ผลจากการสำรวจทัศนคติในการใช้จ่ายของผู้บริโภคในเอเชีย (Asian Ideals Survey) แสดงให้เห็นว่า คนเอเชียกังวลเกี่ยวกับการจัดการทางการเงิน

ข่าวทั่วไป Friday November 27, 1998 17:46 —ThaiPR.net

กรุงเทพ--27 พ.ย.--มาสเตอร์การ์ด อินเตอร์เนชั่นแนล
มาสเตอร์การ์ด อินเตอร์เนชั่นแนล ประกาศเปิดตัวโครงการใหม่ล่าสุด “การบริหารการใช้เงินของคุณ” (Master Your Money) ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับหลักการเบ ื้องต้นในการบริหารจัดการระบบการเงินของตนเอง โดย มาสเตอร์การ์ดได้จัดทำคู่มือ “การบริหารการใช้จ่ายในครอบครัว” (Managing Your Family Finances) ซึ่งเป็นคู่มือให้คำแนะนำด้านการบริหารระบบการเงินในครอบครัว ซึ่งมาสเตอร์การ์ดเผยแพร่ให้แก่ลูกค้าในประเทศไทย ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
คู่มือ “การบริหารการใช้จ่ายในครอบครัว” ให้คำแนะนำแก่ผู้บริโภค เกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบ สถานภาพทางการเงิน การวิเคราะห์สิ่งที่อาจนำไปสู่ปัญหาในการใช้จ่าย และการควบคุมการใช้จ่ายเงิน ตัวอย่างคำแนะนำที่ดีที่สุดในคู่มือสำหรับการตรวจสอบสถานภาพทางการเงิน คือ ค่าใช้จ่ายสำหรับการกู้ยืมเงินทั้งหมดซึ่งไม่รวมค่าใช้จ่ายในบ้าน ไม่ควรจะเกินร้อยละ 20 ของรายได้สุทธิ
ในโอกาสนี้ นายวิชาญ พุทธภาวนา ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและลูกค้าสัมพันธ์ ประจำประเทศไทย มาสเตอร์การ์ด อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวแนะนำโครงการว่า “มาสเตอร์การ์ดซึ่งเป็นบริษัท ชั้นนำของโลกในการให้บริการด้านการชำระค่าใช้จ่าย และยังเป็นผู้นำในการดำเนินกิจกรรม เผยแพร่ให้ความรู้และข้อมูลแก่ผู้บริโภคตลอดมา ต้องการที่จะมีบทบาทในเชิงรุกในการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับการใช้บัต รเครดิตและเดบิตอย่างเหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์เศรษฐกิจของเอเชีย ในปัจจุบัน”
ผู้บริโภคสามารถแจ้งความประสงค์ขอรับคู่มือ “การบริหารการใช้จ่ายในครอบครัว” ของ มาสเตอร์การ์ด ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 260-8572-3
ความเป็นผู้นำของมาสเตอร์การ์ดในการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้บริโภค
เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มาสเตอร์การ์ดได้เปิดตัวโครงการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้บริโภคในไต้หวัน โดยจัดทำคู่มือ “บัตรเครดิตทำให้ชีวิตสะดวกขึ้น (Plastic Made Simple)” เพื่อให้ผู้บริโภค เข้าใจถึงการชำระเงินด้วยวิธีอื่นๆ นอกเหนือจากเงินสด อาทิ การใช้บัตรเครดิต บัตรเดบิตและ บัตรสมาร์ทการ์ด
นอกจากนั้น มาสเตอร์การ์ดยังได้ดำเนินโครงการให้ความรู้แก่ผู้บริโภคในช่วงหลายปีที่ผ่า นมา ไม่ว่าจะเป็น วิธีการหลีกเลี่ยงบัตรเครดิตปลอม การใช้จ่ายเงินอย่างเหมาะสมในช่วงวันหยุด การวิจัยเกี่ยวกับการใช้ชีวิตส่วนตัวของผู้บริโภค การให้ความรู้เกี่ยวกับบัตรเดบิตและบัตร สมาร์ทการ์ด และการจัดทำการสำรวจ MasterIndex of Consumer Confidence และการสำรวจ ทัศนคติในการใช้จ่ายของผู้บริโภคในเอเชีย (Asian Ideals Survey) โดยจัดทำขึ้นปีละ 2 ครั้ง
การสำรวจทัศนคติในการใช้จ่ายของผู้บริโภคในเอเชีย (Asian Ideals Survey)
มาสเตอร์การ์ดได้แถลงผลการสำรวจเกี่ยวกับทัศนคติในการใช้จ่ายของผู้บริโภคใน เอเชียไปพร้อมๆ กับโครงการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้บริโภค ซึ่งสำรวจเกี่ยวกับการออมเงินและนิสัยในการใช้จ่าย ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้นมีจำนวน 5,420 คนในตลาดหลัก 13 แห่ง ได้แก่ ประเทศไทย ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไต้หวัน
มร. โจนาธาน กูลด์ รองประธานอาวุโสฝ่ายการตลาด ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ มาสเตอร์การ์ด กล่าวว่า “ผลจากการสำรวจชี้ว่า ผู้บริโภคชาวเอเชียมีความกังวลเกี่ยวกับการ จัดการทางการเงิน ซึ่งโครงการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้บริโภคของมาสเตอร์การ์ดมุ่งสร้าง ความเข้าใจแก่ผู้บริโภค เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาเช่นนี้”
ประเด็นที่น่าสนใจจากการสำรวจอีกประการหนึ่ง คือ ชาวไต้หวันเป็นนักออมทรัพย์ตัวยงในเอเชียโดย 24% ของผู้ตอบแบบสอบถามชาวไต้หวัน ระบุว่า พวกเขาออมเงินมากกว่า 50% ของรายได้ประจำทั้งเดือน
ผู้บริโภคชาวมาเลเซีย (80%) ไต้หวัน (72%) และสิงคโปร์ (66%) ตอบว่า พวกเขาสามารถออมเงินได้บางส่วน ตามด้วยผู้บริโภคจากฟิลิปปินส์ (47%) และอินโดนีเซีย (42%) ในขณะที่ผู้บริโภคจาก ออสเตรเลีย (26%) นิวซีแลนด์ (25%) ประเทศไทย (20%) เกาหลี (19%) อินเดีย (18%) และฮ่องกง (18%) ไม่พอใจเกี่ยวกับการออมเงินของตนเอง ทั้งนี้ ผู้บริโภคจากประเทศจีน (9%) และญี่ปุ่น (4%) รู้สึกพอใจเกี่ยวกับการออมเงินของตนน้อยที่สุด
มร. กูลด์ กล่าวเสริมว่า “การสำรวจทัศนคติในการใช้จ่ายของชาวเอเชียครั้งล่าสุด ทำให้ มาสเตอร์การ์ดเข้าใจในประเด็นสำคัญต่างๆ ที่นำมาใช้ในโครงการ “การบริหารการใช้เงิน” ผลการสำรวจทำให้มาสเตอร์การ์ดให้คำแนะนำแก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับการบริหารเงิน ที่ดีขึ้น ซึ่งสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง”
การออมรายได้ในแต่ละเดือน อัตราเฉลี่ยของเงินออมจากรายได้ของผู้บริโภคใน 13 ประเทศที่มีการสำรวจอยู่ประมาณ 10% หรือน้อยกว่านั้น ได้แก่ ผู้บริโภคในประเทศญี่ปุ่น (56%) มาเลเซีย (43%) ฟิลิปปินส์ (43%) ออสเตรเลียและ นิวซีแลนด์ (38%) อินเดีย (33%) และฮ่องกง ( 31%) ส่วนชาวไต้หวันจะออมเงินมากกว่าประเทศอื่นๆ ในเอเชีย โดยเฉลี่ยที่ 21-30% ทั้งนี้ มีชาวไต้หวันถึง 24% ที่ออมเงินมากกว่า 50% ของรายได้ประจำเดือน
วัตถุประสงค์ของการออมเงิน ผู้บริโภคระบุจุดประสงค์ในการออมเงินว่า นอกเหนือจาก “การออมเงินเพื่ออนาคต” และ “การออมไว้ใช้ในยามจำเป็น” ยังเป็นการออมเพื่อการศึกษาของบุตร (32%) การออมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย (26%) การออมเพื่อใช้จ่ายสำหรับวันหยุดหรือวันพักร้อน (23%) และการออมเพื่อค่ารักษาพยาบาล (20%) อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคในแต่ละประเทศให้ความสำคัญกับการออมเงินเพื่อจุดประสงค์แตกต่างกัน ไป
การออมเงินเพื่อ “การศึกษาของบุตร” เป็นเหตุผลที่สำคัญที่สุดในประเทศไทย อินโดนีเซีย ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ และอินเดีย “การออมเพื่อใช้จ่ายสำหรับวันหยุดหรือวันพักร้อน” เป็นเหตุผลที่สำคัญที่สุดในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และสิงคโปร์ ส่วน “การออมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย” เป็นเหตุผลที่สำคัญที่สุดในประเทศจีนและมาเลเซีย
การใช้จ่ายของผู้บริโภค สำหรับคำถามว่า นอกจากการใช้จ่ายเงินเพื่อตัวเองแล้ว ผู้บริโภคใช้จ่ายเงินเพื่อใครอีกบ้าง การสำรวจพบว่า กลุ่มบุคคลที่ผู้บริโภคในเอเชียใช้จ่ายเงินเป็นอันดับแรกคือ “บุตร” (49%) บิดา-มารดา (42%) และคู่สมรส (41%) กลุ่มบุคคลในลำดับสองได้แก่ เพื่อน (16%) และญาติ (15%)
ผู้บริโภคในประเทศอินโดนีเซีย (74%) ไต้หวัน (62%) ออสเตรเลีย (58%) ฟิลิปปินส์ (58%) และอินเดีย (50%) ให้ความสำคัญแก่บุตรเป็นอันดับแรก ในขณะที่ผู้บริโภคในนิวซีแลนด์ (56%) และญี่ปุ่น (37%) ให้ความสำคัญกับคู่สมรสเป็นอันดับแรก แต่โดยทั่วไปแล้วคู่สมรสมักจะมีความสำคัญเป็นอันดับสองหรือสาม โดยอาจจะสำคัญมากกว่า หรือน้อยกว่าบิดามารดา แต่ผู้บริโภคในประเทศมาเลเซีย (75%) จีน (63%) สิงคโปร์ (58%) ประเทศไทย (56%) และฮ่องกง (54%) ให้ความสำคัญกับ บิดา-มารดาเป็นอันดับแรก
ผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจต่อการใช้จ่าย วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาคส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคในเอเชี ยในปัจจุบัน โดย 72% เชื่อว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจทำให้เขามีความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น ไม่น่าประหลาดใจเลยว่า ผู้บริโภค ชาวอินโดนีเซีย (99%) ชาวไทยและชาวมาเลเซีย (91%) ระบุว่าตนได้รับผลกระทบมากที่สุด ในขณะที่ผู้บริโภคชาวสิงคโปร์ (89%) ฟิลิปปินส์ (86%) และฮ่องกง (83%) เป็นผู้ได้รับผลกระทบในลำดับต่อมา ผู้ที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดได้แก่ ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งน้อยกว่าครึ่งของผู้บริโภคที่ทำการสำรวจ (47%) กล่าวว่า วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจทำให้พวกเขาระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น
การหยุดพักผ่อน ชาวเอเชียส่วนใหญ่ใช้วันหยุดพักผ่อนท่องเที่ยวในประเทศโดยเฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี โดยชาวไทย อินโดนีเซียและไต้หวันหยุดพักผ่อนท่องเที่ยวในประเทศโดยเฉลี่ย 2-3 ครั้งต่อปี
จากการสำรวจการเดินทางไปพักผ่อนในต่างประเทศเป็นสิ่งฟุ่มเฟือยในหมู่ชาวเอเช ีย ส่วนใหญ่ เดินทางไปพักผ่อนในต่างประเทศ 1 ครั้งทุกๆ 2-3 ปี หรือไม่เคยเลย ผู้บริโภคกลุ่มนี้ได้แก่ผู้บริโภคในประเทศไทย ออสเตรเลีย จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลี มาเลเซีย นิวซีแลนด์ และฟิลิปปินส์ ชาวเอเชียจากประเทศที่เจริญกว่าเช่น ฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และไต้หวัน มีแนวโน้มที่จะไป พักผ่อนในต่างประเทศบ่อยกว่า ผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยในประเทศเหล่านี้เดินทางไปพักผ่อน ในต่างประเทศ 2-3 ครั้งต่อปี
การใช้บัตรเอทีเอ็มเพื่อกดเงินสดเมื่อเดินทาง โดยเฉลี่ย ครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคที่ทำการสำรวจใช้บัตรเอทีเอ็มเมื่อเดินทาง บัตรเอทีเอ็มเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภคในสิงคโปร์ (76%) ออสเตรเลีย (72%) นิวซีแลนด์ (69%) มาเลเซีย (67%) อินโดนีเซีย (63%) และฮ่องกง (62%) การใช้บัตรเอทีเอ็มในระหว่างเดินทางไม่เป็นที่นิยมสำหรับชาวญี่ปุ่น (17%) และอินเดีย (18%)
ในประเด็นนี้ มร. กูลด์ กล่าวชี้แจงว่า “บัตรเอทีเอ็มเป็นสิ่งจำเป็นในการเดินทางและได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหม ู่ชาวเอเชียโดยส่วนใหญ่ เพราะมีความสะดวกสบายและปลอดภัย”
การใช้บัตรเดบิตและบัตรเครดิตในช่วงที่เศรษฐกิจมีปัญหาเช่นในปัจจุบัน จากผู้บริโภคที่ทำการสำรวจ 5,420 คน มีเพียง 30% เท่านั้นที่ใช้ทั้งบัตรเครดิตและบัตรเดบิต ด้วยสภาพเศรษฐกิจถดถอยเช่นในปัจจุบัน ผู้บริโภค 45% ใช้บัตรเครดิตบ่อยที่สุด ในขณะที่ ผู้บริโภค 30% นิยมใช้บัตรเดบิต และผู้บริโภค 25% ใช้ทั้งบัตรเครดิตและบัตรเดบิต
ความเปลี่ยนแปลงในการดำเนินชีวิต ผู้บริโภคในเอเชียเกือบทั้งหมด (ยกเว้นอินเดียและเกาหลี) คิดว่าตนยังใช้ชีวิตเหมือนปีก่อน ชาวอินเดีย (56%) คิดว่า การใช้ชีวิตของตนดีขึ้น ในขณะที่ชาวเกาหลี (40%) คิดว่าการใช้ชีวิตแย่ลง ส่วนชาวไทยกับชาวมาเลเซีย (35%) และชาวสิงคโปร์กับชาวอินโดนีเซีย (29%) ก็คิดว่าการใช้ชีวิตของตนแย่ลงเช่นกัน
ประเด็นที่สำคัญที่สุดคือ ไม่มีชาวญี่ปุ่นคนใดคิดว่า การใช้ชีวิตของตนดีขึ้นนับตั้งแต่ปีที่ผ่านมา นอกจากชาวอินเดียที่คิดว่าการใช้ชีวิตของตนดีขึ้นแล้ว ยังมีผู้บริโภคชาวนิวซีแลนด์ (33%) จีน (32%) รวมทั้งไต้หวันและฟิลิปปินส์ (27%) ที่คิดเช่นเดียวกัน
มาสเตอร์การ์ด อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการระดับโลกด้านการชำระค่าใช้จ่ายที่ได้รับความนิยมอย่ างสูง โดยมีสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกกว่า 23,000 แห่งให้บริการการชำระเงินแก่ ผู้ถือบัตรใน 220 ประเทศ โดยได้รับการยอมรับในด้านประสิทธิภาพการบริการและความเป็นผู้นำในด้านเทคโนโ ลยี บัตรเครดิต MasterCard(r) บัตรเดบิต Maestro(r) ระบบเอทีเอ็ม Cirrus(r) และบัตรเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ Mondex(tm) จำนวนกว่า 600 ล้านใบได้รับการยอมรับจากร้านค้าและบริการกว่า 15 ล้านแห่งทั่วโลก ในปี 2540 มีการใช้จ่ายผ่านบัตรชนิดต่างๆ ของมาสเตอร์การ์ด คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 600,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลของมาสเตอร์การ์ดได้ที่ http://www.mastercard.com --จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ