กรุงเทพฯ--25 ก.ย.--กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดยุทธการทวงคืนผืนป่าอุทยานฯ สิรินาถ (ในยาง) จ.ภูเก็ต ตัดฟันยางพารากว่า 90 ไร่พร้อมเดินหน้าตรวจสอบดาเนินคดีกลุ่มนายทุน บุกรุกอุทยานฯ ก่อสร้างโรงแรม รีสอร์ตหรูและบ้านพักตากอากาศ
เมื่อวันที่ 15 ก.ย.ที่อุทยานแห่งชาติสิรินาถ(ในยาง) จ.ภูเก็ต กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดยุทธการทวงคืนผืนป่าตัดโค่นต้นยางพาราตามแผนปฎิบัติการเพื่อบังคับใช้กฎหมายต่อพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกปลูกยางพาราในเขตอุทยานฯ สิรินาถ โดยมีนายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธาน และมีนายสมัคร ดอนนาปี ผอ.สานักอุทยานแห่งชาติ นายจิระศักดิ์ ชูความดี ผอ.สานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช) รวมทั้งเจ้าหน้าที่ป่าไม้เข้าร่วม
ทั้งนี้ นายสมัคร ดอนนาปี เปิดเผยว่า นายนิพนธ์ โชติบาล อธิบดีกรมอุทยานฯ ได้มอบหมายให้ลงพื้นที่เพื่อเปิดยุทธการทวงคืนผืนป่าอุทยานฯ สิรินาถ ที่มีปัญหาการบุกรุกปลูกยางพารา เนื้อที่กว่า 90 ไร่ ที่บ้านตรอกม่วง หมู่ที่ 2 และ บ้านในทอน หมู่ที่ 4 ต.สาคู อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ซึ่งกรมอุทยานฯ ได้มีการแจ้งความดาเนินคดีและดาเนินมาตรการทางปกครองตารม มาตรา 22 พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 แล้ว เพื่อดาเนินการตัดฟันยางพาราที่อยู่ในพื้นที่อุทยานฯ สิรินาถ จานวน 4 แปลง เนื้อที่กว่า 90 ไร่
ผอ.สานักอุทยานฯ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ กรมอุทยานฯ จะเข้าตรวจสอบติดตามความคืบหน้าคดีการบุกรุกอุทยานฯ สิรินาถ ที่ถูกกลุ่มนายทุนบุกรุกก่อสร้างเป็นโรงแรม รีสอร์ทหรูและบ้านพักตากอากาศ โดยขณะนี้ กรมอุทยานฯ ได้อนุมัติงบประมาณกว่า 1.86 ล้านบาท เพื่อให้ศูนย์ปฏิบัติการตรวจสอบเอกสารสิทธิฯในเขตอุทยานฯ สิรินาถดาเนินการต่อ หลังจากเมื่อปลายเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ศาลฎีกามีคาพิพากษาถึงที่สุดตัดสินให้นางสวรรยา ศิริพงศ์ ที่บุกรุกพื้นที่อุทยานฯ สิรินาถ จานวน 2 แปลง เนื้อที่ 12-0-46.20 ไร่ พร้อมสิ่งปลูกสร้างมูลค่ากว่าพันล้านบาทแพ้คดี และขณะนี้หัวหน้าอุทยานฯ สิรินาถ ได้ทาหนังสือแจ้งอัยการเพื่อบังคับคดีตามคาพิพากษา พร้อมกับให้ฟ้องทางแพ่งและเข้ารื้อถอนสิ่งปลูกสร้างแล้ว
นายสมัคร กล่าวอีกว่า ส่วนความคืบหน้าของการดาเนินคดี ขณะนี้ได้มีการจาแนกแปลงที่ดินที่มีการออกเอกสารสิทธิซ้อนทับอุทยานฯสิรินาถ ได้จานวน 715 แปลง เนื้อที่ 3,953–0–12.02 ไร่ แยกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.แปลงที่ได้รับสารบบที่ดินแล้ว จานวน 489 แปลง เนื้อที่ 2,300–2–95.71 ไร่ 2.แปลงที่ยังไม่ได้รับสารบบที่ดิน จานวน 216 แปลง เนื้อที่ 1,125–3–3.93 ไร่ และ 3.แปลงที่ดินของรัฐ จานวน 10 แปลง เนื้อที่ 526–2–12.37 ไร่ ซึ่งขณะนี้แปลงที่กรมอุทยานฯ มอบอานาจให้กองนิติการของกรมอุทยานฯ ส่งอัยการเพื่อฟ้องศาลและแจ้งกรมที่ดินให้เพิกถอนตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินพร้อมแจ้งดีเอสไอ รับสานวนเป็นคดีพิเศษ จานวน 20 แปลง(6) ราย เนื้อที่ 274– 2–2.50 ไร่ แปลงที่กรมอุทยานฯ กาลังจะมอบอานาจให้กองนิติการของกรมอุทยานฯ แจ้งดีเอสไอ เพื่อรับสานวนเป็นคดีพิเศษ เพิ่มเติมอีก จานวน 50 แปลง(3ราย) เนื้อที่ 305–3–34 ไร่