน่วยงานรัฐอย่าง ททบ.อสมท.กรมประชาฯ ได้สิทธิ์ทำMUXโครงข่ายดิจิตอล (โดยไม่ประมูล)
มี ThaiPBS ที่จะเร่งยุติระบบแอนะล็อกก่อนใครเพื่อน ตั้งแต่ปีนี้ เพื่อคืนคลื่นให้ กสทช. และเปิดทางให้ทำทีวีชุมชนได้เร็วขึ้นด้วย
#ทีวีชุมชน ซึ่งป็นส่วนสำคัญ เพราะเป็นเส้าที่สาม ของสื่อสามเส้า
สื่อสามเส้า คือ สื่อสาธารณะ สื่อภาคธุรกิจเอกชน และ สื่อชุมชน ดำรงอยู่แบบ หนุนเสริม และ คานดุลกัน ?#dtv4all?
ความคืบหน้าต่างๆจะแจ้งต่อไป เวที focus group และสัมมนา #ทีวีชุมชน รอบหน้า จะเชิญทีม ?#ยามเฝ้าจอ? มาร่วมด้วย
ภาพ : สุภิญญา กลางณรงค์