กรุงเทพ--14 ต.ค.--กรมทะเบียนการค้า
นายนรวัฒน์ สุวรรณ อธิบดีกรมทะเบียนการค้าเปิดเผยว่า ในเดือนมกราคม-สิงหาคม ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรวมทั้งสิ้นวันละ 647,232 บาร์เรล ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12 ปริมาณการใช้ได้ลดลงอย่างต่อเนื่องมาตลอด นับตั้งแต่ต้นปีเนื่องจากเศรษฐกิจที่ซบเซา ชนิดน้ำมันที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากเศรษฐกิจดังกล่าวและส่งผลให้ความต้องการใช้ลดลงมาก ได้แก่น้ำมันดีเซลหมุนเร็วมีปริมาณการใช้วันละ 265,355 บาร์เรล ลดลงร้อยละ 18 และน้ำมันเตา 143,846 บาร์เรล/วัน ลดลงร้อยละ 12 สำหรับน้ำมันเบนซินมีปริมาณการใช้ 125,367 บาร์เรล/วัน ลดลงร้อนละ 3 น้ำมันอากาศยาน 58,258 บาร์เรล/วัน ลดลงร้อยละ 5 น้ำมันดีเซลหมุนช้า 1,988 บาร์เรล/วัน ลดลงร้อยละ 23 น้ำมันก๊าด 997 บาร์เรล/วัน ลดลงร้อยละ 37 และก๊าซปิโตรเลียมเหลว 4,672 เมตริกตัน/วัน ลดลงร้อยละ 4
ทางด้านการจัดหาโรงกลั่นและโรงแยกกีษซฯ สามารถผลิตน้ำมันสำเร็จรูปและก๊าซปิโตรเลียมเหลวได้รวมทั้งิส้น วันละ 715,648 บาร์เรล ลดลงจากช่วงเดียวของปีก่อนร้อยละ 4 เป็นการลดลงของน้ำมันทุกชนิด ได้แก่ น้ำมันเบนซินผลิตได้วันละ 153,119 บาร์เรล ลดลงร้อยละ 3 น้ำมันเตาวันละ 135,985 บาร์เรล ลดลร้อยละ 12 น้ำมันอากาศยานวันละ 59,943 บาร์เรล ลดลงร้อยละ 7 น้ำมันก๊าดวันละ 1,559 บาร์ ลดลงร้อยละ 29 และก๊าซปิโตรเลียมเหลววันละ 5,953 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 4 ยกเว้นน้ำมันดีเซลหมุนเร็วผลติได้วันละ 293,763 บาร์เรล เพิ่มขึ้นร้อยละ 1
นอกจากนี้ ยังมีการนำเข้าจากต่างประเทศอีกวันละ 26,463 บาร์เรล ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 63 มูลค่าร่วม 3,864 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 35 แม้ว่าราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดโลกจะลดลงเกือบ 4 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรลก็ตาม แต่มูลค่าการนำเข้าลดลงไม่มากนัก เนื่องจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 40 โดยการนำเข้ามาจากประเทศสิงคโปร์เกือบทั้งหมด ทั้งนี้เป็นการนำเข้าน้ำมันเตา วันละ 14,759 บาร์เรล น้ำมันดีเซลหมุนเร็ววันละ 10,993 บาร์เรล และน้ำมันเบนซินวันละ 596 บาร์เรล สำหรับน้ำมันดิบมีการนำเข้าวันละ 710,901 บาร์เรล ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5 มูลค่ารวม 100,800 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.7 โดยนำเข้าจากตะวันออกกลางร้อยละ 82 ตะวันออกไกลร้อยละ 16 และแหล่งอื่นๆ อีกร้อยละ 2 ประเทศที่มีการนำเข้ามากที่สุด ได้แก่ โอมาน ร้อยละ 33 รองลงมาได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตท์ ร้อยละ 21 เยนเมนร้อยละ 12 มาเลเซีย ร้อยละ 11 และซาอุดิอาระเบีย ร้อยละ 10
ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ประเทศไทยมีการส่งออกน้ำมันไปจำหน่ายยังต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความต้องการใช้ภายในประเทศที่อ่อนตัวลง โดยส่งออกวันละ 107,273 บาร์เรล เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 35 น้ำมันที่ส่งออกได้แก่ น้ำมันดีเซลหมุนเร็ววันล ะ42,738 บาร์เรล น้ำมันเบนซินวันละ 36,147 บาร์เรล น้ำมันเตาวันละ 4,089 บาร์เรล และก๊าซปิโตรเลียมเหลววันละ 1,357 เมตริกตัน ซึ่งเป็นการส่งออกไปยังประเทศในแถบอินโดจีนและสิงคโปร์เกือบทั้งหมด--จบ--