กรุงเทพฯ--16 ต.ค.--กรมสุขภาพจิต
นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงปัญหาการฆ่าตัวตายหรือการทำร้ายตัวเองที่ปรากฏให้เห็นในช่วงนี้ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าว่า โรคซึมเศร้าเป็นโรคเรื้อรังและพบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัยทั่วโลก สำหรับประเทศไทย พบความชุกหรือโอกาสในการเกิดโรคซึมเศร้า ร้อยละ1.8 หรือประมาณ 9 แสนคน หรืออาจกล่าวได้ว่า ใน 100 คนจะมี 2 คนที่เคยป่วยซึมเศร้าครั้งหนึ่งในชีวิต แต่โรคนี้สามารถรักษาได้ การแก้ไขปัญหาจึงต้องมุ่งไปที่การเข้าถึงบริการ มีการส่งเสริมสร้างความเข้าใจ ลดอคติ และป้องกันไม่ให้เกิดผู้ป่วยรายใหม่หรือเมื่อป่วยแล้วต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ ลดระยะเวลาการเจ็บป่วยให้สั้นที่สุด ป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ลดอัตราการฆ่าตัวตาย
ด้าน พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวเสริมว่า โรคซึมเศร้า รักษาได้ แต่ถ้าเป็นมากๆ แล้วไม่ได้รับการรักษา หรือรักษาไม่ต่อเนื่องจะมีแนวโน้มสู่การฆ่าตัวตายได้สูง อาการสำคัญของโรคนี้ คือ อารมณ์เศร้า หดหู่ ร้องไห้ง่าย ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่บอกว่าเศร้า แต่จะบอกว่ารู้สึกเบื่อหน่ายไปหมด จิตใจไม่สดชื่นเหมือนเดิม ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นเกือบทั้งวัน และเป็นติดต่อกันเกือบทุกวัน นานกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป ประกอบกับ อาจมีความคิดอยากตาย ซึ่งพบได้ถึงร้อยละ 60 ซึ่งในช่วงแรกผู้ป่วยอาจแค่รู้สึกเบื่อชีวิต แต่เมื่ออาการเป็นมากขึ้นจะรู้สึกอยากตาย และต่อมาจะคิดถึงการฆ่าตัวตาย เริ่มมีการวางแผน จนถึงการกระทำการฆ่าตัวตายในที่สุดกรมสุขภาพจิต วอนใส่ใจคนรอบข้าง สังเกตสัญญาณเตือนซึมเศร้า เข้าให้ถึงบริการ รักษาให้ต่อเนื่อง
นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงปัญหาการฆ่าตัวตายหรือการทำร้ายตัวเองที่ปรากฏให้เห็นในช่วงนี้ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าว่า โรคซึมเศร้าเป็นโรคเรื้อรังและพบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัยทั่วโลก สำหรับประเทศไทย พบความชุกหรือโอกาสในการเกิดโรคซึมเศร้า ร้อยละ1.8 หรือประมาณ 9 แสนคน หรืออาจกล่าวได้ว่า ใน 100 คนจะมี 2 คนที่เคยป่วยซึมเศร้าครั้งหนึ่งในชีวิต แต่โรคนี้สามารถรักษาได้ การแก้ไขปัญหาจึงต้องมุ่งไปที่การเข้าถึงบริการ มีการส่งเสริมสร้างความเข้าใจ ลดอคติ และป้องกันไม่ให้เกิดผู้ป่วยรายใหม่หรือเมื่อป่วยแล้วต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ ลดระยะเวลาการเจ็บป่วยให้สั้นที่สุด ป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ลดอัตราการฆ่าตัวตาย
ด้าน พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวเสริมว่า โรคซึมเศร้า รักษาได้ แต่ถ้าเป็นมากๆ แล้วไม่ได้รับการรักษา หรือรักษาไม่ต่อเนื่องจะมีแนวโน้มสู่การฆ่าตัวตายได้สูง อาการสำคัญของโรคนี้ คือ อารมณ์เศร้า หดหู่ ร้องไห้ง่าย ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่บอกว่าเศร้า แต่จะบอกว่ารู้สึกเบื่อหน่ายไปหมด จิตใจไม่สดชื่นเหมือนเดิม ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นเกือบทั้งวัน และเป็นติดต่อกันเกือบทุกวัน นานกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป ประกอบกับ อาจมีความคิดอยากตาย ซึ่งพบได้ถึงร้อยละ 60 ซึ่งในช่วงแรกผู้ป่วยอาจแค่รู้สึกเบื่อชีวิต แต่เมื่ออาการเป็นมากขึ้นจะรู้สึกอยากตาย และต่อมาจะคิดถึงการฆ่าตัวตาย เริ่มมีการวางแผน จนถึงการกระทำการฆ่าตัวตายในที่สุด