กรุงเทพฯ--8 ต.ค.--Ericsson
- Ericsson ConsumerLab TV & Media Report 2015 แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคต่างอ้าแขนรับบริการดูวิดีโอออนดีมานด์กันเต็มที่อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน โดย 35 เปอร์เซ็นต์ของการรับชมทีวีและวีดีโอทั่วโลกนั้นเป็นการดูผ่านระบบออนดีมานด์
- รายงานฉบับนี้เผยว่าการรับชมวิดีโอบนสมาร์ทโฟนนั้นเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 71 ตั้งแต่ปี 2012 โดยเกือบสองในสามของเวลาทั้งหมดที่วัยรุ่นรับชมทีวีและวิดีโอนั้นจะชมผ่านอุปกรณ์โมบายต่างๆ
- ความนิยมในการรับชม User-Generated Content หรือภาพและวีดีโอที่จัดทำโดยผู้บริโภคกันเองนั้นเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน โดยเกือบหนึ่งในสิบของผู้บริโภคนั้นจะรับชม YouTube มากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน
อีริคสันได้เปิดตัวรายงานการศึกษาประจำปีฉบับล่าสุด คือ Ericsson ConsumerLab TV & Media Report ซึ่งเป็นการศึกษาพฤติกรรมและการสัมภาษณ์ผู้บริโภคกว่า 22,500 คนใน 20 ประเทศ โดยการศึกษานี้จะสะท้อนกลุ่มผู้บริโภคกว่า 680 ล้านคนทั่วโลก และทำให้รายงานฉบับนี้เป็นการวิจัยที่ใหญ่ที่สุดงานหนึ่งเลยก็ว่าได้
ผลการวิจัยที่สำคัญจากรายงาน ได้แก่
• วิดีโอออนดีมานด์ที่ใช้การสตรีมมิ่งได้นั้นกำลังเป็นที่นิยม
o กว่าร้อยละ 50 ของผู้บริโภคต่างดูวิดีโอออนดีมานด์ผ่านระบบสตรีมมิ่งอย่างน้อยวันละครั้ง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2012 ซึ่งมีเพียงร้อยละ 30
o ในปัจจุบัน ผู้บริโภคมีการดูหนังซีรี่ส์ รายการต่างๆ และหนังแบบออนดีมานด์ทางทีวีนั้นเพิ่มสูงขึ้นกว่า 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าจากปี 2011 ที่ประมาณ 2.9 ชั่วโมง
• บริการทีวีออกอากาศทั่วไปยังคงมีความสำคัญ
o ความนิยมในการชมทีวีออกอากาศทั่วไปนั้นยังคงมีอยู่เนื่องมาจากการความนิยมในการรับชมรายการถ่ายทอดสด อย่างเช่นการแข่งขันกีฬา และรายการสดต่างๆ ที่ผู้คนและสังคมต่างชื่นชอบและเฝ้าติดตาม
o พฤติกรรมการดูทีวีนั้นสัมพันธ์กับช่วงอายุเช่นกัน โดยกว่าร้อยละ 82 ของคนอายุช่วง 60-69 ปีนั้นจะดูทีวีเป็นกิจวัตรประจำวัน แต่กลุ่ม Gen Y (อายุ 16-34) จะดูประมาณร้อยละ 60
• การรับชมรายการทีวีหลายตอนแบบต่อเนื่องตั้งแต่ต้นจนจบนั้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสหกรรมบันเทิง
o ความสามารถที่จะรับชมรายการทีวีและวิดีโอหลายๆ ตอนอย่างต่อเนื่องกัน หรือ Binge viewing นั้น กลายเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการและคาดหวัง
o พฤติกรรม binge view นี้ได้กลายมาเป็นสิ่งที่ทำกันเป็นประจำในกลุ่มผู้ใช้บริการวิดีโอออนดีมานด์ )S-VOD การรับชมแบบสมาชิก) โดยร้อยละ 87 ของกลุ่มผู้ใช้บริการ S-VOD จะดูแบบ binge view อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ที่ไม่ได้ใช้บริการ S-VOD ซึ่งมีอยู่ร้อยละ 74
• คน Gen Y ชื่นชอบการรับชมผ่านอุปกรณ์โมบายมากกว่า
o กลุ่ม Gen Y (อายุ 16-34) จะดูทีวีส่วนใหญบนสมาร์ทโฟน แล็ปท็อปหรือแท็บเล็ต คิดเป็นประมาณ 53 เปอร์เซ็นต์ของเวลาการดูทีวีและวิดีโอทั้งหมด
o จำนวนผู้บริโภคที่ดูวิดีโอบนสมาร์ทโฟนนั้นเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 71 โดยเวลาการดูทีวีและวิดีโอบนอุปกรณ์โมบายนั้นสูงขึ้นเป็น 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เมื่อเทียบกับปี 2012
o เวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการดูวิดีโอบนอุปกรณ์โมบายนั้นสูงถึง 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เทียบกับปี 2012
• กลุ่นคนที่ไม่นิยมการดูทีวีแบบที่ต้องจ่ายเงินเพิ่มเริ่มมีการเปลี่ยนใจในท้ายที่สุด
o สำหรับผู้บริโภคที่ไม่เคยใช้งานทีวีที่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม เช่น ค่าบริการรายเดือนนั้น มันอาจเป็นเรื่องยากสำหรับพวกเขาที่จะเข้าใจประโยชน์และคุณค่าของสิ่งที่ผู้ให้บริการนั้นหยิบยื่นให้ในปัจจุบัน
o การทำสัญญาสมาชิกแบบผูกมัดระยะยาว แพกเกจที่ไม่ยืดหยุ่น ราคาที่สูง และโฆษณาที่มากมายนั้นทำให้กว่าร้อยละ 50 ของคนกลุ่มนี้ไม่อยากจ่ายเงินเพื่อใช้บริการนี้ไม่ว่าตอนนี้หรือในอนาคตก็ตาม
o อย่างไรก็ตาม กว่า 22 เปอร์เซ็นต์ในกลุ่มคนที่ไม่เคยใช้บริการทีวีสมาชิกแบบรายเดือนนั้น มีการจ่ายค่าบริการ over-the-top (OTT) อยู่แล้ว นี่จึงแสดงให้เห็นว่าพวกเขาก็พร้อมเต็มใจที่จะจ่ายค่าบริการทีวี แต่อาจจะต้องใช้วิธีและรูปแบบที่แตกต่างออกไป
นายบัญญัติ เกียรตินิยม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์กรสัมพันธ์ของอีริคสันกล่าวว่า "หนึ่งในผลการวิจัยที่สำคัญและน่าสนใจคือ ปัจจัยหลักที่ทำให้บริการวิดีโอออนดีมานด์นั้นประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมอย่างมาก ซึ่งก็คือการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่สามารถรับชมรายการที่พวกเขาต้องการได้ในเวลาที่ต้องการโดยไม่ต้องรออีกต่อไป โดยปัจจุบันพวกเขาใช้เวลาถึง 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในการดูทั้งทีวีซีรี่ส์ รายการ และหนังออนดีมานด์ผ่านระบบสตรีมมิ่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่านับตั้งแต่ปี 2011 โดยกว่าร้อยละ 35 ของการดูทีวีและวิดีโอทั้งหมดทั่วโลกเป็นการรับชมแบบวิดีโอออนดีมานด์ VOD"
"การเพิ่มขึ้นของวิดีโอออนดีมานด์ที่ใช้ระบบสตรีมมิ่งรวมถึงการรับชม User-Generated Content หรือ ภาพและวีดีโอที่จัดทำโดยผู้บริโภคกันเอง ยิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของปัจจัยหลักสามข้อที่มีผลต่อการสร้างประสบการณ์รับชมทีวีที่ดี คือ วิดีโอที่มีคุณภาพ ความสะดวกในการเข้าถึงบริการและวิดีโอ และประสบการณ์การใช้บริการโดยรวมที่น่าประทับ ดังนั้นผู้ให้บริการควรคิดค้นและนำนวัตกรรมรวมทั้งรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ มาปรับใช้เพื่อจะช่วยสร้างบริการทีวีและวิดีโอที่ทั้งเหมาะสมและน่าดึงดูดอีกทั้งยังตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่หลากหลายได้" นายบัญญัติกล่าวเสริม
นายบัญญัติ กล่าวเพิ่มเติมว่ารายงานฉบับนี้ยังสะท้อนประเด็นสำคัญๆ ที่ภาคอุตสหกรรมต่างๆ ในประเทศไทยควรปรับตัวให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของอุตสหกรรมสื่อระดับโลกและภูมิภาคดังนี้
› พฤติกรรมการรับชมสื่อต่างๆ ของคนไทยส่วนใหญมีแนวโน้มที่จะสอดคล้องกับเทรนด์ต่างๆ ของพฤติกรรมผู้บริโภคแต่อีริคสันมองว่าปัจจัยหลัก 3 ประการที่จะส่งเสริมให้มีการยอมรับเทรนด์ดังกล่าวอย่างรวดเร็วและในสังคมวงกว้างมากขึ้น ได้แก่ พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยี ICT ของกลุ่มเด็กและวัยรุ่นที่กระตุ้นให้กลุ่มผู้ปกครองและผู้ใหญ่ใช้ตามอัตราการขยายตัวของสังคมเมือง และการเข้าถึงและการใช้สมาร์ทโฟนที่สูงมากขึ้น
› ผู้ใช้โมบายอินเทอร์เน็ตในไทยเริ่มนิยมดูโมบายทีวีกันมาก
– ร้อยละ 66 จะดูคลิปวิดีโอสั้นๆ เป็นประจำทุกสัปดาห์ (เมื่อเทียบกับอัตราเฉลี่ยทั่วโลกที่ร้อยละ 57)
– ร้อยละ 44 จะดูหนังวิดีโอจนจบเรื่องเป็นประจำทุกสัปดาห์ (โดยทั่วโลกจะอยู่ที่ร้อยละ 39)
› แต่อัตราความเร็วของเครือข่ายก็ส่งผลต่อการรับชมและประสบการณ์การดูทีวีเช่นกันดังผลการสำรวจผู้ใช้โมบายอินเทอร์เน็ตในไทยดังนี้
อัตราความเร็วของเครือข่าย การรับชมคลิปวิดีโอสั้นๆ
(short video) การรับชมหนังวีดีโอจนจบเรื่อง (Full length video)
3G 68% 40%
4G 86% 79%
› ผู้ให้บริการและผู้ผลิตสื่อโดยเฉพาะละครซีรี่ส์ควรตระหนักถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคในการรับชมทีวีหลายตอนแบบต่อเนื่อง หรือ binge viewing ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการเผยแพร่สื่อละครซีรี่ส์ต่างๆ ในอนาคต และอาจทำให้ผู้บริโภคหันมาใช้บริการวิดีโออนดีมานด์มากขึ้น โดยผู้ให้บริการอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์สื่อโฆษณาให้เหมาะสม เช่น บริการ iFlix ซึ่งเป็นการให้บริการวิดีโอออนดีมานด์แบบสมาชิกรายเดือนในประเทศไทย เป็นต้น
› รูปแบบและเนื้อหาของสื่อยังคงมีบทบาทสำคัญต่อผู้บริโภค แต่ในปัจจุบันผู้บริโภคคนไทยต้องการเข้าถึงสื่อที่หลากหลาย ทั้งในและต่างประเทศมากขึ้น
› ผู้ให้บริการจำต้องคำนึงถึงข้อจำกัดและอุปสรรคของผู้บริโภคสื่อ เช่น งบประมาณ ค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงสื่อ ช่องทางในการรับชมสื่อต่างๆ เช่น ทีวี สมาร์ทโฟน อุปกรณ์โมบายต่างๆ และความคาดหวังกับไลฟ์สไตล์ในการรับชมสื่อของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอีกด้วย เช่น การชมทุกที่ทุกเวลาและผ่านทุกอุปกรณ์
› ผู้ให้บริการจำต้องสร้างแพกเกจการให้บริการและราคาที่หลากหลายเพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนไทยที่ต้องการเข้าถึงสื่อที่หลากหลายได้ในทุกที่ ทุกเวลา และผ่านอุปกรณ์ที่หลากหลาย
เกี่ยวกับรายงานฉบับนี้
อ้างอิงจากการสัมภาษณ์ผู้คนกว่า 22,500 คน Ericsson ConsumerLab TV & Media Report พูดถึงความคิดเห็นและพฤติกรรมของผู้บริโภค 680 ล้านคน ทำให้รายงานฉบับนี้เป็นการวิจัยที่ใหญ่ที่สุดงานหนึ่งเลยก็ว่าได้ในอุตสาหกรรมทีวี จากข้อมูลเชิงลึกจากการวัดการใช้งานของอุปกรณ์ประกอบกับกาวิจัยเชิงคุณภาพ รายงานฉบับนี้จึงบอกเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค ทัศนคติ และความต้องการที่เกี่ยวข้องกับทีวีและสื่อ รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากเทรนด์เหล่านี้ต่อรูปแบบธุรกิจที่ใช้อยู่ในปัจจุบันในอุตสาหกรรมนี้
การศึกษานี้ได้ทำการสัมภาษณ์ผู้บริโภคคนซึ่งมีอายุ 16-59 และ 60-69 ปีในตลาด 20 แห่ง ได้แก่ บราซิล แคนาดา โคลัมเบีย ฝรั่งเศส เยอรมัน กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี เมกซิโก โปรตุเกส รัสเซีย สเปน เกาหลีใต้ สวีเดน ไต้หวัน ตุรกี สหราชอาณาจักร ยูเครน และ สหรัฐอเมริกา ผู้เข้าร่วมมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่บ้านทุกคน และดูทีวีหรือวดีโออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เกือบทั้งหมดยังใช้อินเทอร์เน็ตเป็นกิจวัตรประจำวันด้วย